ผลกระทบ FTA เวียดนาม-ยุโรป และ Trade war ต่อการส่งออกไทย ปี 2562

อัปเดตล่าสุด 15 พ.ค. 2562
  • Share :
  • 782 Reads   

ผลกระทบ FTA เวียดนาม-ยุโรป (EU-Vietnum Fee Trade Agreement : EU-VN FTA) ต่อการส่งออกไทย

สหภาพยุโรป (EU) และเวียดนาม ได้ลงนามความตกลงเขตการค้าเสรีหรือ EU-Vietnam Free Trade Agreement (EVFTA) เมื่อปลายปี 2558 และคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2562 โดยข้อตกลงดังกล่าวมีเนื้อหาทั้งเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการ การค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการลงทุน รวมถึงลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน สำหรับสาระสำคัญของความตกลง EVFTA คือ ทั้งสองประเทศจะลดภาษีสินค้านำเข้ากว่าร้อยละ 99 ของสินค้านำเข้าทั้งหมด โดยสหภาพยุโรปจะลดภาษีสินค้าทันทีเมื่อความตกลงมีผลบังคับใช้ร้อยละ 71 ของสินค้าส่งออกจากเวียดนาม และจะทยอยลดภาษีสินค้าที่เหลือภายใน 7 ปี ส่วนเวียดนาม จะลดภาษีสินค้าทันทีร้อยละ 65 ของสินค้าส่งออกจากสหภาพ-ยุโรป เมื่อความตกลงมีผลบังคับใช้ และจะทยอยลดภาษีสินค้าที่เหลือภายใน 10 ปี

ด้านสถานการณ์การค้าของอียู ในช่วง 10 ปี (ปี 2552-2561) อียูมีมูลค่าการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น 37.4% โดยเพิ่มขึ้นจาก 4,652,510.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2552 เป็น 6,393,528.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2561 ซึ่งอียูนำเข้าจากเวียดนามเป็นลำดับที่ 47 ในปี 2552 แต่ในปี 2561 ขึ้นมาเป็นลำดับที่ 27 โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 269.3% ขณะที่นำเข้าจากไทยเป็นลำดับที่ 35 ในปี 2552 แต่ในปี 2561 ลงมาเป็นลำดับที่ 38 อย่างไรก็ตาม มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น 30.1% เมื่อพิจารณาเฉพาะในกลุ่มอาเซียน พบว่า ช่วง 10 ปี อียูนำเข้าจากอาเซียนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม ในปี 2552 มีสัดส่วนการนำเข้าอยู่ในอันดับที่ 5 เมื่อเทียบกับมูลค่าการนำเข้าในกลุ่มอาเซียน รองจากสิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซียตามลำดับ แต่ในปี 2561 มีสัดส่วนการนำเข้าอยู่ในอันดับที่ 1 ซึ่งในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สินค้านำเข้าของอียูจากเวียดนามเปลี่ยนไป โดยปี 2552 สินค้าสำคัญที่อียูนำเข้าจากเวียดนาม คือ 1.รองเท้า 2.เสื้อผ้า 3.กาแฟ/ชา ส่วนปี 2561 สินค้าสำคัญที่อียูนำเขา้จากเวียดนามคือ 1.อุปกรณ์ไฟฟ้า (โทรศัพท์มือถือ) 2.รองเท้า 3.เสื้อผ้า ทั้งนี้ อียูนำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 51 เท่า จากปี 2552 ส่วนการนำเข้าสินค้าจากไทย ในช่วง 10 ปีที่ผ่าน อียูนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น 30.1 % โดยสินค้านำเข้าสำคัญของอียูจากไทยส่วนใหญ่ยังคงเป็นกลุ่มสินค้าเดิม คือ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ

เมื่อเปรียบเทียบศักยภาพการแข่งขัน 10 กลุ่มสินค้าของไทย-เวียดนามในตลาดอียูปัจจุบันและย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2561 และ ปี 2557) ซึ่งได้แก่ 1.ปศุสัตว์ 2.สัตว์น้ำ/ประมง 3.ผลไม้ 4.ข้าวสาร 5.ยางและผลิตภัณฑ์ยาง  6.สิ่งทอ 7.เครื่องแต่งกาย 8.เครื่องจักรกล และส่วนประกอบ 9.อุปกรณ์ไฟฟ้า และส่วนประกอบ 10.รถยนต์และส่วนประกอบ พบว่า สินค้าที่ไทยมีศักยภาพมากกว่าเวียดนามในตลาดอียูทั้งในปี 2557 และ 2561 คือ สินค้ากลุ่มปศุสัตว์ ข้าวสาร ยางและผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ รถยนต์และส่วนประกอบ ส่วนสินค้าที่เวียดนามมีศักยภาพมากกว่าไทยทั้งในปี 2557 และ 2561 คือ กลุ่มสัตว์น้ำ/ประมง ผลไม้ (อย่างไรก็ตาม ไทยยังมีศักยภาพในกลุ่มมังคุด และทุเรียน) ขณะที่สินค้าในกลุ่มสิ่งทอไทยมีศักยภาพในปี 2557 แต่เวียดนามมีศักยภาพในปี 2561

สำหรับผลกระทบด้านการค้าต่อไทย ถ้าอียูทำ FTA กับเวียดนาม โดยคาดการณ์มูลค่าการส่งออกหลัง FTA (ครึ่งหลังปี 2562-2564) พบว่า มูลค่าส่งออกของเวียดนามไปอียู ในช่วงปี 2562-2564 จะเพิ่มขึ้น เฉลี่ยปีละ 13.3% (คาดการณ์ปกติเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 6.6%) โดยในปี 2564 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 22,404.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (709,102.4 ล้านบาท) จากปี 2561 เป็นมูลค่า 71,588.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2,265,772.9 ล้านบาท) ซึ่งมูลค่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นมากกว่าเหตุการณ์ปกติประมาณ 12,031 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (380,781.2 ล้านบาท) ส่วนการส่งออกของไทยไปอียูยังคงเพิ่มขึ้นแต่มีอัตราที่ลดลง โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยช่วงปี 2562-2564 ปีละ 0.8% (คาดการณ์ปกติเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.1%) โดยในไตรมาสที่ 3 - 4 ปี 2562 มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากเหตุการณ์ปกติประมาณ 680.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (21,525.2 ล้านบาท) และในปี 2564 มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากเหตุการณ์ปกติประมาณ 1,219.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (38,603.5 ล้านบาท) ซึ่งสินค้าที่ไทยได้รับผลกระทบ มีมูลค่าลดลงมากที่สุด คือ 1.เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย 2.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3.อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ

Trade War ต่อการส่งออกไทย ปี2562

ผลจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนนั้น สำหรับการขึ้นภาษีจีนรอบ 3 ของสหรัฐในครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อการค้าโลกและเศรษฐกิจโลกอย่างแน่นอน ซึ่งเดิมได้คาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2562 ขยายตัว 3.3-3.5% เมื่อสหรัฐขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 200,000 ล้าน USD จาก 10% เป็น 25% คาดว่า GDP โลกจะเหลือเพียง 3% หรือจะหดหายไป 0.3 - 0.5% ซึ่งผลกระทบดังกล่าวจะส่งผลไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ส าหรับการส่งออกไทยในปี 2562 ได้ประเมินว่าจะขยายตัวในระดับ 3.2-4.6% เมื่อสหรัฐปรับขึ้นภาษีจีนจาก 10% เป็น 25% ก็จะกระทบต่อการส่งออกไทยในปีนี้ทันที 1% หรือจะลดลงเหลือเพียง 2.2 - 4.6%