ลงทุนทั่วโลกฟื้น ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล 7 แบรนด์ใหญ่ ค่ายญี่ปุ่น ปีงบฯ 2021 สูงสุดรอบ 3 ปี
ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล 7 ผู้ผลิตรายใหญ่บริษัทญี่ปุ่นปิดที่ 3,812 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 76.7% เติบโตสูงสุดครั้งแรกในรอบ 3 ปี รับลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า - ชิปเซมิคอนดักเตอร์
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2022 Nikkan Kogyo Shimbun รายงานสรุปตัวเลขยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นจาก 7 ผู้ผลิตแบรนด์หลัก ประจำปีงบประมาณ 2021 (1 เมษายน 2021 - 31 มีนาคม 2022) โดยมียอดสั่งซื้อรวมอยู่ที่ 482,650 ล้านเยน หรือราว 3,812 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 76.7% จากปีก่อนหน้า และเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 ปึ
Advertisement | |
ในปีงบประมาณ 2021 ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ สะท้อนให้เห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั่วโลก โดยมีปัจจัยหลักจากการลงทุนหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ การทดแทนแรงงาน และ Digital Transformation ในหลายภูมิภาค โดยเฉพาะในอเมริกา ยุโรป เอเชีย รวมถึงในญี่ปุ่นเองด้วย
อุตสาหกรรมที่มีการสั่งซื้อเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด คือ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และ อุตสาหกรรมยานยนต์
Tsugami ผู้ผลิตเครื่องจักรกลญี่ปุ่นที่มีลูกค้าจำนวนมากในจีน เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอากาศยาน อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และอุตสาหกรรม IT ในจีนมีการสั่งซื้อเครื่องจักรญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
ทางด้าน Okuma เปิดเผยว่า ตลาดสหรัฐฯ มีแนวทางที่คล้ายคลีงกัน โดยมีการสั่งซื้อเครื่องจักรกลญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมอากาศยานในเกณฑ์สูงกว่ามาตรฐาน
ส่วน Makino รายงานว่า ยอดการสั่งซื้อเครื่องจักรกลสำหรับผลิตแม่พิมพ์ในญี่ปุ่นก็อยู่ระหว่างการฟื้นตัวเช่นเดียวกัน และคาดการณ์ว่ายอดสั่งซื้อเครื่องจักรญี่ปุ่นในภาพรวมจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือ Okuma รายงานถึงความต้องการเครื่องจักรกลที่มีความแม่นยำสูงเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในไต้หวันและในจีน ซึ่งมีการสั่งซื้อเครื่องที่มีความแม่นยำสูงกว่าไปแทนที่เครื่องเก่า
ทางด้าน JTEKT เสริมว่า นโยบายรถยนต์พลังงานใหม่ หรือ NEV (New Energy Vehicles) ในจีน เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ผลิตต้องการเครื่องจักรที่แม่นยำกว่าเดิม
โดยในปีงบประมาณ 2021 ที่สิ้นสุดไปนั้น ทุกบริษัทมียอดเพิ่มขึ้น โดยมีเพียง Shibaura Machine เท่านั้นที่ทำยอดลดลงในเดือนมีนาคม 2022 อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทยืนยันว่าในเดือนเมษายนนี้ได้รับการติดต่อจากหลายบริษัท และสถานการณ์ในภาพรวมยังคงเป็นบวก
#ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกล #สั่งซื้อเครื่องจักร #เครื่องจักรกล #เครื่องจักรกลญี่ปุ่น #makino #okuma #okk #Shibaura Machine #JTEKT #Tsugami #NIdec #เครื่อง cnc #เครื่องกลึง #เครื่องเจียร #เครื่องกัด 3 แกน #แมชชีนนิ่งเซ็นเตอร์ #เครื่องกัด 5 แกน cnc #เครื่องจักร #เครื่องจักรญี่ปุ่น #เครื่องญี่ปุ่น #ลงทุนเครื่องจักร #อุตสาหกรรมการผลิต #อุตสาหกรรมโลหะการ #ตัดเฉือนโลหะ #แปรรูปโลหะ #Metalworking #ผลิตชิ้นส่วน #ผลิตแม่พิมพ์ #Machine Tools #Machine Tool #M Report #mreportth #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมเครื่องจักร #อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล #ข่าวเครื่องจักร
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH