ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาส 1/2565

อัปเดตล่าสุด 1 มิ.ย. 2565
  • Share :

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) อยู่ที่ 100.17 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ร้อยละ 4.98 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 1.4

 

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2565 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 และปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.4

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่ขยายตัวร้อยละ 1.8 และปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 2.4

GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 และขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 1.1

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

ดัชนีอุตสาหกรรมที่สําคัญ

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 อยู่ที่ระดับ 105.16 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (100.17) ร้อยละ 4.98 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (103.70) ร้อยละ 1.4

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตผลิตภัณฑ์
    คอนกรีต ปูนซีเมนต์ และ ปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตน้ำตาล และการผลิตยานยนต์ เป็นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 103.60 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (101.98) ร้อยละ 1.59 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (100.22) ร้อยละ 3.4

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตยานยนต์ เป็นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง​ ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 139.36 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (144.00) ร้อยละ 3.23 แต่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (136.14) ร้อยละ 2.4

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 อยู่ที่ระดับร้อยละ  66.35 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 64.51) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (ร้อยละ 66.32)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า ได้แก่ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตน้ำตาล และการผลิตยานยนต์ เป็นต้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีค่าดัชนี 87.79 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (84.77) และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (85.30) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 97.70 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 (92.37)

ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 1 ปี 2565 ให้กลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ของภาครัฐ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว และดำเนินธุรกิจได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านโครงการคนละครึ่งเฟส 4 และเพิ่มวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อช่วยเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน อย่างไรก็ดี ปัจจัยลบที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ อาทิ เช่น ปัญหาต้นทุนประกอบการที่สูงขึ้นจากราคาพลังงาน (น้ำมัน) ราคาวัตถุดิบ ราคาค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้น ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทรนเนอร์และอัตราค่าระวางเรือขนส่งสินค้าทางทะเลที่ยังคงอยู่ระดับสูงต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2564 จากสถานการณ์เงินเฟ้อ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน รวมทั้งนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของจีน อาจเป็นตัวเร่งให้ห่วงโซ่การผลิตในประเทศชะลอตัวลง

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2565

 

อ่านต่อ:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH