โตโยต้า เผย ยอดคาดการณ์ผลประกอบการปีงบประมาณ 2018
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา Toyota ได้เผยยอดคาดการณ์ผลประกอบการปีงบประมาณ 2018 โดยระบุว่า ในปีงบประมาณนี้ Toyota จะมีรายได้ลดลงจากปีงบประมาณ 2017 ถึง 15% หรือเท่ากับ 2.12 ล้านล้านเยน อันเป็นผลจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินดอลลาร์ รวมถึงนโยบายลดหย่อนภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งไม่มีผลในปีงบประมาณนี้ ขณะเดียวกันรายได้และ Net Income ในปีงบประมาณ 2017 ซึ่งปิดยอดเมื่อเดือนมีนาคม 2018 นั้น ได้ทำลายสถิติยอดสูงสุดของ Toyota ได้สำเร็จ ซึ่งในแผนธุรกิจระยะกลางและระยะยาวหลังจากนี้ Toyota ได้วางแผนเพิ่มเงินลงทุน ลดต้นทุนการผลิต และเสริมศักยภาพการผลิตให้สูงขึ้น เพื่อยกระดับการแข่งขันของตนในตลาดต่อไป
การคาดการณ์ว่าผลประกอบการจะลดลงในครั้งนี้ ห่างจากครั้งก่อนเป็นเวลา 2 ปี โดยคาดการณ์อัตราการแลกเปลี่ยนล่วงหน้าไว้ที่ 1 ดอลลาร์ต่อ 105 เยน สูงกว่าปีงบประมาณก่อน 6 เยน และ 1 ยูโรต่อ 130 เยน เท่ากับปีงบประมาณที่แล้ว ซึ่งเมื่อคำนึงผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้คาดว่า Toyota จะมี Operating Income อยู่ที่ 2.3 แสนล้านเยนในปีงบประมาณ 2018
ประธาน Akio Toyoda กล่าวในที่ประชุมว่า “คุณค่าของบริษัท Toyota อยู่ที่ Toyota Production System (TPS) และความสามารถในการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งการขัดเกลาทักษะเหล่านี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้เราอยู่รอดในตลาดได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคต” ซึ่งในปีงบประมาณ 2018 นี้ Toyota ได้ตั้งงบสำหรับลงทุนการวิจัยและพัฒนาไว้ที่ 1.8 ล้านล้านเยน สูงขึ้นจากปีงบประมาณก่อน 1.5% และเป็นตัวเลขสูงสุดเท่าที่เคยตั้งมา เพื่อเร่งสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์และการคมนาคมในโลกแห่งอนาคต นอกจากนี้ยังมีแผนเพิ่มเงินลงทุนเครื่องจักรให้กับการปฏิรูปไลน์การผลิตภายใต้แนวคิด “TNGA” มากขึ้น 5.2% หรือคิดเป็น 1.37 ล้านล้านเยน
ส่วนยอดขายยานยนต์ รวม Hino และ Daihatsu นั้น คาดว่าจะขายได้ที่ 8,950,000 คัน ลดลงจากปีงบประมาณก่อน 14,000 คัน อย่างไรก็ตาม หากรวมยอดขายจากธุรกิจร่วมทุนในจีนแล้ว คาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นถึง 59,000 คัน หรืออยู่ที่ 10,500,000 คัน
ส่วนในปีงบประมาณ 2017 ที่ผ่านมานั้น ทั้งรายได้และ Net Income นั้นสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ Toyota ซึ่งเป็นผลจากการอ่อนตัวของค่าเงินเยนและต้นทุนการผลิตที่ลดลง
ประธาน Akio Toyoda ได้ตอกย้ำถึงความสำคัญของแนวคิด TPS และการลดต้นทุน ซึ่งประธาน Toyoda กล่าวว่า “เป็นการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ “ความพยายามอย่างไม่ลดละ” ซึ่งสมกับเป็น Toyota” ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่ว่านี้ ก็ได้ส่งผลให้เห็นแล้วจากผลลัพธ์ของปีงบประมาณ 2017
นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงจากทางคู่แข่งในตลาดเอง ก็ทำให้การแข่งขันรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ ประธาน Toyoda ได้ประสบความสำเร็จในการนำ Toyota เข้าสู่ธุรกิจ IT มาแล้ว และมองว่าการตัดสินใจเปลี่ยนโมเดลธุรกิจไปเป็นบริษัทด้านการคมนาคมนั้นเป็น “เส้นทางสายต่อไปในอนาคต ที่ทางบริษัทได้ตัดสินใจเลือกจะบุกเบิกด้วยตนเอง”
ในส่วนของบุคลากรนั้น ทางบริษัทได้กล่าวเปรียบเทียบว่า “เหมือนการเปลี่ยนจากการแข่งในสนามเป็นการแข่งแรลลี่” โดยมีแผนแต่งตั้งพนักงานระดับบริหารล่วงหน้า 3 เดือน โดยดึงตัวผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาจากทั้งกลุ่ม บริษัท และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งประธาน Toyoda ได้เน้นย้ำความสำคัญของการพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ว่า “เหมือนความสัมพันธ์ระหว่างคนขับและผู้ช่วยในการแข่งรถแรลลี่ที่ต้องเชื่อใจกันถึงขั้นฝากชีวิตได้”