หุ่นยนต์อุตสาหกรรม 2020 แข็งแกร่ง โตสวนวิกฤต
ในปี 2020 แม้ทั่วโลกตกอยู่ในภาวะบอบช้ำจากสถานการณ์โควิด แต่กลับเป็นอีกปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดขายหุ่นยนต์ในช่วง 5 ปีนี้จะเติบโตเฉลี่ย 6% ต่อปี
Advertisement | |
“รายงานหุ่นยนต์อุตสาหกรรม World Robotics 2021” จัดทำโดย International Federation of Robotics (IFR) เผยแพร่เมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา แสดงข้อมูลสถิติหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกในปี 2020 ไว้ดังนี้
ในปี 2020 โรงงานต่าง ๆ ทั่วโลกมีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมปฏิบัติงานอยู่ทั้งหมด 3 ล้านตัว เพิ่มขึ้น 10% จากปีก่อนหน้า ขณะที่ยอดขายหุ่นยนต์ใหม่เติบโตเล็กน้อยที่ 0.5% แม้จะมีการแพร่ระบาดของโควิดไปทั่วโลก โดยหุ่นยนต์ 384,000 ตัวส่งออกไปทั่วโลก ซึ่งเป็นผลจากการเติบโตของตลาดจีน ชดเชยการหดตัวของตลาดอื่น ๆ ทำให้ปี 2020 เป็นอีกปีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดเป็นอันดับสามในประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์รองจากปี 2018 และ 2017
Milton Guerry ประธาน IFR รายงานว่า ในปี 2020 ที่ผ่านมา แต่ละภูมิภาคไม่ว่าจะเป็นอเมริกาเหนือ เอเชีย และยุโรป ต่างได้รับผลกระทบจากโควิด แต่มีช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำไม่ตรงกัน ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตจีนได้เริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ในขณะที่อเมริกาฟื้นตัวช่วงครึ่งหลังของปี ตามด้วยยุโรปที่ล่าช้ากว่าเล็กน้อย
“คาดการณ์ว่าในปี 2021 นี้ ทั่วโลกจะมียอดติดตั้งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมใหม่อยู่ที่ 435,000 ตัว ซึ่งเพิ่มสูงกว่าช่วงพีคสุดในปี 2018 ”
โดยคาดว่า ความต้องการหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกจะเริ่มปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติในช่วงปี 2022 หลังผ่านพ้นช่วงเร่งลงทุน ทำให้ในช่วงปี 2021 - 2024 จะมีการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6% ต่อปี หรือจำนวนเฉลี่ย 500,000 ตัว
อัปเดตสถานการณ์ “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ในแต่ละภูมิภาค
เอเชีย
เอเชียยังคงเป็นตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุด โดยในปี 2020 ยอดขายหุ่นยนต์ใหม่ 71% อยู่ที่โรงงานในภูมิภาคเอเชีย เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ซึ่งมีสัดส่วนยอดขาย 67% จากทั่วโลก
คาดการณ์ว่าปี 2021 นี้จะมีการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่เพิ่มกว่า 300,000 ตัว และในกลุ่มประเทศอาเซ๊ยนจะมีการเติบโตมากถึง 2 หลัก
ยุโรป
ภูมิภาคยุโรปมีการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่ 67,700 เครื่อง ลดลง 8% จากปีก่อนหน้า และลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยมีความต้องการจากอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลง 20% แต่ในอุตสาหกรรมทั่วไปเพิ่มขึ้น 14% โดยในปี 2021 จะมีการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่ 73,000 เครื่อง เพิ่มขึ้น 8% จากปีก่อนหน้า
อเมริกาเหนือ
ภูมิภาคอเมริกาเหนือถูกคาดการณ์ว่า ในปี 2021 จะมีการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่ 43,000 เครื่อง เพิ่มขึ้น 17% โดยตลาดจะฟื้นตัวกลับไปเทียบเท่าก่อนโควิดได้ภายในปี 2021 นี้ และมีแนวโน้มจะโตต่อเนื่องในปี 2022
อัปเดตสถานการณ์ “หุ่นยนต์อุตสาหกรรม” ในประเทศหลัก
1. จีน
จีนเป็นผู้ใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรายใหญ่อันดับหนึ่งของโลก มีการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่เพิ่มถึง 168,400 ตัวในปี 2020 ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุด และมีการใช้งานหุ่นยนต์อยู่ที่ 943,223 ตัว เพิ่มขึ้น 21% จากปีก่อนหน้า และคาดว่าจะทะลุ 1 ล้านตัวในปี 2021 นี้
2. ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่น ผู้ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมอันดับ 2 รองจากจีน โดยในปี 2020 ญี่ปุ่นได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิดอย่างรุนแรง ทำให้ยอดติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่ลดลง 23% รวม 38,653 ตัว ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องปีที่ 2 นับจากช่วงพีคในปี 2018 ซึ่งมีหุ่นยนต์ใหม่รวม 55,240 ตัว นอกจากนี้ ยังพบว่าความต้องการหุ่นยนต์จากอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ลดต่ำลง โดยในปี 2020 ญี่ปุ่นมีการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรวม 374,000 ตัว เพิ่มขึ้น 5% จากปีก่อนหน้า
3. สหรัฐอเมริกา
ตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในสหรัฐฯ ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในปี 2020 มีการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่ 30,800 ตัว ลดลง 8% จากปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องปีที่ 2 หลังเติบโตมาตลอด 8 ปี โดยในปีที่ผ่านมา สหรัฐฯ มีความต้องการหุ่นยนต์จากอุตสาหกรรมยานยนต์ลดลงถึง 19% ซึ่งสวนทางกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความต้องการหุ่นยนต์เพิ่มขึ้น 7%
4. เกาหลีใต้
เกาหลีใต้ ตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมอันดับ 4 ของโลก ในปี 2020 เกาหลีใต้มียอดติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่ 30,506 ตัว ลดลง 7% และมีการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรวม 342,983 ตัว เพิ่มขึ้น 6% จากปีก่อนหน้า
5. เยอรมนี
ตลาดหุ่นยนต์อุตสาหกรรมอันดับ 5 ของโลกอยู่ที่เยอรมนี ในปี 2020 เยอรมนีมีการติดตั้งหุ่นยนต์ใหม่ 22,300 ตัว ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ และมีสัดส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากถึง 33% ของยุโรป โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คาดการณ์ว่าความต้องการหุ่นยนต์ในเยอรมนีจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องทีละเล็กน้อยจากอุตสาหกรรมนอกกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตที่เริ่มมีความต้องการหุ่นยนต์ราคาถูก
อ่านต่อ
- ตัวเลขสถิติหุ่นยนต์อุตสาหกรรมปี 2019
- อัปเดตล่าสุด 6 ประเทศหลัก ลงทุน R&D อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
- หลายประเทศเอาจริง ยก “หุ่นยนต์” เป็น “อุตสาหกรรมเป้าหมาย”
#หุุ่นยนต์ #หุ่นยนต์อุตสาหกรรม #โรบอท #Robot #ความต้องการหุ่นยนต์หลังโควิด #ลงทุนหุ่นยนต์ #ลงทุนโรบอท #Robots #Cobot #Cobots #อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ #ข่าวอุตสาหกรรม #Mreport #วงในอุตสาหกรรม #ข่าวอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ #เอ็มรีพอร์ต
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH