ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น 2564 เดือน ก.ค. โตต่อเนื่อง สูงสุดรอบ 28 เดือน แต่ปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนเริ่มกระทบ
♦ ในเดือนกรกฎาคม 2564 ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นจากทั่วโลก ปิดที่ 1,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โตพุ่ง 93.4%
♦ ผู้ผลิตเครื่องจักรเริ่มประสบปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน คาดอาจเป็นปัญหาระยะยาว
Advertisement | |
สมาคมเครื่องจักรกลญี่ปุ่น (JMTBA) รายงานการสั่งซื้อเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นจากทั่วโลก เดือนกรกฎาคม 2021 มีมูลค่ารวม 1,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น เดือนกรกฎาคม 2021 มีมูลค่ารวม 134,983 ล้านเยน หรือคิดเป็น 1,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.2% จากเดือนก่อนหน้า และเพิ่มขึ้น 93.4% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการเติบโตต่อเนื่องเดือนที่ 9 อีกทั้งเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 28 เดือน
อย่างไรก็ตาม ในเดือนกรกฎาคม 2021 พบว่าสถานการณ์ทางด้านซัพพลายเชนรุนแรงยิ่งขึ้น ผู้ผลิตหลายรายเริ่มประสบปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในเครื่องจักรกล, สวิทซ์, ชิปเซมิคอนดักเตอร์, และขั้วต่อสายไฟ อีกทั้งสถานการณ์การขึ้นราคาวัตถุดิบเริ่มส่งผลให้ชิ้นส่วนที่ผลิตจาก Sheet Metal ลดปริมาณการผลิตลงอีกด้วย ซึ่งหากสถานการณ์แย่ลงไปอีก ทางสมาคมคาดการณ์ว่าจะกลายเป็นปัญหาต่ออุตสาหกรรมเครื่องจักรกลในระยะยาวอย่างแน่นอน
ยอดการสั่งซื้อจากในประเทศญี่ปุ่น เดือนกรกฎาคม 2021 ปิดที่ 45,385 ล้านเยน หรือคิดเป็น 414 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 82.9% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 โดยมีอุตสาหกรรมยานยนต์สั่งซื้อเพิ่มขึ้น 71.5% อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า อุตสาหกรรมอากาศยานเพิ่มขึ้น 20.8% และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เพิ่มขึ้น 61.6% และในเดือนนี้ มีจุดที่น่าสนใจคือ SMEs มีการสั่งซื้อเครื่องจักรเป็นจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ของมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามลำดับ
ยอดการสั่งซื้อจากต่างประเทศ เดือนกรกฎาคม 2021 ปิดที่ 89,580 ล้านเยน หรือคิดเป็น 816 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อน 99.2% และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 โดยในแต่ละภูมิภาค มียอดสั่งซื้อ ดังนี้
- เอเชีย ยอดสั่งซื้อ 42,149 ล้านเยน หรือราว 384 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 75.5% จากเดือนกรกฎาคม 2020
- ยุโรป ยอดสั่งซื้อ 21,879 ล้านเยน หรือราว 199 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.8 เท่า จากเดือนกรกฎาคม 2020
- อเมริกาเหนือ ยอดสั่งซื้อ 23,909 ล้านเยน หรือราว 218 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 94.5% จากเดือนกรกฎาคม 2020
- อเมริกาใต้ ยอดสั่งซื้อ 907 ล้านเยน หรือราว 8.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 896.7% จากเดือนกรกฎาคม 2020
- โอเชียเนีย ยอดสั่งซื้อ 572 ล้านเยน หรือราว 5.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.5% จากเดือนกรกฎาคม 2020
หากท่านต้องการรับข้อมูล ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นของประเทศไทย ในเดือนกรกฎาคม 2564 โปรดคลิก
อ่านต่อ
- ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น มิ.ย. 64
- ไทยทำเซอร์ไพร์ส! สั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น พ.ค. 64 สูงสุดในอาเซียน
-
ส.เครื่องจักรกลยุโรป เห็นแสงสว่างปลายอุโมง มั่นใจ EMO MILANO 2021 จัด ต.ค. นี้ สำเร็จแน่นอน
#ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล #สั่งซื้อเครื่องจักร #เครื่องจักรกล #เครื่องจักรกลญี่ปุ่น #เครื่อง cnc #เครื่องกลึง #เครื่องเจียร #เครื่องกัด 3 แกน #แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ #เครื่องกัด 5 แกน cnc #เครื่องจักร#เครื่องจักรญี่ปุ่น #เครื่องญี่ปุ่น #ลงทุนเครื่องจักร #อุตสาหกรรมการผลิต #อุตสาหกรรมโลหะการ #ตัดเฉือนโลหะ #Metalworking #ผลิตชิ้นส่วน #ผลิตแม่พิมพ์ #Machine Tools #Machine Tool #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมเครื่องจักร #อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล #ข่าวเครื่องจักร #ค้นหาสินค้าอุตสาหกรรม
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH