รถยนต์ เดือน เม.ย. ขายลดลง 65.02%

อัปเดตล่าสุด 22 พ.ค. 2563
  • Share :
  • 483 Reads   

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ภายในประเทศ ประจำเดือนเมษายน 2563 ดังต่อไปนี้

ยอดขายรถยนต์ มีจำนวนทั้งสิ้น 30,109 คัน ลดลง 65.02% (MoM) และลดลงจากเดือนมีนาคม 2563 49.91% ยอดขายภายในประเทศลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ประชาชนอยู่บ้านและไม่อยากใช้เงิน เพราะรายได้และความเชื่อมั่นลดลง

สำหรับภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2563 รถยนต์มียอดขาย 230,173 คัน ลดลง 34.17% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 

ยอดขายรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 78,873 คัน ลดลง 34.49% (MoM) และลดลง 46.25% จากเดือนมีนาคม 2563 

สำหรับภาพรวมตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน 2563 รถจักรยานยนต์มียอดขาย 509,603 คัน ลดลง 12.51% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 

นอกจากนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้รายงานสถานการณ์ตลาดรถยนต์และส่วนแบ่งตลาดในเดือนเมษายน 2563  จากตัวเลขยอดขายรวม 30,109 คัน พบว่า ตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 74.7% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 58.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าการเติบโตในเดือนนี้ยังคงปรับลดลง ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่ภาครัฐฯ ได้ออกมาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้ออกมาตรการการทำงานจากที่บ้าน (Work From Home) และผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายและชะลอการพิจารณาซื้อรถใหม่ รวมถึงความไม่แน่นอนในอนาคต ส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเกิดการชะลอตัว และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ 

ในส่วนของตลาดรถยนต์สะสม 4 เดือน มีปริมาณการขาย 230,173 คัน ลดลง 34.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 36.6% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 32.6% เป็นผลมาจากเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและในระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์  

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนเมษายน 2563

1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 30,109 คัน ลดลง 65% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,084 คัน ลดลง 58.9% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,865 คัน ลดลง 55.4% ส่วนแบ่งตลาด 22.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 2,648 คัน ลดลง 76.6% ส่วนแบ่งตลาด  8.8%

2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 8,830 คัน ลดลง 74.7%                                 

อันดับที่ 1 โตโยต้า 2,906 คัน ลดลง 71.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.9%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 2,229 คัน ลดลง 74.1% ส่วนแบ่งตลาด 25.2%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,072 คัน ลดลง 56.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.1%

3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 21,279 คัน ลดลง 58.4%                     

อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,178 คัน ลดลง 51.5% ส่วนแบ่งตลาด 38.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,865 คัน ลดลง 55.4% ส่วนแบ่งตลาด 32.3%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,205 คัน ลดลง 73.1% ส่วนแบ่งตลาด  5.7%

4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน*  (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 16,733 คัน ลดลง 59.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,019 คัน ลดลง 53.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,267 คัน ลดลง 56.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.5%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,205 คัน ลดลง 73.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 1,575 คัน
โตโยต้า 753 คัน -  อีซูซุ 322 คัน - มิตซูบิชิ 219 คัน - ฟอร์ด 211 คัน - เชฟโรเลต 45 คัน - นิสสัน 25 คัน

5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 15,158 คัน ลดลง 58.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,266 คัน ลดลง 52.2% ส่วนแบ่งตลาด 41.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,945 คัน ลดลง 55.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 994 คัน ลดลง 73.7% ส่วนแบ่งตลาด  6.6%

อ่านต่อ: ยอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เดือน มี.ค. 2563