ส่องสถานการณ์อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไตรมาส 3 ปี 62 สะท้อนอนาคตอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย

อัปเดตล่าสุด 30 ม.ค. 2563
  • Share :
  • 1,130 Reads   

"อุตสาหกรรมแม่พิมพ์" เป็นอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงอุตสาหกรรมอื่น ๆ เข้าด้วยกัน  ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ แต่กลับเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่ซบเซาอย่างเห็นได้ชัดในปีที่ผ่านมา ในไตรมาส 3 ของปี 2562 ประเทศไทยขาดดุลการค้าในกลุ่มสินค้าประเภทแม่พิมพ์อยู่ที่ 5,133 ล้านบาท -8% (QoQ), 12% (YoY) กลุ่มสินค้าแม่พิมพ์ที่ไทยขาดดุลการค้ามากที่สุดคือ กลุ่มแม่พิมพ์ยางและพลาสติกคิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาคือ กลุ่มแม่พิมพ์โลหะร้อยละ 29

การส่งออกแม่พิมพ์ของไทย มีมูลค่าการส่งออกแม่พิมพ์อยู่ที่ 2,478 ล้านบาท 15% (QoQ), 8% (YoY) โดยร้อยละ 44 เป็นการส่งออกแม่พิมพ์ยางและพลาสติก รองลงมาร้อยละ 43 เป็นการส่งออกแม่พิมพ์โลหะ 

การนำเข้าแม่พิมพ์ของไทย มีมูลค่าการนำเข้าแม่พิมพ์อยู่ที่ 7,611 ล้านบาท -2% (QoQ), 11% (YoY) โดยร้อยละ 54 เป็นการนำเข้าแม่พิมพ์ยางและพลาสติก รองลงมาร้อยละ 34 เป็นการนำเข้าแม่พิมพ์โลหะ


ภาพรวมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย

ภาพรวมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไตรมาส 3 ปี 2562


การซื้อ-ขายในอุตสาหกรรมแม่พิมพ์


5 อันดับแรกที่ไทยส่งออกอุตสาหกรรมแม่พิมพ์

- ญี่ปุ่น 578 ล้านบาท (23%)
- เวียดนาม 457 ล้านบาท (18%)
- อินเดีย 283 ล้านบาท (11%)
- สหรัฐอเมริกา 251 ล้านบาท (10%)
- จีน 149 ล้านบาท (6%)
- อื่น ๆ 761 ล้านบาท (31%


5 อันดับแรกที่ไทยนำเข้าอุตสาหกรรมแม่พิมพ์

- ญี่ปุ่น 3,257 ล้านบาท (43%)
- จีน 2,180 ล้านบาท (29%)
- สาธารณรัฐเกาหลี 913 ล้านบาท (12%)
- ไต้หวัน 391 ล้านบาท (5%)
- มาเลเซีย 162 ล้านบาท (2%)
- อื่น ๆ 710 ล้านบาท (9%

อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยมีการส่งออก 44.1% สำหรับแม่พิมพ์สำหรับยางหรือพลาสติก (1,093 ล้านบาท) 43.6% สำหรับเครื่องมือและแม่พิมพ์ (1,080 ล้านบาท) 0.2% ในแม่พิมพ์สำหรับแก้ว (5 ล้านบาท) และอื่น ๆ 12.1% (299 ล้านบาท)
 
ประเทศไทยส่งออกไปยัง 7 ภูมิภาค 53 ประเทศ โดยมีอัตราส่วนดังนี้

- เอเชีย 23 ประเทศ 1,985 ล้านบาท 
- อเมริกาเหนือ 4 ประเทศ 300 ล้านบาท 
- ยุโรป 16 ประเทศ 98 ล้านบาท 
- แอฟริกา 6 ประเทศ 46 ล้านบาท 
- อเมริกาใต้ 2 ประเทศ 44 ล้านบาท 
- ออสเตรเลีย 1 ประเทศ 6 ล้านบาท
- แอนตาร์กติกา 1 ประเทศ 0.2 ล้านบาท

อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยมีการนำเข้า 53.6% สำหรับแม่พิมพ์สำหรับยางหรือพลาสติก (4,081 ล้านบาท) 33.8% สำหรับเครื่องมือและแม่พิมพ์ (2,576 ล้านบาท) 1.5% ในแม่พิมพ์สำหรับแก้ว (117 ล้านบาท) และอื่น ๆ 11.0% (838 ล้านบาท)
 
ประเทศไทยนำเข้าจาก 7 ภูมิภาค 46 ประเทศ โดยมีอัตราส่วนดังนี้

- เอเชีย 19 ประเทศ 7,149 ล้านบาท 
- ยุโรป 18 ประเทศ 311 ล้านบาท 
- อเมริกาเหนือ 3 ประเทศ 148 ล้านบาท 
- แอนตาร์กติกา 1 ประเทศ 2 ล้านบาท 
- ออสเตรเลีย 1 ประเทศ 1 ล้านบาท 
- แอฟริกา 2 ประเทศ 1 ล้านบาท 
- อเมริกาใต้ 2 ประเทศ 0.2 ล้านบาท


แม่พิมพ์สำหรับยางหรือพลาสติก

ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ประเทศไทยขาดดุลการค้าในกลุ่มสินค้าประเภทแม่พิมพ์ยางและพลาสติก อยู่ที่ 2,988 ล้านบาท มีมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 1,093 ล้านบาท หดตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 1 และ ร้อยละ 5 ตามลำดับ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เวียดนาม และอินเดีย การนำเข้ามีมูลค่าอยู่ที่ 4,081 ล้านบาท หดตัวลงเมื่อเทียบ กับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 6 และขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อ เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 0.3 ตามลำดับ โดยการนำเข้า ส่วนใหญ่มาจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน และเยอรมัน 


ภาพรวมของอุตสาหกรรมแแม่พิมพ์สำหรับยางหรือพลาสติก


แม่พิมพ์โลหะ

ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ประเทศไทยขาดดุลการค้าในกลุ่มสินค้าประเภทแม่พิมพ์โลหะ อยู่ที่ 1,495 ล้านบาท การส่งออกแม่พิมพ์โลหะมีมูลค่าอยู่ที่ 1,080 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 11 และ ร้อยละ 53 ตามลำดับ ตลาดส่งออกหลักได้แก่ เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย และกัมพูชา มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 2,576 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 9 และ ร้อยละ 50 ตามลำดับ โดยการนำเข้าแม่พิมพ์โลหะส่วนใหญ่มา จากญี่ปนุ่ จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และสหรัฐอเมริกา 

ภาพรวมของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์โลหะ

แม่พิมพ์สำหรับแก้ว

ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ประเทศไทยขาดดุลการค้าในกลุ่ม สินค้าประเภทแม่พิมพ์แก้ว อยู่ที่ 111 ล้านบาท          มูลค่าการส่งออกแม่พิมพ์แก้ว อยู่ที่ 5 ล้านบาท หดตัวลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ร้อยละ 11 และขยายตัว ขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 28 ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน ไต้หวัน และมาเลเซีย การนำเข้าแม่พิมพ์แก้วมีมูลค่า อยู่ที่ 117 ล้านบาท  ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 5 และร้อยละ 24 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนใหญ่มาจาก จีน ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมัน 

ภาพรวมของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์แก้ว


แม่พิมพ์อื่น ๆ

ไตรมาสที่ 3 ปี 2562 ประเทศไทยขาดดุลการค้าในกลุ่มสินค้าประเภทแม่พิมพ์อื่นๆ อยู่ที่ 538 ล้านบาท          มูลค่าการส่งออกแม่พิมพ์อื่นๆ อยู่ที่ 299 ล้านบาท ขยายตัว เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนและไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 42 และร้อยละ 2 ตามลำดับ ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ ปากีสถาน เวียดนาม ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย การนำเข้าแม่พิมพ์อื่น ๆ มีมูลค่า อยู่ที่ 838 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ร้อยละ 16 และหดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ร้อยละ 31 โดยการนำเข้าส่วนใหญ่มาจาก ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอิตาลี 

ภาพรวมของอุตสาหกรรมแม่พิมพ์อื่น ๆ

กลุ่มสินค้าแม่พิมพ์ที่ไทยที่ขาดดุลการค้ามากที่สุดคือ กลุ่มแม่พิมพ์ยางและพลาสติก สิ่งนี้อาจสะท้อนให้เห็นความต้องการใช้สินค้าและบริการ รวมถึงความสามารถในการเติบโตของกลุ่มแม่พิมพ์ยางและพลาสติกเป็นพิเศษ หากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยสามารถศึกษาตลาดจากข้อมูลข้างต้น นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด  อุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทยอาจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาสถัด ๆ ไป

แหล่งข้อมูลอ้างอิง หรือดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มได้ที่ 
https://go.aws/2Tsvfad 

อ่านบทความ และรับข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่  : www.tgi.or.th