ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เดือนมิถุนายนปรับตัวลดลง เอกชนหวังรัฐออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง
นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการประจำเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 1,200 ราย ครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ร้อยละ 26.5,37.8 และ 35.7 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ แบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 36.4, 13.5, 12.4, 24.3 และ 13.4 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 79.8 และ 20.2 ตามลำดับ
โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 94.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 95.9 ในเดือนพฤษภาคม โดยเป็นการปรับตัวลดลง ในองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
จากการสำรวจ พบว่าดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายนปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลทำให้การดำเนินนโยบายภาครัฐ และการใช้จ่ายงบประมาณชะลอตัว กระทบต่อการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ ขณะที่เงินบาทแข็งค่ามากกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ส่งผลด้านลบต่อความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของภาคการส่งออก โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศเป็นหลัก ทำให้ประเทศผู้นำเข้าขอลดราคาสินค้า
นอกจากนี้ปัญหาความเสี่ยงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ความยืดเยื้อของสงครามการค้าและความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งนอกจากความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจะปรับตัวลดลงแล้ว หลายหน่วยงานด้านเศรษฐกิจต่างปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2562 ลงด้วยเช่นกัน
สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง อยู่ที่ระดับ 101.3 โดยลดลงจาก 102.9 ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผู้ประกอบการมีความกังวลเกี่ยวกับกำลังซื้อในประเทศโดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค ทั้งนี้รัฐบาลใหม่จะต้องเร่งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดการบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศ รวมทั้งเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2562
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามขนาดของกิจการในเดือนมิถุนายน 2562 จากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
อุตสาหกรรมขนาดย่อม
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 79.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 80.5 ในเดือนเพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก หัตถ-อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 92.8 ปรับตัวลดลง จากระดับ 95.7 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดกลาง
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 93.1 ปรับตัวลดลง จากระดับ 95.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมน้ำตาล อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 102.1 ปรับตัวลดลง จากระดับ 103.2 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมขนาดใหญ่
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 107.1 ปรับตัวลดลง จากระดับ 109.0 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม อุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 106.9 ปรับตัวลดลง จากระดับ 108.6 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน 2562 จากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ของภาคใต้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
ภาคกลาง
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 96.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 99.0 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ (เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกไปตลาดจีนและญี่ปุ่นลดลง เนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อ)
อุตสาหกรรรมเคมี (เคมีอุตสาหกรรม มียอดขายในประเทศลดลง ประกอบกับมีการแข่งขันสูงด้านราคา ทำให้ผู้ผลิตต้องปรับลดราคาลง ผลิตภัณฑ์สีทาบ้าน สีน้ำพลาสติก มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคการก่อสร้างที่ชะลอตัว)
อุตสาหกรรมยานยนต์ (รถยนต์นั่ง รถกระบะเชิงพาณิชย์ และรถจักรยานยนต์ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากมีการเร่งซื้อในเดือนก่อนหน้าและกำลังซื้อในประเทศชะลอลง ขณะที่การส่งออกลดลงในตลาดออสเตรเลีย)
อุตสาหกรรมในภาคกลาง ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมพลาสติก (สินค้าประเภทบรรจุภัณฑ์พลาสติกและเครื่องใช้ในครัวเรือน ถุงพลาสติก ฟิล์มพลาสติก มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากสหรัฐฯ)
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.9 ปรับตัวลดลงจากระดับ 104.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคเหนือ
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 80.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 81.6 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมสิ่งทอ (สินค้าวัตถุดิบที่นำไปผลิตเครื่องนุ่งห่ม มีคำสั่งซื้อในประเทศลดลง อาทิ ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน และเส้นใยสิ่งทอมีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีนและเวียดนาม ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย มีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดญี่ปุ่นและเกาหลีใต้)
อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ (ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ในสำนักงาน กระดาษทิชชู มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อเยื่อและกระดาษลดลงจากตลาดจีนและอาเซียน)
อุตสาหกรรมเซรามิก (กระเบื้องเซรามิก สุขภัณฑ์เซรามิก มีคำสั่งซื้อและยอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกมีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดสหรัฐฯ และจีน)
อุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมสมุนไพร (ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อความงาม เครื่องดื่มสมุนไพร มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ทำจากสมุนไพร เครื่องหอม และผลิตภัณฑ์สปามีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน ญี่ปุ่น และอินเดีย)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 92.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 94.0 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 91.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 94.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม (สินค้าประเภทแผงวงจรไฟฟ้า มีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดจีน เนื่องจากเป็นสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของจีน สินค้าเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบมีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดสหรัฐฯ เนื่องจากเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงทำให้ความต้องการใช้ฮาร์ดดิสก์ ลดลง และเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงต่อเนื่อง)
อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (เสื้อผ้าสำเร็จรูป มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย จากความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจ ด้านการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปมีคำสั่งซื้อลดลงจากสหรัฐฯ)
อุตสาหกรรมน้ำตาล (น้ำตาลทรายขาว มียอดขายในประเทศลดลง ด้านการส่งออกน้ำตาลทราย มีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดไต้หวันและกัมพูชา)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน (ผลิตภัณฑ์หินอ่อน หินประดับ อิฐมวลเบา อิฐที่ใช้ในการก่อสร้าง มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้ในภาคก่อสร้าง)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 96.1 ปรับตัวลดลงระดับ 98.8 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
ภาคตะวันออก
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 109.1 ปรับตัวลดลงจากระดับ 111.0 ในเดือนพฤษภาคม 2562 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมเหล็ก (ผลิตภัณฑ์เหล็กเส้น เหล็กลวด และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ มีการผลิตและยอดคำสั่งซื้อในประเทศลดลง ประกอบกับมีสินค้าเหล็กจากจีนเข้ามาแข่งขันเพิ่มขึ้น)
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (สินค้าประเภทอัญมณี มีคำสั่งซื้อลดลงจากตลาดต่างประเทศ อาทิ สหรัฐฯ สิงคโปร์และฮ่องกง ส่วนเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทองมียอดการส่งออกไปเยอรมนีและสหรัฐฯ ลดลง)
อุตสาหกรรรมปิโตรเคมี (เม็ดพลาสติกประเภท Polyethylene resin (PE), Polypropylene resin (PP) มีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศจีนตามความต้องการสินค้าที่ชะลอลง ประกอบกับราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีราคาลดลง)
อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรรมเครื่องปรับอากาศและทำความเย็น (เครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น เวียดนาม สหรัฐฯ ออสเตรเลีย เนื่องจากเป็นช่วงฤดูร้อนทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 110.0 ปรับตัวลดลงระดับ 112.9 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
ภาคใต้
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 79.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 78.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านบวกต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ยาง (ยางรถยนต์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดสหรัฐฯ จากความต้องการใช้ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ถุงมือยางทางการแพทย์ มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากโรงพยาบาลและคลินิก)
อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มดิบมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากความต้องการนำไปใช้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซล และการผลิตน้ำมันปาล์มขวด ด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันปาล์ม มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดมาเลเซียและอินเดีย)
อุตสาหกรรมอาหาร (ผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแช่แข็งและแปรรูป มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดอเมริกาเหนือและญี่ปุ่น เครื่องปรุงรส มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากตลาดสหรัฐฯ)
อุตสาหกรรมในภาคใต้ ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่
อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (ไม้ยางพาราแปรรูป มีคำสั่งซื้อจากประเทศจีนลดลง เนื่องจากเป็นสินค้าที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของจีน ประกอบกับประเทศจีนมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมทำให้นำเข้าผลิตภัณฑ์ไม้จากไทยลดลง)
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 98.3 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 97.6 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม และผลประกอบการ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขายในเดือนมิถุนายน 2562 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และดัชนีฯ กลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม โดยมีรายละเอียดดังนี้
กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ)
ดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 92.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 94.1 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 101.5 ปรับตัวลดลงจากระดับ 103.1 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ)
ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2562 อยู่ที่ระดับ 101.3 ปรับตัวลดลงจากระดับ103.3 ในเดือนพฤษภาคม 2562 องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลและโลหะการ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.8 ปรับตัวลดลงจากระดับ 102.1 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ
เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2562 จากการสำรวจพบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยน สถานการณ์การเมืองในประเทศ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ ราคาน้ำมัน
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ
- ควรออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากกว่าประเทศคู่ค้า เพื่อให้การส่งออกของไทยสามารถแข่งขันได้
- ควรพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อชะลอเงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศ
อ่านต่อ
ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พฤษภาคม 2562