ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 2/2565
กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ 95.83 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 9.01 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 0.72
ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.5 โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.7
GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 หดตัวร้อยละ 0.5 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.0 และหดตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 17.0
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สําคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 อยู่ที่ระดับ 95.83 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (105.36) ร้อยละ 9.01 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (96.52) ร้อยละ 0.72
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตยานยนต์ และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 97.81 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (103.81) ร้อยละ 5.78 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (97.75) ร้อยละ 0.06
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 134.58 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (138.86) ร้อยละ 3.08 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (135.87) ร้อยละ 0.95
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ การผลิตยานยนต์ และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตจักรยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 อยู่ที่ระดับร้อยละ 61.08 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 66.53) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (ร้อยละ 62.65)
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 2 ปี 2565 มีค่าดัชนี 85.60 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (87.97) แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (82.43) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 96.70 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (91.80)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 2 ปี 2565 มาจากราคาพลังงานโดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังคงยืดเยื้อ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และราคาวัตถุดิบต่าง ๆ รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนที่ลดลง อีกทั้งการปิดเมืองของประเทศจีน ส่งผลทำให้เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
อ่านต่อ:
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH