ส่งออกไทย 2565 เดือนพฤษภาคม

ส่งออกไทย 2565 เดือน พ.ค. โตต่อเนื่อง 10.5% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

อัปเดตล่าสุด 1 ก.ค. 2565
  • Share :
  • 768 Reads   

สถานการณ์ส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2565 ไทยทำตัวเลขส่งออกได้อยู่เหนือระดับ 2.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ 15 ที่ตัวเลข 10.5% เมี่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน

วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผย ตัวเลขการส่งออกเดือนพฤษภาคม 2565 มีมูลค่า 25,509.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ((854,372 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 10.5 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 11.1 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 การส่งออกยังคงเป็นเครื่องจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง สะท้อนถึงบทบาทการเป็น “ครัวโลก” ในช่วงเวลาที่ทั่วโลกมีความต้องการสินค้าอาหารเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเติบโตตามภาคการผลิตโลกที่ยังขยายตัวดี

สอดคล้องกับดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 23 จากคำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่เร่งตัว และการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น สะท้อนถึงอุปสงค์จากประเทศค่ค้าหลักที่ยังขยายตัว แม้จะได้รับผลกระทบความขัดแย้งรัสเซียยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ปัญหาเงินเฟ้อ และการล็อกดาวน์บางเมืองเศรษฐกิจของจีน ทั้งนี้ การส่งออกไทย 5 เดือนแรกปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 12.9 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 8.7

สรุปมูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนพฤษภาคม 2565 การส่งออก มีมูลค่า 25,509.0ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 27,383.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.2 ดุลการค้าขาดดุล 1,874.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ภาพรวมการส่งออก 5 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-พฤษภาคม) การส่งออก มีมูลค่า 122,631.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.9 การนำเข้ามีมูลค่า 127,358.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.2 ดุลการค้า 5เดือนแรก ขาดดุล 4,726.6 ล้านเหรียญสหรัฐ

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 4.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 23.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม สิงคโปร์กัมพูชา มาเลเซีย และอินเดีย) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 10.0 ขยายตัวในรอบ 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และฝรั่งเศส) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 6.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐฯ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 24.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 16 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย และสิงคโปร์) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 69.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 15 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย ฮ่องกง เยอรมนี และกาตาร์) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ขยายตัวร้อยละ 27.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อินเดีย และฟิลิปปินส์) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 141.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ ฮ่องกง จีน และไต้หวัน)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 3.1 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม ญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์อินโดนีเซีย สหรัฐฯ มาเลเซีย แอฟริกาใต้ ซาอุดีอาระเบีย และเม็กซิโก) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ หดตัวร้อยละ 20.8 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ญี่ปุ่น เม็กซิโก และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดเนเธอร์แลนด์ไอร์แลนด์ และอินเดีย) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 3.0 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดเวียดนาม ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ไต้หวัน อินเดีย สิงคโปร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 11.3 (YoY)

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 25.8 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 18 เดือน สินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 27.6 ขยายตัวในรอบ 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ไต้หวัน อินโดนีเซีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 81.4 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสหรัฐฯ) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 3.9 ขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตุรกี ฝรั่งเศส และสเปน) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 32.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อียิปต์ และลิเบีย) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 171.2 ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย เกาหลีใต้ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 25.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 33 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี มาเลเซีย ออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 24.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ แคเมอรูน จีน และเยเมน)

สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 2.8 หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (หดตัวในตลาดจีน เกาหลีใต้ และลาว แต่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น มาเลเซีย ฮ่องกง กัมพูชา เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร) สิ่งปรุงรสอาหาร หดตัวร้อยละ 2.4 หดตัวในรอบ 9 เดือน (หดตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สหราชอาณาจักร และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และกัมพูชา) ทั้งนี้ 5 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรขยายตัวร้อยละ 15.5 (YoY)

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับดีขึ้น สะท้อนถึงอุปสงคจากประเทศคูคาที่ยังขยายตัวได้ แม้จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งของรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และการใช้มาตรการควบคุมไวรัสโควิด-19 ที่เข้มงวดในจีน 

ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 12.3 โดยขยายตัวต่อเนื่องในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 29.2 อาเซียน (5) ร้อยละ 8.3 CLMV ร้อยละ 13.1 ขณะที่ตลาด จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27) กลับมาขยายตัวร้อยละ 3.8 ร้อยละ 6.2 และ 12.8 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 8.9 ขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ร้อยละ 55.7 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 37.9 ทวีป แอฟริกา ร้อยละ 10.2 และลาตินอเมริกา ร้อยละ 22.5 ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 11.9 และ 56.9 ตามลำดับ และ (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 59.1 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 70.0

 

ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 7.6 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 13.6 อาเซียน (5) ร้อยละ 26.9 CLMV ร้อยละ 9.3 ขณะที่ตลาด จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (27) หดตัวร้อยละ 7.2 ร้อยละ 0.3 และ 0.2 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 12.4 ขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ร้อยละ 33.9 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 25.4 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 14.9 และลาตินอเมริกา ร้อยละ 2.0 ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 4.5 และ 65.2 ตามลำดับ และ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 172.2 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 392.2

แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป

ส่วนแนวโน้มการส่งออกไทยระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า การส่งออกไทยยังขยายตัวได้ดีและเชื่อมั่นว่าตัวเลขการส่งออกในไตรมาส 2 จะขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง โดยมีปัจจัยบวกจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทรงตัว ความต้องการอาหารจากทั่วโลกที่สูงขึ้น พร้อมปัจจัยหนุนด้านราคาสินค้าเกษตร ขณะเดียวกัน ภาคบริการท่องเที่ยวของหลายประเทศเริ่มฟื้นตัว และการมีปริมาณเรือขนส่งและตู้คอนเทนเนอร์ใหม่ ล้วนส่งผลดีต่อการส่งออกไทย อย่างไรก็ตาม การส่งออกอาจได้รับแรงกดดันบ้างจากสถานการณ์เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เผชิญกับความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อที่เป็นผลสืบเนื่องจากความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ทำให้กำลังซื้อผู้บริโภคชะลอตัวลง

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH