ยอดสั่งซื้อ Machine Tools เยอรมัน ไตรมาสที่ 3/2022 โต 9% แม้มีปัจจัยลบ
ยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลเยอรมันไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 เติบโต 9% ท่ามกลางปัจจัยลบ ตัวเลขในช่วง 9 เดือนแรกเพิ่มขึ้น 26% จากความต้องการทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม คาดไตรมาสสุดท้ายความต้องการชะลอตัวเด่นชัด
Advertisement | |
เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2022 สมาคมผู้ผลิตเครื่องจักรกลแห่งเยอรมนี หรือ VDW รายงานยอดสั่งซื้อเครื่องจักรกลเยอรมันในไตรมาสที่ 3 ปี 2022 เพิ่มขึ้น 9% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยยอดสั่งซื้อจากในประเทศเพิ่มขึ้น 3% และยอดจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น 12%
Dr. Wilfried Schäfer กรรมการผู้จัดการ VDW เปิดเผยว่า ปัจจุบันยอดสั่งซื้อยังดำเนินไปได้ด้วยดี แม้ว่าจะเต็มไปด้วยปัจจัยลบ การเติบโตชะลอตัวอย่างชัดเจนแต่ทั้งเดือนกันยายนและไตรมาสสามโดยรวมก็ยังเพิ่มขึ้น
จากราคาผู้ผลิตในอุตสาหกรรม Machine Tools ในไตรมาสที่ 3 เพิ่มขึ้นถึง 8% ทำให้รายได้หยุดชะงักตามการปรับราคา ภาวะเงินเฟ้อกำลังชะลอการเติบโต
นอกจากนี้ การใช้กำลังการผลิตในเดือนตุลาคมยังเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 90% อีกทั้งยอดขายเครื่องจักรกลที่เพิ่มขึ้นถึง 10 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 9 เดือนแรกแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์การขาดแคลนชิ้นส่วนได้คลี่คลายลงบ้าง
ในช่วงสามไตรมาสที่ผ่านมา เครื่องจักรสำหรับงานตัดเฉือนมีการเติบโตมากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลจากการลงทุนในประเทศเยอรมนี ในขณะที่เครื่องจักรสำหรับงานขึ้นรูปเติบโตเพียง 2% เท่านั้น
คาดการณ์ว่า ในไตรมาสที่ 4 ความต้องการ Machine Tools จะชะลอตัวลงอย่างเด่นชัด โดยเฉพาะในเยอรมนีและอียู สืบเนื่องจากวิกฤตพลังงาน ในขณะที่เอเชียและอเมริกาจะมียอดสั่งซื้อที่มั่นคงเนื่องจากเป็นภูมิภาคที่ไม่ประสบปัญหาด้านพลังงานมากนัก
#Investment #ยอดสั่งซื้อเครื่องจักร #Germany #MReport #mreportth #ข่าวอุตสาหกรรม #onlinecontent
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH