ยอดสั่งซื้อหุ่นยนต์ค่ายญี่ปุ่นปี 2022

ยอดสั่งซื้อหุ่นยนต์ค่ายญี่ปุ่นปี 2022 โตเทียบเท่าปีก่อนหน้า

อัปเดตล่าสุด 13 มิ.ย. 2566
  • Share :
  • 39,316 Reads   

หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเติบโต ญี่ปุ่นยังรักษายอดสั่งซื้อและยอดผลิตสูงสุดต่อเนื่องในปี 2022 แม้ยังมีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์ระหว่างประเทศ การขาดแคลนชิ้นส่วน และอีกหลายปัญหาที่ยื้ดเยื้อ

Advertisement

วันที่ 12 มิถุนายน 2023 สมาคมหุ่นยนต์ญี่ปุ่น (JARA) รายงานยอดสั่งซื้อหุ่นยนต์อุตสาหกรรมปี 2022 รวมจำนวน 299,093 ตัว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเพียง 58 ตัวเท่านั้น และคิดเป็นมูลค่ารวม 1,111,776 ล้านเยน (7,955 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 3.1% ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 

สำหรับยอดผลิตหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นในปี 2022 มีจำนวนทั้งสิ้น 280,051 ตัว เพิ่มขึ้น 9.1% จากปีก่อนหน้า คิดเป็นมูลค่ารวม  1,020,971  ล้านเยน (7,305 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) คิดเป็น 8.7% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

โดยมีการจัดส่งหุ่นยนต์ทั้งสิ้น 282,934 ตัว เพิ่มขึ้น 8.1% คิดเป็นมูลค่ารวม 1,050,869 ล้านเยน (7,520 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)

JARA เปิดเผยว่า ในปี 2022 ที่ผ่านมา ยังคงมีปัจจัยที่น่าเป็นห่วงหลายด้านทั้งสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ การขาดแคลนชิ้นส่วนที่ยังไม่สิ้นสุด และปัญหาอื่นที่ยื้ดเยื้อมาจากปีก่อน อย่างไรก็ตาม ความต้องการระบบอัตโนมัตินอกประเทศญี่ปุ่นที่พุ่งสูงทำให้ยอดสั่งซื้อยังคงเติบโต ในขณะที่ยอดสั่งซื้อจากภายในประเทศก็เริ่มฟื้นตัวแล้วเช่นกัน

โดยยอดจัดส่งหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแบ่งตามประเภท มีรายละเอียดดังนี้

  • หุ่นยนต์ฉีดพลาสติก (Plastic moulding robots) จัดส่งรวม 8,254 ตัว ลดลง 7.9% คิดเป็นสัดส่วน 2.9% 
  • หุ่นยนต์เชื่อม (Welding robots) จัดส่งรวม 46,294 ตัว เพิ่มขึ้น 1.0% คิดเป็นสัดส่วน 16.6% 
  • หุ่นยนต์พ่นสี (Painting robots) จัดส่งรวม 2,576 ตัว ลดลง 0.5% คิดเป็นสัดส่วน 0.9% ตัว
  • หุ่นยยนต์แมชชีนนิ่ง (Machining robots) จัดส่งรวม 15,461 ตัว เพิ่มขึ้น 74.4% คิดเป็นสัดส่วน 5.5% 
  • หุ่นยนต์สำหรับติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนแผงวงจร (Robot for Surface Mounting Technology) จัดส่งรวม 17,033 ตัว ลดลง 13.5% คิดเป็นสัดส่วน 6.0% 
  • หุ่นยนต์ประกอบ (Assembly robots) จัดส่งรวม 43,092 ตัว ลดลง 11.6% คิดเป็นสัดส่วน 15.2% จากยอดขายทั้งหมด
  • หุ่นยนต์จัดเรียงสินค้าบนพาเลท (Palletizing/depalletizing Robots) จัดส่งรวม 5,849 ตัว เพิ่มขึ้น 1.7% คิดเป็นสัดส่วน 2.1% 
  • หุ่นยนต์หยิบจับชิ้นงาน (Material Handling Robot) จัดส่งรวม 77,454 ตัว เพิ่มขึ้น 11.5% คิดเป็นสัดส่วน 27.4% 
  • หุ่นยนต์สำหรับห้องคลีนรูม (Robot for Cleanroom) จัดส่งรวม 41,862 ตัว เพิ่มขึ้น 25.1% คิดเป็นสัดส่วน 14.8% 

สำหรับปี 2023 สมาคมได้คาดการณ์ว่า ยอดสั่งซื้อหุ่นยนต์ของญี่ปุ่นจะมีมูลค่ารวม 1,200,000 ล้านเยน (8,587 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 8.3% จากปีก่อนหน้า และจะมีการผลิตหุ่นยนต์คิดเป็นมูลค่า 1,050,000 ล้านเยน (7,514 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้น 2.8% ซึ่งตัวเลขคาดการณ์ในครั้งนี้เป็นไปอย่างระมัดระวัง สืบเนื่องจากถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน จึงอาจเป็นไปได้ว่าจะเกิดการปรับเปลี่ยนตัวเลขสั่งซื้อ แม้ความต้องการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะยังมั่นคงก็ตาม

 

#ยอดสั่งซื้อหุ่นยนต์ #ลงทุนหุ่นยนต์ #หุ่นยนต์อุตสาหกรรม #Japan #Robot #Mreport #ข่าวอุตสาหกรรม

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH