ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4/2564

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 4/2564

อัปเดตล่าสุด 14 มี.ค. 2565
  • Share :

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ 100.71 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 10.76 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 4.9

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 4 ปี 2564 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.9 โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่หดตัวร้อยละ 0.2 และปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 4.2

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย1-64

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ขยายตัวเร่งขึ้นอย่างมีนัยสําคัญจากไตรมาสก่อนหน้า และช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยขยายตัวตามความต้องการสินค้าและบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นในตลาดคู่ค้าของไทยจากสินค้าคงทน เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์
อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว และการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่การผลิตโรงงาน
อุตสาหกรรมสถานประกอบการต่าง ๆ ยังคงดําเนินการอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง

GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 3.8 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ 0.9 และขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 0.4

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สําคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 100.71 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (90.93) ร้อยละ 10.76 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (95.99) ร้อยละ 4.9

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตยานยนต์ เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับ 102.36 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (92.5) ร้อยละ 10.7 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (97.40) ร้อยละ 5.1

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตมอลต์และสุราที่ทําจากข้าวมอลต์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง​ ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 154.22 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (150.81) ร้อยละ 2.3 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (127.32) ร้อยละ 21.1

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตยานยนต์ และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 อยู่ที่ระดับร้อยละ 65.43 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 59.34) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (ร้อยละ 63.71)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตยานยนต์ และการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีค่าดัชนี 84.77 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (78.23) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (86.40) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 95.83 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 (92.90)

 

ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 3 ปี 2564 เป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่มีทิศทางดีขึ้นจํานวนผู้ติดเชื้อรายวันลดลง รวมทั้งผู้ได้รับวัคซีนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวแบบ test and go เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 รวมทั้งอุปสงค์ทั้งภายในและต่างประเทศขยายตัวต่อเนื่องในสินค้าคงทน อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องจักรกลโลหะการ เป็นต้น

แม้ว่าในช่วงเดือนธันวาคมเกิดการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 (สายพันธุ์โอไมครอน) เป็นระลอกที่ 5 ในต่างประเทศ (แอฟริกา) และเริ่มกระจายวงกว้างในหลายประเทศในยุโรปและสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการมีความกังวล อาทิเช่น ปัญหาต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้นจากราคาพลังงาน (นํ้ามัน) ราคาวัตถุดิบ ราคาค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทรนเนอร์และอัตราการระวางเรือขนส่งสินค้าทางทะเลที่ยังคงอยู่ระดับสูงต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2564 ปัญหาขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่กระทบห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก ทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

 

อ่านต่อ:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH