อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย 2565 ไตรมาส 1 และแนวโน้มไตรมาสถัดไป
สถานการณ์ของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ปี 2565 ประจำไตรมาสที่ 1 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2 จากข้อมูลโดยกองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)
Advertisement | |
การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิตของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 อยู่ที่ 100.0 โดยลดลงร้อยละ 1.5 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ แผงวงจร (PWB), วงจรรวม (IC), วงจรพิมพ์ (PCBA) และ Semiconductor devices transistor โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1, 11.8, 10.6 และ 0.6 ตามลําดับ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ทําให้ความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น Smartphone Tablet และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และผลิตภัณฑ์สําหรับโครงสร้างพื้นฐานทาง IT ทําให้ยังคงมีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ HDD และ Printer โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 13.3 และ 5.6 ตามลําดับ
การนำเข้าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีมูลค่าการนำเข้า 11,754.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.8 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ วงจรรวม (IC), เครื่องคอมพิวเตอร์, มอนิเตอร์, วงจรพิมพ์ ไดโอด ทรานซิสเตอร์ อุปกรณ์กึ่งตัวนําและส่วนประกอบ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.9, 32.8, 31.5, 25.5 และ 21.8 ตามลําดับ
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องพิมพ์ เครื่องทําสําเนา และส่วนประกอบ และเครื่องโทรศัพท์และอุปกรณ์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.8 และ 17.7 ตามลําดับ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไตรมาสที่ 4/2564
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไตรมาสที่ 3/2564
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไตรมาสที่ 2/2564
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ไตรมาสที่ 1/2564
การส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์รวมมูลค่า 11,017.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.1 จากไตรมาสก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปตลาดหลักปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่สหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ HDD, อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานชิสเตอร์ และไดโอดอื่น ๆ และวงจรพิมพ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4, 21.7 และ 18.5 ตามลําดับ
-
สินค้าอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรพิมพ์และเครื่องพิมพ์ เครื่องทำสำเนาและส่วนประกอบ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.8, 6.1 และ 4.4 ตามลําดับ
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 คาดว่าจะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัวประมาณร้อยละ 3.0 และ 10.0 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดโลกยังคงต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การผลิตสินค้าสมัยใหม่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G, Data Center และ IoT ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามสถานการณ์การขาดแคลนชิปเซมิคอนดักเตอร์และสถานการณ์เงินเฟ้ออาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน ราคาวัตถุดิบ และต้นทุนการผลิตของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ได้
อ่านบทความ:
- ผลกระทบของ "ราคาเหล็ก" ที่เพิ่มสูงขึ้นต่อ "อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย"
- นโยบายกรีนดีล (European Green Deal) กับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย
- โมเดลเศรษฐกิจ BCG กับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย
- ผลกระทบของการขาดแคลนชิปวงจรรวม (Integrated Circuit: IC) ต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH