อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ไตรมาสที่ 2/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2563

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ไตรมาสที่ 2/2563 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2563

อัปเดตล่าสุด 8 ก.ย. 2563
  • Share :
  • 602 Reads   

กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา 1 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของไทย โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเหล็กไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 จากการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนหดตัว เชน เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบ สังกะสี เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิดรีดร้อน และลวดเหล็กแรงดึงสูง

ดัชนีการผลิต

การผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 81.4 หดตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 12.0 (%QoQ) และหดตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 19.4 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 7 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2561) เนื่องจากการชะลอตัวของการผลิตในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ตามการชะลอตัวของสถานการณ์เศรษฐกิจ ทั้งเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวหดตัว ร้อยละ 13.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ชนิด รีดรอน หดตัวร้อยละ 29.7 รองลงมา คือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง และลวดเหล็ก หดตัว ร้อยละ 29.4 และ 16.4 ตามลำดับ การผลิตผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัว ร้อยละ 29.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัว รอยละ 41.2 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน หดตัวร้อยละ 34.6 และ 25.1 ตามลำดับ


การจำหน่าย ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีปริมาณ 3.7 ล้านตัน หดตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 16.1 (%QoQ) และหดตัวจากไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 26.6 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 3 ปี 2562) โดยการจำหนายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาวหดตัวร้อยละ 23.3 ผลิตภัณฑ์ที่มีการจำหนายหดตัว คือ เหล็กเส้นและเหล็กโครงสร้าง รีดร้อน หดตัวร้อยละ 34.5 และเหล็กลวด หดตัวร้อยละ 10.0 การจำหน่าย ผลิตภัณฑในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 28.3 ผลิตภัณฑที่มีการจำหน่ายหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดรอน หดตัวร้อยละ 46.0 รองลงมา คือ เหล็กแผนบางรีดร้อน และเหล็กแผ่นรีดเย็น หดตัวร้อยละ 39.3 และ 33.6 ตามลำดับ 

การนำเข้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2563 มีมูลค่า 2.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 9.4 (%QoQ) และหดตัวจากไตรมาสเดียวกัน ของปีก่อน ร้อยละ 30.2 (%YoY) (หดตัวติดต่อกัน 4 ไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562) โดยการนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงยาว หดตัวร้อยละ 27.7 ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Carbon Steel หดตัวร้อยละ 65.3 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ ญี่ปุน) รองลงมา คือ เหล็กโครงสร้างรีดร้อน ประเภท Stainless Steel และ เหล็กลวด ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 54.4 และ 39.2 ตามลำดับ การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเหล็กทรงแบน หดตัวร้อยละ 31.1ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำเข้าหดตัวมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นหนารีดร้อน ประเภท Alloy Steel หดตัวร้อยละ 66.5 (ประเทศหลักที่ไทยนำเข้าลดลง คือ จีน และญี่ปุน) รองลงมา คือ เหล็กแผ่นบางรีดร้อน ประเภท Alloy Steel และ เหล็กแผ่น เคลือบโครเมี่ยม หดตัวร้อยละ 58.6 และ 57.1 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 3 ปี 2563 

แนวโน้มอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าไตรมาสที่ 3 ปี 2563 คาดการณ์ว่าจะหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีประเด็นที่น่าติดตาม เช่น สถานการณ์ภาวะเศรษฐกิจโลก สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ราคา สินคาเหล็กต่างประเทศ การดำเนินการโครงการก่อสร้างภาครัฐ และการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตและการบริโภคผลิตภัณฑ์เหล็กในประเทศ
 

อ่านต่อ:
“โควิด” ไล่ถล่มอุตฯเหล็กไทย รง.ร้องบิ๊กตู่งัดทุกมาตรการป้องตลาด