เปิดสถิติส่งออกไทย 2 เดือนแรก ใช้ RCEP กว่า 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่งไปอาเซียนสูงสุด
กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เผยสถิติการส่งออกของไทยไปประเทศ RCEP 2 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่ากว่า 23,501.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 52.5% ของการส่งออกไทยไปตลาดโลก ขยายตัว 9.1% ส่งออกไปตลาดอาเซียนสูงสุด ตามด้วยจีน ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ยันเดินหน้าชี้ช่องผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จาก RCEP เต็มที่
วันที่ 5 เมษายน 2565 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถิติการส่งออกของไทยไปกลุ่มประเทศ RCEP ในช่วง 2 เดือนแรก (ม.ค.-ก.พ. 2565) พบว่า มีมูลค่า 23,501.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 52.5 ของการส่งออกไทยไปตลาดโลก ขยายตัวร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปอาเซียนมากที่สุด (ร้อยละ 24.8) รองลงมาคือ จีน (ร้อยละ 11.5) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 9.4) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 3.9) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 2.3) และนิวซีแลนด์ (ร้อยละ 0.6) ขณะที่ไทยนำเข้าจากกลุ่มประเทศ RCEP มูลค่า 28,890.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยนำเข้าจากจีนมากที่สุด (ร้อยละ 25.4) รองลงมาคือ อาเซียน (ร้อยละ 17.2) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 11.8) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 3.6) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 2.9) และนิวซีแลนด์ (ร้อยละ 0.3)
- RCEP บังคับใช้ 1 ม.ค. 65 สินค้าไทยภาษี 0% ทันที 2.9 หมื่นรายการ
- 'พาณิชย์' จับมือ EXIM BANK เปิดโครงการ “จับคู่กู้เงิน ลุยตลาด RCEP” หนุนสินเชื่อ SME ดอกต่ำสุด 2.75% ต่อปี
- บทวิเคราะห์ RCEP ข้อดี ข้อเสีย
สำหรับในช่วงเดือน ม.ค.-ก.พ. 2565 มีการใช้สิทธิ์ RCEP ส่งออก มูลค่า 1,165.52 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.15 ของการส่งออกไทยไป RCEP โดยผู้ส่งออกขอใช้สิทธิ์ RCEP ส่งออกไปญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ มากที่สุด ขณะที่การใช้สิทธิ์ RCEP นำเข้า มีมูลค่า 494 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.05 ของการนำเข้าจาก RCEP โดยการใช้สิทธิ์นำเข้าจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และเวียดนาม มากสุดตามลำดับ
“การค้าของไทยกับกลุ่มประเทศ RCEP มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ดำเนินโครงการ “จับคู่กู้เงิน ลุยตลาด RCEP” ร่วมกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดหาสินเชื่อให้ผู้ประกอบการไทยที่สนใจส่งออกไปตลาด RCEP รวมทั้งยังได้ลงพื้นที่จัดสัมมนา “ชี้ช่องโอกาส ลุยตลาด RCEP” ทั้งในกรุงเทพฯ และในภูมิภาค เพื่อให้ความรู้และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความตกลง RCEP อย่างเต็มที่อีกด้วย” นางอรมนเสริม
ทั้งนี้ นับตั้งแต่ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) เริ่มมีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก RCEP ให้สัตยาบันความตกลง RCEP แล้ว 13 ประเทศ ได้แก่ บรูไนฯ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส่วนอีก 2 ประเทศ คือ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย อยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้สัตยาบัน
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH