สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 4/2565

อัปเดตล่าสุด 15 มี.ค. 2566
  • Share :
  • 2,247 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 134,571.00 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 65,799.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 8.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 68,771.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดุลการค้าไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ขาดดุล 2,972.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

โดยการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 5 หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YOY) เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และการปิดประเทศของจีนทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคอ่อนแอ โดยเฉพาะในตลาดส่งออกสำคัญของไทย จึงส่งผลให้การนำเข้าและส่งออกของไทยหดตัวลง อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศรวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี อาทิ รถยนต์ อุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมัน ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

Advertisement

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 65,799.21 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยหดตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.51 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออก 5,942.32 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.97  (YOY) 
  • สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการส่งออก 4,991.24 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 4.04 (YOY)
  • สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออก 52,524.57 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.38 (YOY)
  • สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มูลค่าการส่งออก 2,341.07 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 22.04 (YOY)

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

 

ตลาดส่งออก ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ไทยมีการส่งออกสินค้าไปยังตลาดคู่ค้าหลัก รวมมีสัดส่วน 5 ตลาด ร้อยละ 69.92 ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) การส่งออกไปยังตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 30.08 ของการส่งออกทั้งหมด ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้าหลักของไทยหดตัวลงทุกตลาดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการส่งออกของไทย ไปยังอาเซียน สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็น ร้อยละ 24.21, 16.87, 11.81, 8.85 และ 8.18 ตามลําดับ
  • อัตราการขยายตัวของการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า จีน หดตัวสูงที่สุด ร้อยละ 13.37 ถัดมา คือ อาเซียน หดตัวร้อยละ 10.88 ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 7.14 สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 4.77 และสหรัฐอเมริกา หดตัวร้อยละ 1.32 ตามลำดับ

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีมูลค่า 68,771.79 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 20.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 13,538.50 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.33 (YOY)
  • สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 15,700.28 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 8.50 (YOY)
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 27,336.64 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.81 (YOY)
  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 8,043.40 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 6.39 (YOY)
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,251.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.06 (YOY)
  • สินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 901.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2,222.32 (YOY) 

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

ตลาดนำเข้าสินค้า สัดส่วนการนำเข้าแยกตามตลาดนำเข้าสำคัญ ไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ทั้งจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา รวม 5 ตลาด มีสัดส่วนการนำเข้ารวมร้อยละ 67.06 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ ร้อยละ 32.94 ของการนําเข้าทั้งหมด ทั้งนี้ ตลาดนำเข้าหลักของไทยส่วนใหญ่หดตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการนำเข้าของไทย จากจีน อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 24.27, 18.09, 11.75, 6.54 และ 6.41 ตามลำดับ 
  • อัตราการขยายตัวของการนำเข้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า ญี่ปุ่นหดตัวสูงสุด ร้อยละ 8.62 รองลงมา คือ จีน หดตัวร้อยละ 6.58 และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 6.40 ขณะที่สหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 18.18 และ อาเซียนขยายตัวร้อยละ 2.97

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565

 

อ่านต่อ:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH