ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2/2563

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2/2563

อัปเดตล่าสุด 3 ก.ย. 2563
  • Share :
  • 511 Reads   

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2/2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 20.0 ปัจจัยสำคัญจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 

อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 2/2563 อาทิ การผลิตรถยนต์หดตัว จากสินค้าเกือบทุกรายการสินค้า ยกเว้นรถยนตนั่งขนาดใหญ่ รถตรวจการณ์ เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดของของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อกำลังซื้อในต่างประเทศและตลาดในประเทศ รวมไปถึงสถาบันการเงิน มีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อรถยนต์มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ผลิตส่วนใหญ่หยุดสายการผลิต ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตลดลงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การเดินทางทางอากาศหยุดชะงักเกือบทั้งหมดในไตรมาสนี้ และผลจากการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉินของรัฐบาล ประกอบกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด การควบคุมการเดินทางระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้การเดินทางขนส่งของประชาชนทั่วไปและธุรกิจลดน้อยลง ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเพื่อการคมนาคมขนส่งลดลงมาก การผลิตเครื่องปรับอากาศ ภาวะการผลิตลดลงในทุกสินค้า ปัจจัยหลักจากปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และผลจากมาตรการป้องการแพร่ระบาด ทำให้ความต้องการสินค้าลดน้อยลง รวมไปถึงการที่ผู้ผลิต ต่างปรับลดวันทำงานและทำตามมาตรการของทางภาครัฐในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค และการขาดชิ้นส่วนสำหรับการผลิตสินค้าที่สงผลกระทบต่อปริมาณการผลิตในไตรมาสนี้

อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 2/2563 อาทิ การผลิตสัตวน้ำบรรจุกระป๋อง ผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ทำให้ผู้บริโภคในต่างประเทศมีการซื้อหาอาหารกระป๋องไว้บริโภคในช่วงที่ต้องอยู่บ้านเพื่อป้องกันการระบาด จึงทำให้มีคำสั่งซื้อสินคาเข้าเพิ่มขึ้น เภสัชภัณฑ์และเคมีภัณฑที่ใช้รักษาโรคจากสถานการณการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้มีคำสั่งซื้อเข้ามามากขึ้น

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2563  GDP หดตัวร้อยละ 12.2 โดยหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 และชะลอตัวจากไตรมาสที่ผานมาที่มีการหดตัวร้อยละ 2.0

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 เป็นการหดตัวลงอย่างมากจากไตรมาสก่อนหน้าและหดตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาส สอดคล้องกับการลดลงของการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการถดถอยที่รุนแรงของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะสินคาคงทนกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนตที่ชะลอตัวลงมาก และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปทั่วโลก และการลดลงของอุปสงค์ในประเทศ ในช่วงที่ล็อกดาวน์

GDP ภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 หดตัวร้อยละ 14.4 ชะลอตัวลงมากจากไตรมาสที่ผ่านมาหดตัวร้อยละ 2.6 และชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีกอนที่ขยายตัวร้อยละ 0.1 โดยชะลอตัวลงตามการผลิตสินคาเพื่อการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสำคัญ 

ดัชนีอุตสาหกรรมทีสําคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 80.26 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (102.85) ร้อยละ 22.0 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (100.29) ร้อยละ 20.0 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 81.89 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (100.17) ร้อยละ 18.24 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (102.73) ร้อยละ 20.3 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินคาลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้า ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 127.83 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (140.31) ร้อยละ 8.90 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (133.53) ร้อยละ 4.3 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินคาสำเร็จรูปคงคลัง ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การต้ม การกลั่น และการผสมสุรา และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูป คงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การต้ม การกลั่น และการผสมสุรา การผลิตน้ำตาล การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 อยู่ที่ระดับร้อยละ 52.94 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 66.86) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (ร้อยละ 65.04) อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ไดแก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 มีค่า 78.10 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (90.13) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (95.13) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 90.13 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (102.03) ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 2 ปี 2563 ยังเป็นผลจากความกังวลต่อสถานการณ์การระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) ที่รุนแรงขึ้นในต่างประเทศ มาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคระบาดในประเทศของภาครัฐ ซึ่งส่งผลต่อการใช้จ่ายและบริโภคลดลงโดยเฉพาะสินค้าคงทน ภาคอุตสาหกรรมชะลอการผลิตและการลงทุน รวมทั้ง การลดการจ้างงาน ปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงส่งผลต่อกำลังซื้อและรายได้ในภาคเกษตร อย่างไรก็ตามมีปัจจัยบวกจากการที่รัฐบาลผ่อนปรนมาตรการควบคุมการระบาดของเชื้อไวรัส COVID -19 ระยะที่ 3 และ 4 รวมทั้งยกเลิกคำสั่งห้ามออกนอกเคหะสถาน (เคอร์ฟิว) ทำให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ขณะที่ด้านการค้าชายแดนเริ่มทยอยเปิดในหลายพื้นที่ส่งผลดีต่อการส่งออกสินคาไทย

 

อ่านต่อ: ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1/2563