อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ไตรมาส 1 ปี 2564 และแนวโน้มไตรมาสถัดไป
กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนขยายตัว เช่น เหล็กลวด ลวดเหล็ก เหล็กเส้นกลมเหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดร้อน เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม และเหล็กแผ่นรีดเย็น
Advertisement | |
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม มีค่า 107.4 ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.7 (%YoY) และขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 15.2 การผลิตเหล็กในไตรมาส 1 ปี 2564 ขยายตัว เนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และนโยบายของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรม รวมถึงราคาเหล็ก
ในตลาดโลกที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
-
การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ขยายตัวร้อยละ10.1 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด ขยายตัวร้อยละ 35.2 รองลงมา คือ ลวดเหล็กและเหล็กเส้นกลมขยายตัวร้อยละ 17.8 และ 17.6 ตามลำดับ
-
การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 23.7 ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ขยายตัวร้อยละ 93.1 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม และเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 49.9 และ 43.2 ตามลำดับ
การบริโภคเหล็กในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีปริมาณ 4.9 ล้านตัน ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 10.5 ขยายตัวเป็นไตรมาสแรก นับตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562 และขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 17.0
-
การบริโภคเหล็กทรงยาว ขยายตัวร้อยละ 8.6 จากการบริโภคเหล็กลวด ขยายตัวรอยละ 20.8 เหล็กเสนและเหล็กโครงสรางรีดรอน ขยายตัวรอยละ 1.6
-
การบริโภคเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 11.7 จากการบริโภคเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ขยายตัวร้อยละ 41.6 รองลงมา คือเหล็กแผ่นรีดเย็น ขยายตัวร้อยละ 32.1 และเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 20.5
การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2563 มีมูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.8 ขยายตัวเป็นไตรมาสแรก นับตั้งแต่ไตรมาส
2 ปี 2562 และ ขยายตัวจากไตรมาสที่ 4 ปี 2563 ร้อยละ 21.5
-
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ขยายตัวร้อยละ 11.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กเส้น ประเภท Carbon
Steel ขยายตัวร้อยละ 51.6 รองลงมา คือ เหล็กลวด ประเภท Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 42.1 และลวดเหล็ก ขยายตัวร้อยละ 23.6 -
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 24.5 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าขยายตัวมากที่สุด คือเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 75.1 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กรูปพรรณขึ้นรูปเย็น ขยายตัวร้อยละ 62.2 และ 43.6 ตามลำดับ
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ปี 2564
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ปี 2564 คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และการยกเลิกมาตรการการคืนภาษีส่งออกของจีนสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กบางรายการ ทั้งนี้ ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกลา้ ได้แก่ ราคาเหล็กในตลาดโลกและในประเทศที่ปรับตัวที่สูงขึ้น รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรม
อ่านต่อ:
- ภาครัฐ-เอกชน ร่วมถก ปรับราคาค่า K บรรเทาผลกระทบราคาเหล็ก
-
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ไตรมาส 4 ปี 2563 และแนวโน้มไตรมาสถัดไป
- แก้ปัญหาราคาเหล็กสูง รัฐ-เอกชนผนึกกำลัง เตรียมจับคู่ธุรกิจ ผู้ผลิต-ผู้ใช้ ซื้อขายตรง
- 7 สมาคมเหล็กยื่นนายก ชู 5 ข้อช่วยผู้ใช้เหล็ก เสนอปรับราคาค่า K เป็นมาตรการเร่งด่วน
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่
Facebook / Twitter : MreportTH
Youtube official : MReport
Line : @mreportth
Website : www.mreport.co.th