ดัชนีราคาผู้ผลิตไทย เดือน มิ.ย. และไตรมาส 2 ปี 2564

ดัชนีราคาผู้ผลิตไทย 2564 เดือน มิ.ย. และไตรมาส 2

อัปเดตล่าสุด 12 ก.ค. 2564
  • Share :
  • 556 Reads   

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสรุปรายงานดัชนีราคาผู้ผลิตของประเทศไทย เดือนมิถุนายน และไตรมาสที่ 2 ปี 2564

ดัชนีราคาผู้ผลิต​ แบ่งตามกิจกรรมการผลิต (CPA : Classification of Products by Activity) เดือนมิถุนายน 2564 (ปี 2558 = 100) เท่ากับ 102.1 เทียบกับเดือนมิถุนายน 2563 สูงขึ้นร้อยละ 5.5 (YoY) เป็นผลจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าทั้ง 3 หมวดหลัก คือ หมวดผลิตภัณฑ์ เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 2.7 จากสินค้าสำคัญ อาทิ หัวมันสำปะหลังสด ผลปาล์มสด และยางพารา ตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมที่มีอย่างต่อเนื่อง ผลไม้ สุกรมีชีวิต และผลิตภัณฑ์จากการประมง จากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 5.7 สาเหตุหลักมาจากราคาวัตถุดิบปรับสูงขึ้นในกลุ่มสินค้าสำคัญ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก โลหะขั้นมูลฐาน ผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เคมีภัณฑ์และ ผลิตภัณฑ์เคมี ยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ และหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 9.1 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ และแร่ (ดีบุก สังกะสี เหล็ก)

ขณะที่ ดัชนีราคาผู้ผลิต แบ่งตามขั้นตอนการผลิต (SOP : Stage of Processing) พบว่า ดัชนีหมวดสินค้าสำเร็จรูป หมวดสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (แปรรูป) และหมวดสินค้าวัตถุดิบ สูงขึ้นร้อยละ 1.6 12.3 และ 7.1 ตามล าดับ โดยมีสินค้าสำคัญในห่วงโซ่อุปทานที่ราคาปรับสูงขึ้นตามวัตถุดิบ ได้แก่ อ้อย – น้ำตาลทรายดิบ – น้ำตาลทรายบริสุทธิ์ ผลปาล์มสด – น้ำมันปาล์มดิบ – น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ น้ำยางสด/ยางแผ่นดิบ – ยางแผ่นรมควัน/ยางแท่ง มันสำปะหลังสด – มันเส้น/มันอัดเม็ด/แป้งมันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการของตลาดที่มีอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีราคาผู้ผลิต 2564 เดือนมิถุนายน เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 5.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

  • หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 2.7 จากสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ หัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศมีอย่างต่อเนื่อง กลุ่มไม้ผล ได้แก่ องุ่น ทุเรียน ลำไย กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และชมพู่ เนื่องจากความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ผลปาล์มสด เนื่องจากความต้องการใช้ด้านพลังงานเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาอยู่ในระดับสูง ต่อเนื่องจากปีก่อน ยางพารา (น้ ายางสด ยางแผ่นดิบ เศษยาง) เนื่องจากความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้น ทั้งจากการผลิตยางล้อตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ และการผลิตถุงมือยางทางการแพทย์มีอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 กลุ่มสัตว์ ได้แก่ สุกร ไข่ไก่ และไข่เป็ด เนื่องจากความต้องการบริโภคของตลาดทั้งในและต่างประเทศมีอย่างต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์จากการประมงได้แก่ ปลาทูสด ปลาทรายแดง ปลาสีกุน ปลาลัง ปลากะพง ปลาหมึกกล้วย กุ้งแวนนาไม หอยแมลงภู่ และหอยแครง เนื่องจากความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นจากมาตรการของภาครัฐในการกระตุ้นการใช้จ่าย สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว และสับปะรดโรงงาน เนื่องจากความต้องการของตลาดชะลอตัว ขณะที่ปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ระดับราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี พืชผัก (ผักกาดหอม ผักชี ต้นหอม กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี มะเขือเทศ พริกชี้ฟ้าสด พริกสด ฟักทอง มะระจีน หอมหัวใหญ่) มะพร้าวผล ไก่มีชีวิต และปลาน้ำจืด (ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลาดุก) เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น   
  • หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 5.7 โดยมีปัจจัยหลักจากราคาวัตถุดิบและ ราคาตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น ขณะที่ความต้องการยังมีอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91, 95 น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก ปุ๋ยเคมีผสม กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อสุกร ไก่สด เป็ดสด กุ้งแช่แข็ง ปลาป่น น้ำมันปาล์มดิบ/บริสุทธิ์ น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย กากน้ำตาล กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและ พลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น ถุงมือยาง ถุงพลาสติก แผ่นฟิล์มพลาสติก กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กฉาก ท่อเหล็ก กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ได้แก่ ประตูเหล็ก ตะปู/สกรู/น๊อต กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ได้แก่ ไม้ยางพารา กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ เส้นใยสังเคราะห์ ด้ายฝ้าย ด้ายใยสังเคราะห์ผสมฝ้าย กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน และกล่องกระดาษ สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ ตามราคาตลาดโลก กลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ ได้แก่ รถยนต์นั่งต่ำกว่า 1,800 ซีซี รถบรรทุกขนาดเล็ก จากการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางชิ้นส่วน กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ สุรากลั่น น้ำดื่ม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ ท่อคอนกรีต คอนกรีตบล็อก คอนกรีตผสมเสร็จ จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น 
  • หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 9.1 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติเหลว และกลุ่มแร่ (สังกะสี ดีบุก แร่เหล็ก) ตามภาวะตลาดโลก

ดัชนีราคาผู้ผลิต 2564 เดือนมิถุนายน เทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM) สูงขึ้นร้อยละ 0.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

  • หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.8 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91,95 น้ำมันเครื่องบิน ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จากการฟื้นตัวของความต้องการใช้น้ำมันในหลายประเทศ เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์ในหลายพื้นที่ หลังจากมีความคืบหน้าของการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพิ่มขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล จากค่าเงินบาทอ่อนค่า ประกอบกับผู้ผลิตมีการปรับโครงสร้างต้นทุนการผลิตใหม่ กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กฉาก ท่อเหล็ก กลุ่มผลิตภัณฑ์ โลหะประดิษฐ์ ได้แก่ ประตู-หน้าต่างอลูมิเนียม ตะปู/สกรู/น๊อต จากราคาวัตถุดิบสูงขึ้น กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษคร๊าฟท์ กล่องกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษแข็ง จากราคาวัตถุดิบและต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับสูงขึ้น กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ อิฐก่อสร้าง เสาเข็มคอนกรีต ท่อคอนกรีต คอนกรีตบล็อก คอนกรีตผสมเสร็จ จากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น กลุ่มเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ได้แก่ เสื้อยกทรง กางเกงชั้นในสตรี ถุงเท้า จากต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและค่าเงินบาทอ่อนค่า กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ได้แก่ ไม้ยางพารา จากความต้องการของต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ ตามราคาตลาดโลก 
  • หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 2.9 จากสินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ ก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มแร่ (แร่เหล็ก ดีบุก สังกะสี วุลแฟรม) ตามภาวะตลาดโลก 
  • หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง ลดลงร้อยละ 2.1 จากสินค้าสำคัญ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ประกอบด้วย กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเหนียว เนื่องจากความต้องการของตลาดชะลอตัว จากนโยบายควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่น การปิดร้านอาหาร และภัตตาคาร รวมทั้งปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ในการส่งออกและต้นทุนค่าขนส่งสูงขึ้น หัวมันสำปะหลังสด เนื่องจากฝนตกทำให้ผลผลิตมีคุณภาพลดลง กลุ่มพืชผัก (กะหล่ำปลี ผักกาดขาว หน่อไม้ฝรั่ง มะนาว พริกชี้ฟ้าสด) เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยในการเพาะปลูก กลุ่มไม้ผล ได้แก่ องุ่น สับปะรดโรงงาน มังคุด และเงาะ เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ยางพารา (น้ำยางสด ยางแผ่นดิบ เศษยาง) กลุ่มสัตว์ ได้แก่ โค และสุกร เนื่องจากความต้องการบริโภคชะลอตัวจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น กลุ่มพืชล้มลุก ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เนื่องจากเป็นช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ขณะที่ความต้องการใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง กลุ่มไม้ยืนต้น ได้แก่ ผลปาล์มสด เนื่องจากความต้องการด้านพลังงานยังมีอย่างต่อเนื่องรวมถึงระดับราคายังอยู่ในเกณฑ์ดี ผลิตภัณฑ์จากประมง ได้แก่ ปลาหมึกกล้วย และกุ้งแวนนาไม เนื่องจากผลผลิตลดลง จากเกษตรกรชะลอการเพาะเลี้ยงในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 

ดัชนีราคาผู้ผลิต 2564 เฉลี่ย 6 เดือน (ม.ค.- มิ.ย.)เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (AoA) สูงขึ้นร้อยละ 3.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

  • หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 5.5 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ ถั่วเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ผักกวางตุ้ง มะนาว พริกสด พริกแห้ง ถั่วฝักยาว กระเทียม ผักกาดหัว ขิง หัวมันสำปะหลังสด อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ องุ่น ลำไย กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ ฝรั่ง ชมพู่ ผลปาล์มสด ยางพารา โคมีชีวิต สุกรมีชีวิต และไข่เป็ด กลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ ปลาทูสด ปลาทรายแดง ปลาสีกุน ปลาหมึก กุ้งแวนนาไม หอยแมลงภู่ และหอยแครง
  • หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 3.0 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อสุกร เนื้อโค น้ำมันปาล์มดิบ/บริสุทธิ์ น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ มันเส้น น้ำตาลทราย กากน้ำตาล มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง กลูโคสเหลว ข้าวนึ่ง ปลายข้าว แป้งข้าวเจ้า ขนมปังปอนด์ ขนมเค้ก เส้นก๋วยเตี๋ยว น้ำแข็ง เป็ดสด กุ้งแช่แข็ง ปลาป่น กะทิ และนมพร้อมดื่ม กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ สุรากลั่น กลุ่มกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ และกระดาษแข็ง กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91,95 น้ำมันเตา น้ำมันก๊าด ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) น้ำมันหล่อลื่น และยางมะตอยกลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก และปุ๋ยเคมีผสม กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น และถุงมือยาง กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กฉาก เหล็กรูปตัวซี และเหล็กลวด กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ได้แก่ ประตูเหล็ก ถังแก๊ส ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป และ ตะปู/สกรู /น๊อต กลุ่มยานยนต์ได้แก่ รถยนต์นั่งต่ำกว่า 1,800 ซีซี รถบรรทุกขนาดเล็ก และตัวถังรถยนต์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ และเครื่องประดับเทียม
  • หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง ลดลงร้อยละ 6.2 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ (NG) 

ดัชนีราคาผู้ผลิต 2564 ไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน (YoY) สูงขึ้นร้อยละ 5.4 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้

  • หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 6.0 จากสินค้าส าคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ ผลปาล์มสด ยางพารา หัวมันสำปะหลังสด อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว หน่อไม้ฝรั่ง ผักกวางตุ้ง ผักขึ้นฉ่าย มะนาว พริกแห้ง ถั่วฝักยาว กระเทียม ผักกาดหัว ผักคะน้า องุ่น ลำไย กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ ฝรั่ง ชมพู่ โคมีชีวิต สุกรมีชีวิต และไข่เป็ด กลุ่มผลิตภัณฑ์จากการประมง ได้แก่ ปลาทูสด ปลาทรายแดง ปลาสีกุน ปลาหมึก กุ้งแวนนาไม และหอยแครง 
  • หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 4.0 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และก๊าซธรรมชาติเหลว 
  • หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 5.3 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ เนื้อสุกร เนื้อโค ไก่สด เป็ดสด กุ้งแช่แข็ง น้ำมันปาล์มดิบ/บริสุทธิ์ น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ น้ำตาลทราย กากน้ำตาล มันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง ปลาป่น ปลายข้าว แป้งข้าวเจ้า เส้นก๋วยเตี๋ยว กะทิ และอาหารสัตว์สำเร็จรูป กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ สุรากลั่น กลุ่มกระดา และผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน และกระดาษแข็ง กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91,95 น้ำมันเตา น้ำมันเครื่องบิน น้ำมันก๊าด น้ำมันหล่อลื่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และยางมะตอย กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก เอทิลีน โพรพิลีน เบนซีน ไซลีน โทลูอีน และปุ๋ยเคมีผสม กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง น้ำยางข้น ถุงมือยาง แผ่นฟิล์มพลาสติก และถุงพลาสติก กลุ่มโลหะขั้นมูลฐาน ได้แก่ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กฉาก เหล็กรูปตัวซีและเหล็กลวด กลุ่มผลิตภัณฑ์โลหะประดิษฐ์ ได้แก่ ประตูเหล็ก ถังแก๊ส ตะแกรงเหล็กสำเร็จรูป และตะปู/สกรู /น๊อต กลุ่มยานยนต์ได้แก่ รถยนต์นั่งต่ำกว่า 1,800 ซีซี รถบรรทุกขนาดเล็ก และตัวถังรถยนต์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้แก่ ทองคำ และเครื่องประดับเทียม  

ดัชนีราคาผู้ผลิตปี 2564 ไตรมาส 2 เทียบกับไตรมาสก่อน น้า (QoQ) สูงขึ้นร้อยละ 2.1 โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายหมวด ดังนี้   

  • หมวดผลิตภัณฑ์เกษตรกรรมและการประมง สูงขึ้นร้อยละ 0.9 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ได้แก่ ผลปาล์มสด ยางพารา อ้อย มะนาว ผักคะน้า กะหล่ำปลี ผักกวางตุ้ง ผักกาดหอม ผักชี ผักขึ้นฉ่าย ถั่วฝักยาว ถั่วเขียว องุ่น กล้วยน้ำว้า มะพร้าวอ่อน สุกรมีชีวิต ไข่ไก่ และไข่เป็ด 
  • หมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง สูงขึ้นร้อยละ 7.3 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มปิโตรเลียมดิบและก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมันปิโตรเลียมดิบ และก๊าซธรรมชาติ กลุ่มแร่ ได้แก่ ดีบุก สังกะสี วุลแฟรม และแร่เหล็ก 
  • หมวดผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.0 จากสินค้าสำคัญ กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91,95 น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเครื่องบิน และน้ำมันเตา กลุ่มเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี ได้แก่ เม็ดพลาสติก เอทิลีน โพรพิลีน เบนซีน ไซลีน โทลูอีน ปุ๋ยเคมีผสม โซดาไฟ และกรดเกลือ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร ได้แก่ ไก่สด ปลาหมึกแช่แข็ง น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ น้ำมันถั่วเหลืองบริสุทธิ์ น้ำตาลทราย กากน้ำตาล มันเส้น แป้งมันสำปะหลัง ปลาป่น สับปะรดกระป๋อง และน้ำสับปะรด กลุ่มเครื่องดื่ม ได้แก่ เบียร์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก ได้แก่ ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย แผ่นฟิล์มพลาสติก และถุงพลาสติก กลุ่มสิ่งทอ ได้แก่ เส้นใยสังเคราะห์ และด้ายใยสังเคราะห์ผสมฝ้าย กลุ่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ได้แก่ กางเกงสตรี เสื้อยกทรง และ กางเกงชั้นในบุรุษ กลุ่มกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ ได้แก่ เยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน และกระดาษแข็ง กลุ่มไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ได้แก่ ไม้ยางพารา กรอบไม้ และชามสลัด กลุ่มผลิตภัณฑ์ ที่ทำจากแร่อโลหะ ได้แก่ ท่อคอนกรีต คอนกรีตบล็อก เสาเข็มคอนกรีต และกระเบื้องปูพื้น-บุผนัง กลุ่มผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล  

แนวโน้มดัชนีราคาผู้ผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2564   

ดัชนีราคาผู้ผลิตในไตรมาสที่ 3 ยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีสาเหตุสำคัญจากความต้องการของตลาดโลกที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น ตามสถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว สะท้อนได้จากการส่งออกของไทยที่ปรับตัวดีขึ้นและอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ภาคการผลิตสินค้า อุตสาหกรรมของไทยขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับราคา น้ำมันดิบยังทรงตัวในระดับสูงเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน นอกจากนี้ สินค้าเกษตรสำคัญยังคงขยายตัวได้ดี ตามความต้องการของตลาด ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และเนื้อสัตว์ ทั้งนี้ราคาอาจจะผันผวนบ้างตามสภาพอากาศที่กระทบต่อปริมาณผลผลิต อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ยังเป็นแรงกดดันต่ออุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ และอาจกระทบต่ออุปทานในระยะต่อไปได้ ทั้งนี้ จะต้องมีการประเมินและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH