ยอดผลิตหุ่นยนต์ญี่ปุ่น Q3/2022 ทุบสถิติ New High
ยอดผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมญี่ปุ่นในไตรมาสที่ 3 ทำสถิติใหม่มูลค่าสูงสุด 223,100 ล้านเยน หรือราว 1,513 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 9.2% ขณะที่ยอดสั่งซื้อยังโตต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์
สมาคมหุ่นยนต์ญี่ปุ่น (JARA) เปิดเผยรายงานประจำไตรมาสที่ 3 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2022 ระบุยอดผลิตหุ่นยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 63,682 ยูนิต เพิ่มขึ้น 12.6% จากปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่ารวม 223,100 ล้านเยน หรือราว 1,513 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.2% ซึ่งเป็นไตรมาสที่มีมูลค่ายอดผลิตหุ่นยนต์สูงสุดนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ สืบจากความต้องการระบบอัตโนมัติที่เติบโตท่ามกล่างวิกฤต
สำหรับรายงานยอดสั่งซื้อหุ่นยนในไตรมาสนี้มีจำนวนรวม 68,315 ยูนิต เพิ่มขึ้น 5.9% จากปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่ารวม 236,100 ล้านเยน หรือราว 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.7%
Advertisement | |
JARA เปิดเผยว่า การสั่งซื้อหุ่นยนต์ภายในประเทศญี่ปุ่นจากอุุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มเกิดการชะลอตัว แต่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟ้ายังคงมีความต้องการเติบโตอย่างมั่นคง
ด้านการใช้งานที่มีการสั่งซื้อหุ่นยนต์เติบโตมากที่สุดประจำไตรมาสสามคือ การนำหุ่นยนต์ไปใช้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน เครื่องจักรกลไฟฟ้าสำหรับภาคอุตสาหกรรม (Industrial Electrical Machinery) อุปกรณ์ภาพและเสียง และแผงวงจร
ส่วนยอดสั่งซื้อจากต่างประเทศนั้น แม้ออร์เดอร์จากจีนจะลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงเติบโตได้ในภาพรวม ซึ่งยอดสั่งซื้อส่วนมากเป็นหุ่นยนต์สำหรับงานแมชชีนนิ่ง เซมิคอนดักเตอร์ จอแสดงผลแบบแบน (Flat-panel display: FPD)
JARA คาดการณ์ว่า แม้สถานการณ์โลกจะยังคงได้รับผลกระทบจากโควิด ความขัดแย้งทางการเมือง และปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ แต่ความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากความแพร่หลายของระบบอัตโนมัติที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องเฝ้าระวังแนวโน้มหลังจากนี้เช่นเดียวกัน
#หุ่นยนต์อุตสาหกรรม #หุ่นยนต์ #ญี่ปุ่น #Mreport #onlinecontent #ข่าวอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH