ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 3/2563
กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 3/2563 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 8.3 ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งยังคงมาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 3/2563 อาทิ การผลิตรถยนต์ภาวะการผลิตลดลงจากสินค้าเกือบทุกรายการสินค้า ยกเว้นรถยนต์นั่งขนาดใหญ่ รถตรวจการณ์ ปัจจัยหลักมาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ตลาดส่งออกรถยนต์ปรับลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าได้รับผลกระทบอย่างมากและฟื้นตัวได้อย่างช้า ๆ รวมถึงตลาดในประเทศปรับตัวลดลงเช่นกัน การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม การผลิตลดลง เนื่องจากการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศและส่งออกในปีนี้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลงไป โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว ทำให้การขนส่งเดินทางของผู้คนทั้งที่เป็นการเดินทางระหว่างประเทศและในประเทศลดลง การผลิตน้ำตาล ลดลงเนื่องจากปีนี้ปิดหีบการผลิตเร็วกวาปี่กอน จากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และพื้นที่ปลูกอ้อยลดลง
อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 3/2563 อาทิ การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้า (ยกเว้นพัดลมตามบ้าน) จากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศ ที่ผ่อนคลายลงรวมถึงปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบคลี่คลายลงเช่นกัน อีกทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป มีความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีนวัตกรรมเพิ่มขึ้น การผลิตเภสัชภัณฑ์ และเคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นทุกรายการสินค้าจากสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องมีการผลิตยาสำรองไว้ให้เพียงพอต่อการรักษา
ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 GDP หดตัวร้อยละ 6.4 โดยหดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.6 และปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่หดตัวร้อยละ 12.1
ผลผลิตมวลรวมของภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 เป็นการหดตัวต่อเนื่องนาน 5 ไตรมาสแต่ก็ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าจากปัจจัยสนับสนุนด้านการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐสองผลให้กิจกรรมการผลิตสินค้าและบริการกลับมาดำเนินการผลิตได้ รวมทั้งการส่งออกสินค้าเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น
GDP ภาคอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ของปี 2563หดตัวร้อยละ 5.3 ปรับตัวดีขึ้นอย่างมากจากไตรมาสที่ผ่านมา หดตัวร้อยละ 14.6 และชะลอตัวลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่หดตัวร้อยละ 0.8 เป็นการปรับตัวดีขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมตามความต้องการใช้ในประเทศทั้งด้านการอุปโภคบริโภคและการผลิตสินค้าต่อเนื่อง ตลอดจนการส่งออกสินค้าที่มีทิศทางดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีอุตสาหกรรมที่สําคัญ
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 อยู่ที่ระดับ 91.22 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (80.21) ร้อยละ 13.7 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (99.48) ร้อยละ 8.3 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม และการผลิตน้ำตาล เป็นต้น
ดัชนีการส่งสินค้า ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 93.72 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (82.19) ร้อยละ 14.0 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (101.59) ร้อยละ 7.8 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง การผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์การผลิตน้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม เป็นต้น
ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 118.60 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (127.32) ร้อยละ 6.90 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562(134.58) ร้อยละ 11.9 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตน้ำตาล และการผลิตจักรยานยนต์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การต้ม การกลั่น และการผสมสุรา การผลิตน้ำตาล เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 60.50 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 52.89) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (ร้อยละ 64.78) อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตยางนอกและยางใน การหล่อดอกยางและการซ่อมสร้างยาง และการผลิตมอลต์และสุราที่ทำจากข้าวมอลต์ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตจักรยานยนต์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 87.40 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (78.10) และลดลงจากไตรมาสเดียวกัน
ของปี 2562 (92.80) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 90.10 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 (102.87) ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการปรับตัวเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2563 มาจากการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์เพื่อควบคุมโรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศของรัฐบาล ทำให้กิจการต่าง ๆ กลับมาดำเนินการได้มากขึ้นกว่าช่วงล็อกดาวน์ นอกจากนี้รัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยเหลือ SMEs เช่น โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและบริโภคในประเทศ
อ่านต่อ: