ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล 7 แบรนด์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่น ประจำปี 2022

ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล 7 แบรนด์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่น ประจำปี 2022

อัปเดตล่าสุด 31 ม.ค. 2566
  • Share :

ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นจาก 7 ผู้ผลิตแบรนด์หลัก ประจำปี 2022 ปิดที่ 4,103 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 21.6% จากปีก่อนหน้าและเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ด้าน Makino, Tsugami, และ Okuma ทำสถิติใหม่

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2023 Nikkan Kogyo Shimbun รายงานสรุปตัวเลขยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นจาก 7 ผู้ผลิตแบรนด์หลัก ประจำปี 2022 โดยมียอดสั่งซื้อรวมอยู่ที่ 535,308 ล้านเยน หรือราว 4,103 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 21.6% จากปีก่อนหน้า โดยเพิ่มขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ และเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องปีที่ 2 

แม้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรได้ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับครึ่งปีแรกเนื่องจากการขาดแคลนชิ้นส่วนและภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม ความต้องการเครื่องจักรกลญี่ปุ่นจากจีนและยุโรปยังมั่นคงตลอดปีที่ผ่านมา

ผู้ผลิตแบรนด์หลักได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเภทยกเว้น Shibaura Machine เท่านั้นที่มีคำสั่งซื้อลดลง และมี 3 บริษัทที่ทำสถิติใหม่ได้สำเร็จ ได้แก่ Makino มียอดสั่งซื้อและยอดส่งออกสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท, Tsugami มียอดสั่งซื้อสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท, และ Okuma มียอดส่งออกสูงสุดนับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท

Advertisement

ฝ่ายขายของ Okuma เผยว่า การสั่งซื้อเครื่องจักรในยุโรป สหรัฐฯ และจีน ส่วนใหญ่มาจากอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า ในขณะที่ยอดสั่งซื้อจากในประเทศญี่ปุ่นมาจากอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2022 ที่ผ่านมา การลงทุนด้านซัพพลายเชนของบริษัทเริ่มมีผลลัพธ์ที่เด่นชัด

Shibaura Machine นั้น แม้ในปี 2022 จะมียอดสั่งซื้อลดลง แต่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของบริษัทเผยว่าในปี 2023 สามารถคาดหวังกับความต้องการ Machine Tools ขนาดใหญ่ได้ เนื่องจากความต้องการนำไปใช้ในการผลิตกังหันลมในจีน กังหันก๊าซในสหรัฐฯ และแม่พิมพ์ขนาดใหญ่สำหรับชิ้นส่วนรถอีวี

สำหรับยอดสั่งซื้อประจำเดือนธันวาคม 2022 ปิดที่ 44,278 ล้านเยน หรือราว 339 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 25 อย่างไรก็ตาม ยอดสั่งซื้อจากในประเทศญี่ปุ่นลดลงต่อเนื่องเดือนที่ 2 สะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนที่ชะลอตัวจากความไม่แน่นอนหลายด้าน

ทางด้าน Makino นั้น แม้ว่าจะทำสถิติใหม่ของบริษัทได้สำเร็จทั้งยอดสั่งซื้อและยอดส่งออก แต่สำนักงานส่งเสริมความยั่งยืนของบริษัทเผยว่า ความต้องการเครื่องจักรกลจากจีนกำลังลดลงอย่างต่อเนื่องและรุนแรง
Nidec OKK ระบุ ปัจจุบันความต้องการเครื่องจักรกลในประเทศญี่ปุ่นกำลังลดลง ขณะที่สหรัฐฯ ก็มีการชะลอการสั่งซื้อออกไป

ในทางกลับกัน JTEKT รายงานว่า ภาพรวมของความต้องการเครื่องจักรกลในประเทศญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัว ยกเว้นความต้องการจากผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่ลดลงสวนทาง

ทางด้าน Tsugami เผยว่า บริษัทมียอดส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 2022 ซึ่งฝ่ายบริหารของบริษัทคาดการณ์ว่า ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลจากจีนจะเริ่มฟื้นตัวหลังเดือนกุมภาพันธ์ 2023 เป็นต้นไป

ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล 7 แบรนด์ใหญ่ค่ายญี่ปุ่น ประจำปี 2022

 

ที่มา: Nikkan Kogyo Shimbun

 

#ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล #สั่งซื้อเครื่องจักร #เครื่องจักรญี่ปุ่น #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH