ไทยตั้งเป้าปี 2567 ผลิตรถยนต์ 1.9 ล้านคัน
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) โดยนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า ทางสมาชิกกลุ่มฯ ได้ตั้งเป้าประมาณการตัวเลขการผลิตรถยนต์ตลอดทั้งปี 2567 ที่จำนวน 1,900,000 คัน เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนเล็กน้อย
- ปี'66 ไทยตั้งเป้าผลิตเพิ่ม "รถยนต์ 1.95 ล้านคัน - รถจักรยานยนต์ 2.1 ล้านคัน"
- ยอดผลิตรถยนต์ 2566 เดือน พ.ย. รวม 1.6 แสนคัน ลดลง 14.10%
- ยอดขายรถยนต์ 2566 เดือน พ.ย. 61,621 คัน ลดลง 9.76% ขายกระบะร่วง 38.8%
Advertisement | |
รถยนต์
ปี 2567 ไทยประมาณการการผลิตรถยนต์ จำนวน 1,900,000 คัน มากกว่าปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 1,841,663 คัน เพิ่มขึ้น 3.17% โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 1,150,000 คัน เท่ากับ 65% ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 750,000 คัน เท่ากับ 35% ของยอดการผลิตทั้งหมด
เป้าผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก จำนวน 1,150,000 คัน ลดลงจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 1,156,035 คัน ลดลง 0.52%
ปัจจัยบวก ดังต่อไปนี้
- ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะซึ่งขนส่งสินค้าและคนเพื่อส่งออกไปทั่วโลกกว่าหนึ่งร้อยประเทศจึงอาจจะไม่ได้รับผลกระทบมากจากเศรษฐกิจชะลอตัว
- ประเทศจีนเปิดประเทศซึ่งอาจส่งผลให้การค้าโลกและการท่องเที่ยวเติบโตเป็นผลดีต่อการส่งออกของหลายประเทศดีขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อการส่งออกของประเทศไทย
- การขาดแคลนชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์คลี่คลายลงมากส่งผลให้การผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น
- การลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยอาจมีการส่งออกยานยนต์ไฟฟ้า
- คำสั่งซื้อสินค้าจากประเทศคู่ค้า สหรัฐฯ, ยุโรป, จีน เพิ่มขึ้น รวมถึงตลาดที่มีศักยภาพ เช่น กลุ่มอ่าวอาหรับ GCC
- อัตราดอกเบี้ยอาจอยู่ในช่วงขาลงทำให้เศรษฐกิจโลกดีขึ้น
ปัจจัยลบ ดังต่อไปนี้
- การเติบโตของเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงและความขัดแย้งระหว่างประเทศอาจขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและการเพิ่มขึ้นใหม่ซึ่งจะ ส่งผลต่อการส่งออกลดลงและเงินเฟ้ออาจสูงขึ้น
- ตลาดทั้งในและต่างประเทศเกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในสินค้าประเภทเดียวกัน และคู่แข่งเกิดขึ้นในภูมิภาคเพิ่มขึ้น
- นโยบายของประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เช่น การขึ้นภาษีสรรพสามิตในรถยนต์บางประเภทในลาว
เป้าผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จำนวน 750,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 685,628 คัน เพิ่มขึ้น 9.39% โดยมีปัจจัย ดังนี้ต่อไปนี้
ปัจจัยบวก ดังต่อไปนี้
- การย้ายฐานการผลิตของนักลงทุนต่างชาติเข้ามาไทย ทำให้เกิดการเชื่อมโยง Supply Chain ของอุตสาหกรรม
- ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั่วโลกจากกฎระเบียบและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
- เริ่มมีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น
ปัจจัยลบ ดังต่อไปนี้
- หนี้ครัวเรือนสูง หนี้สาธารณะสูง ค่าครองชีพสูง อัตราดอกเบี้ยสูง ส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของประชาชนลดลง ทำให้ยอดขายอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งมีsupply chain หลายอุตสาหกรรมชะลอตัวลง ส่งผลต่อการจ้างงาน ทำให้รายได้คนงานก่อสร้างและโรงงานลดลง
- งบประมาณรายจ่ายประจำปี2567 ล่าช้าออกไปราวแปดเดือนทำให้การลงทุนและการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าช้าออกไปด้วย ส่งผลให้การลงทุนการจ้างงานของเอกชนล่าช้าออกไป เศรษฐกิจจึงเติบโตในระดับต่ำ
- ภัยธรรมชาติที่คาดไม่ถึง อาจจะกระทบต่อผลผลิตและรายได้เกษตรกร
- ความขัดแยังระหว่างประเทศอาจขยายตัวและเพิ่มขึ้นหลายพื้นที่จะส่งผลให้ราคาพลังงาน สินค้า และวัตถุดิบสูงขึ้น
- การส่งออกสินค้าต่างๆ ในปีนี่อาจลดลงจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงส่งผลการผลิตการลงทุนการจ้างงานลดลง อำนาจซื้อลดลง
รถจักรยานยนต์
ปี 2567 ไทยประมาณการการผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 2,120,000 คัน น้อยกว่าปี 2566 ซึ่งมีจำนวน 738 คัน ลดลง 0.03% โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณ 420,000 คัน เท่ากับ 19.81% ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณ 1,700,000 คัน เท่ากับ 80.19% ของยอดการผลิตทั้งหมด
- ผลิตเพื่อการส่งออก จำนวน 420,000 คัน ลดลง 10.73% จากปีที่แล้ว
- ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ จำนวน 1,700,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.01% จากปีที่แล้วที่
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ใน 2566
- คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คืออะไร ทำไมถึงต้องเร่งสร้างคาร์บอนเครดิต
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2566 ฟรี
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ 2565
- ยอดขายโทรศัพท์ 2023 ทั่วโลก
- GAC AION Thailand
- เปิดโผ 8 อุตสาหกรรมเด่นเติบโตสูงในปี 2566
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH