อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 2565 ไตรมาส 1 การผลิตหดตัวทั้งกลุ่มเหล็กทรงแบนและทรงยาว
กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผยสถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบนและทรงยาว เช่น เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กโครงสร้างรูปพรรณชนิดรีดเย็น ลวดเหล็กแรงดึงสูง และเหล็กเส้นข้ออ้อย
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมีค่า 98.1 หดตัวร้อยละ 9.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวร้อยละ 3.7 จากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากราคาเหล็กสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อกำลังการซื้อของผู้บริโภคที่ลดน้อยลง
-
การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 9.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่การผลิตหดตัวมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 16.3 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม หดตัวร้อยละ 6.7 และ 4.1 ตามลำดับ
-
การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 6.9 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวมากที่สุด คือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดเย็น หดตัวร้อยละ 15.7 รองลงมา คือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง และ เหล็กเส้นข้ออ้อย หดตัวร้อยละ 10.1 และ 9.5 ตามลำดับ
การบริโภคเหล็กในประเทศไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีปริมาณ 4.0 ล้านตัน หดตัวร้อยละ 17.8 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 4.3 จากไตรมาสที่ผ่านมา
-
การบริโภคเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 16.6 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กแผ่นบางรีดร้อน ที่หดตัวร้อยละ 21.7 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดเย็น และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี หดตัวร้อยละ 14.5 และ 5.1 ตามลำดับ
-
การบริโภคเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 19.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคเหล็กบริโภคเหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้างรีดร้อน และเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 24.3 และ 17.6 ตามลำดับ
การนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีมูลค่า 2.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.7 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่หดตัวร้อยละ 15.9 จากไตรมาสที่ผ่านมา
-
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว ขยายตัวร้อยละ 1.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีการนําเข้าขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กลวด ประเภท Stainless steel ขยายตัวร้อยละ 64.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ จีน ไต้หวัน และ ญี่ปุ่น) รองลงมา คือ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ ขยายตัวร้อยละ 44.4 และเหล็กเส้น ประเภท Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 24.4
-
การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน ขยายตัวร้อยละ 11.2 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่การนําเข้าขยายตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Alloy steel ขยายตัวร้อยละ 153.9 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้า คือ ญี่ปุ่น) รองลงมาคือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Stainless steel ขยายตัวร้อยละ 79.0 และเหล็กแผ่นบางรีดเย็นประเภท Carbon steel ขยายตัวร้อยละ 30.3
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ปี 2565
แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 2 ปี 2565 คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคาดการณ์ว่าต้นทุนวัตถุดิบในไตรมาส 2 ยังปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มีแนวโน้มทรงตัวในไตรมาส 3ประกอบกับต้นทุนพลังงานและการขนส่งในไตรมาส 2 ที่ยังมีแนวโน้มสูงทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง ผู้บริโภคจึงชะลอคำสั่งซื้อ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงจากสถานการณ์เงินเฟ้อ ที่ทำให้ราคาสินค้าเหล็กและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเริ่มปรับตัวสูงขึ้น และต้นทุนเหล็กในประเทศจีนที่ต่ำกว่าประเทศไทย อาจทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กมากกว่าการซื้อในประเทศ
อ่านต่อ:
- สมอ. แก้มาตรฐาน “เหล็กแผ่นเคลือบ” มอก.50 - มอก.2228 เตรียมยกเป็น "สินค้าควบคุม" ปีนี้
- ผลกระทบของ "ราคาเหล็ก" ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อ "อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย"
- อาหารกระป๋องอ่วม พิษราคาแผ่นเหล็กพุ่ง ดันต้นทุนสูง
- เหล็กปี 2565 ยังโตต่อ แนะรัฐเพิ่มใช้เหล็กในประเทศช่วยฟื้นเศรษฐกิจ
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH