สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาสที่ 1/2564

สถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทย ไตรมาส 1/2564

อัปเดตล่าสุด 9 มิ.ย. 2564
  • Share :

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) รายงานสถานการณ์การค้าต่างประเทศของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่าทั้งสิ้น 127,780.4 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 64,148.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และมูลค่าการนำเข้า 63,632.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดุลการค้าไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เกินดุล 515.65 ล้านเหรียญสหรัฐ

โดยมูลค่าการค้าต่างประเทศในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งขยายตัวตามอุปสงค์ในตลาดคู่ค้าหลักของไทยที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่ได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายประเทศและความเชื่อมั่นจากแผนการกระจายวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ไปยังประเทศต่าง ๆ

Advertisement

โครงสร้างการส่งออกสินค้า

การส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 64,148.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งขยายตัวตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเกษตรกรรม มูลค่าการส่งออก 5,748.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.9
  • สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการส่งออก 4,469.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.2
  • สินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออก 51,862.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.0
  • สินค้าแร่และเชื้อเพลิง มูลค่าการส่งออก 2,067.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.9 

สินคัาที่มีการส่งออกขยายตัว ได้แก่ 

  • รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 7,971.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 23.8
  • เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่าการส่งออก 5,003.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.4
  • ผลิตภัณฑ์ยาง มูลค่าการส่งออก 3,932.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 32.5
  • เม็ดพลาสติก มูลค่าการส่งออก 2,542.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 31.8 
  • เคมีภัณฑ์ มูลค่าการส่งออก 2,038.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 16.7

ตลาดส่งออก ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ตลาดส่งออกหลักในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) จีน และญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ตลาดคู่ค้าหลักอื่น ๆ ยังคงหดตัว ซึ่งสัดส่วนการส่งออกทั้ง 5 ตลาด ได้แก่ อาเซียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27ประเทศ) รวมคิดเป็นร้อยละ 68.8 และการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 31.2 ของการส่งออกทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • สัดส่วนการส่งออกของไทย ไปยังอาเชียน (9 ประเทศ) สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) คิดเป็นร้อยละ 22.6, 15.0, 12.5, 10.0 และ 8.6 ตามลำดับ
  • อัตราการขยายตัวของการส่งออก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนขยายตัวเพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป (27 ประเทศ) จีน และญี่ปุ่นคิดเป็นร้อยละ 12,5 10.7 20.6 และ 6.2 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การส่งออกไปอาเซียน (9 ประเทศ) ยังคงหดตัวลงร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

โครงสร้างการนำเข้าสินค้า

การนำเข้าสินค้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 มีมูลค่า 63,632.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหมวดสินค้าหลักมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

  • สินค้าเชื้อเพลิง มีมูลค่าการนำเข้า 8,304.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 11.7
  • สินค้าทุน มีมูลค่าการนำเข้า 15,494.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.2 
  • สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป มีมูลค่าการนำเข้า 28,288.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 26.3
  • สินค้าอุปโภคบริโภค มีมูลค่าการนำเข้า 7,729.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.59
  • ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง มีมูลค่าการนำเข้า 3,765.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1,059.4
  • สินค้าหมวดอาวุธ ยุทธปัจจัยและสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่าการนำเข้า 50.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 96.7

ตลาดนำเข้าสินค้า สัดส่วนการนำเข้าแยกตามตลาดนำเข้าสำคัญ ไตรมาสที่ 1 ของปี 2564 อัตราการขยายตัวในตลาดนำเข้าสำคัญของไทยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในตลาด จีน ญี่ปุ่น และอาเซียน (9 ประเทศ) ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวลงโดยทั้ง 5 ตลาดมีสัดส่วนการนำเข้า รวมคิดเป็นร้อยละ 67.5 และการนำเข้าจากตลาดอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 32.5 ของการนำเข้าทั้งหมด โดยมีรายละเอียด ดังนี

  • สัดส่วนการนำเข้าของไทย จากจีน อาเซียน (9 ประเทศ) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป  (27 ประเทศ) และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 23.2, 17.9, 14.1, 6.6 และ 5.7 ตามลำดับ
  • อัตราการขยายตัวของการนำเข้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในตลาดจีน ญี่ปุ่น และอาเซียน (9 ประเทศ) ขยายตัวร้อยละ 29.3, 14.9, และ 0.5 ตามลำดับ ขณะที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป (27 ประเทศ) หดตัวร้อยละ 36.9 และ 1.1 ตามลำดับ

 

อ่านต่อ:

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่

Facebook / Twitter : MreportTH

Youtube official : MReport

Line : @mreportth

Website : www.mreport.co.th