ไทยทำเซอร์ไพร์ส! สั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น พ.ค. 64 สูงสุดในอาเซียน
♦ ในเดือนพฤษภาคม 2564 ไทยสั่งซื้อเครื่องจักรกลจากญี่ปุ่นสูงที่สุดในอาเซียน มูลค่ารวม 16.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 505.2% และเป็นตัวเลขสูงกว่าก่อนการระบาดของโควิด
♦ ขณะที่ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นจากทั่วโลก ปิดที่ 1,121 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โตพุ่ง 141.9%
Advertisement | |
สมาคมเครื่องจักรกลญี่ปุ่น (JMTBA) รายงายการสั่งซื้อเครื่องจักรกลของญี่ปุ่นจากทั่วโลกเดือนพฤษภาคม 2021 มีมูลค่ารวม 1,121 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม 2021 มีมูลค่ารวม 123,940 ล้านเยน หรือคิดเป็น 1,121 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ชะลอตัวจากเดือนเมษายน 2021 เล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้น 141.9% เท่าจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และเป็นการเติบโตต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 สะท้อนให้เห็นถึงการฟื้นตัวที่คาดการณ์ว่ามีทิศทางดีขึ้นอีกในอนาคต
ยอดการสั่งซื้อจากในประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม 2021 ปิดที่ 33,220 ล้านเยน เพิ่มขึ้น 82.6% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยมีอุตสาหกรรมยานยนต์สั่งซื้อเพิ่มขึ้น 29.9% อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น 21.8% อุตสาหกรรมอากาศยานลดลง 2.9% และอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล ลดลง 4.4%
ยอดการสั่งซื้อจากนอกประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม 2021 ปิดที่ 90,710 ล้านเยน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีก่อน 174.5% และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยในแต่ละภูมิภาค มียอดสั่งซื้อ ดังนี้
Advertisement | |
- เอเชีย ยอดสั่งซื้อ 50,440 ล้านเยน หรือราว 456 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 170.2% จากเดือนพฤษภาคม 2020
- ยุโรป ยอดสั่งซื้อ 17,060 ล้านเยน หรือราว 154 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 281.4% จากเดือนพฤษภาคม 2020
- อเมริกาเหนือ ยอดสั่งซื้อ 22,030 ล้านเยน หรือราว 199 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 134.4% จากเดือนพฤษภาคม 2020
- อเมริกาใต้ ยอดสั่งซื้อ 463 ล้านเยน หรือราว 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 215.0% จากเดือนพฤษภาคม 2020
- โอเชียเนีย ยอดสั่งซื้อ 615 ล้านเยน หรือราว 5.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 104.2% จากเดือนพฤษภาคม 2020
- ไทย ยอดสั่งซื้อ 1,858 ล้านเยน หรือราว 16.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 505.2% จากเดือนพฤษภาคม 2020 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน อีกทั้งยังเป็นตัวเลขที่สูงกว่าก่อนหน้าการระบาดของโควิด ซึ่งอยู่ที่ 1,669 ล้านเยน หรือราว 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2019 อีกด้วย
อ่านต่อ
- ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่น เม.ย. 64 ดีต่อเนื่องเดือนที่ 6 ส่งออกโต รับยานยนต์-แม่พิมพ์-อิเล็กทรอนิกส์
#ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล #สั่งซื้อเครื่องจักร #เครื่องจักรกล #เครื่อง cnc #เครื่องกลึง #เครื่องเจียร #แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ #เครื่องกัด 3 แกน #เครื่องกัด 5 แกน cnc #เครื่องจักร #เครื่องจักรกลญี่ปุ่น #เครื่องจักรญี่ปุ่น #เครื่องญี่ปุ่น #ลงทุนเครื่องจักร #อุตสาหกรรมการผลิต #อุตสาหกรรมโลหะการ #ตัดเฉือนโลหะ #Metalworking #ผลิตชิ้นส่วน #ผลิตแม่พิมพ์ #Machine Tools #Machine Tool #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมเครื่องจักร #อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล #ข่าวเครื่องจักร
วิกฤตชิปขาดตลาด
-
ตามติด “วิกฤตชิปขาดตลาด” ใครได้ ใครเสีย
-
วิกฤตขาดแคลนชิป ปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจมองข้าม?
-
ซ้ำเติม “วิกฤตชิปขาดตลาด” คาดกระทบ 1.3 ล้านคันทั่วโลก
-
สองผู้นำ ญี่ปุ่น-สหรัฐฯ เปรย สร้างฐานการผลิตชิปใหม่ "ลด" พึ่งพาไต้หวัน-เสี่ยงการเมืองจีน
-
ชิปขาดตลาด กระทบการผลิตรถยนต์เดือน เม.ย.64 ลดเหลือ 1 แสนคัน
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- นิยามใหม่ SME ปี 63 ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- 8 แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต (8 Industry’s Mega Trend)
- 10 รับเหมาฝ่าวิกฤตโกยรายได้ปี”62 ITD ยืนหนึ่ง “ซิโน-ไทยฯ” แซงหน้า “ช.การช่าง”
- บอร์กวอร์เนอร์ (BorgWarner) ฉลองเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- เซ็นแล้ว! 'อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก' เฟสแรกเสร็จปี 67
- ยอดขายรถยนต์เมษายน 2564
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH