อาเซียนฟื้นตัว ดันยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น ส.ค. 63 ปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นไทย คาดตลาดเครื่องญี่ปุ่นทั่วโลกปีนี้ หดตัว 30.9%

อาเซียนฟื้นตัว ดันยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น ส.ค. 63 ปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นไทย คาดตลาดเครื่องญี่ปุ่นทั่วโลกปีนี้ หดตัว 30.9%

อัปเดตล่าสุด 9 ต.ค. 2563
  • Share :
  • 421 Reads   

ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 2020 ทั่วโลกมีมูลค่ารวม 641 ล้านเหรียญ ลดลง 23.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จีนมีการฟื้นตัวโดดเด่นดันยอดรวมของภูมิภาคเอเชียฟื้นต่อเนื่องเดือนที่ 2 สำหรับอาเซียนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกประเทศยกเว้นไทย 

รายงานจาก Japan Machine Tool Builder’s Association (JMTBA) เผย ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล (Machine Tools) เดือนสิงหาคม 2020 มีมูลค่ารวม 67,980 ล้านเยน (641 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลง 23.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่า 70,000 ล้านเยนต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 อย่างไรก็ตาม ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนสิงหาคมมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้จะยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการระบาดระลอกสองและสภาวะเศรษฐกิจก็ตาม

ยอดการสั่งซื้อภายในประเทศญี่ปุ่น ปิดที่ 23,070 ล้านเยน ลดลง 38.5% ซึ่งเป็นการลดตำกว่าปีก่อนหน้าต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 21 โดยเป็นผลจากการชะลอคำสั่งซื้อ อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2020 พบว่าอุตสาหกรรมยานยนต์พลิกกลับมาทำยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นได้สำเร็จที่ 1.1% ในขณะที่ยอดสั่งซื้อจากกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องจักรลดลงเพียง 4.2% เท่านั้น

ยอดการสั่งซื้อจากนอกประเทศญี่ปุ่น ปิดที่ 44,910 ล้านเยน ลดลงจากปีก่อน 11.8% โดยในภูมิภาคเป้าหมายหลัก มีรายละเอียด ดังนี้

  • เอเชีย ปิดที่ 23,090 ล้านเยน เพิ่มขึ้น 11.5%
  • ยุโรป ปิดที่ 6,070 ล้านเยน ลดลง 46.0%
  • อเมริกาเหนือ ปิดที่ 14,910 ล้านเยน ลดลง 16.7% 

ซึ่งในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ JMBTA รายงานว่า ยอดสั่งซื้อจากจีนมีการฟื้นตัวอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และ Precision Part ซึ่งมากพอจะผลักดันให้ยอดสั่งซื้อรวมในภูมิภาคเอเชียฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 โดย Mr. Yukio Iimura ประธานสมาคม JMTBA รายงานว่า แนวโน้มการฟื้นตัวของตลาดจีนยังมีความมั่นคง 

สำหรับภูมิภาคอาเซียน ยอดสั่งซื้อ Machine Tool ญี่ปุ่น ในเดือนสิงหาคมนี้ มีมูลค่า 3,864 ล้านเยน เติบโต 36.2% จากเดือนก่อนหน้า และมีตัวเลขยอดสั่งเพิ่มขึ้นทุกประเทศยกเว้นประเทศไทย ซึ่งมียอดสั่งซื้อมูลค่า 722 ล้านเยน หรือราว 6.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากเดือนกรกฏาคม 27.1% และน้อยกว่าเดือนเดียวกันในปีก่อนหน้าถึงเกือบครึ่ง

นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ได้ปรับลดประมาณการยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นทั่วโลกในปีงบประมาณ 2020 ซึ่งเดิมคาดว่าจะปิดที่ 1.2 ล้านล้านเยน เหลือเพียง 8.5 แสนล้านเยน (8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงจากปี 2019 ถึง 30.9% สืบเนื่องจากโควิด และสงครามการค้าอีกด้วย

 

อ่านต่อ