ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และผู้ประกอบการ SME สิงหาคม 61
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ SMEs ภาคการค้าและบริการ ในเดือนสิงหาคม 2561 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า ทั้งในส่วนของภาคการค้าและภาคบริการ โดยสาขาธุรกิจปรับตัวลดลงแทบทุกสาขา เนื่องจากประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในหลายพื้นที่ยังคงมีความระมัดระวังในเรื่องการใช้จ่าย
นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการค้าและบริการ (TSSI) ในเดือนสิงหาคม ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวลดลง โดยอยู่ที่ระดับ 86.8 ปรับตัวลดลงมากจากเดือนกรกฎาคม เป็นผลจากปัจจัยด้านกำไร ยอดจำหน่าย การลงทุนและการจ้างงานที่ลดลงทั้งในภาคการค้าและภาคบริการ เกือบทุกสาขาธุรกิจ ยกเว้นสาขาสันทนาการ วัฒนธรรม การกีฬา ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากในเดือนสิงหาคมมีฝนตกต่อเนื่องและน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมยังคงไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย ยังคงระมัดระวังในการใช้จ่าย ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นด้านยอดขายและกำไรลดลง สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวจีนหดตัวครั้งแรกในรอบ 15 เดือน และผลของ World Cup ยังคงทำให้นักท่องเที่ยวรัสเซียและยุโรปหดตัวต่อเนื่อง
ผอ.สสว. เผยอีกว่า โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคบริการปรับตัวลดลงเกือบทุกสาขาธุรกิจ และมีค่าต่ำกว่าฐานที่ 100 อาทิ สาขาค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ค้าส่งวัสดุก่อสร้าง ร้านค้าปลีกดั้งเดิม การท่องเที่ยว การขนส่งสินค้า การขนส่งคน โรงแรม/เกสต์เฮาส์/บังกะโล และการก่อสร้าง เป็นต้น
สำหรับดัชนี TSSI คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 104.6 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 106.4 จากองค์ประกอบด้านกำไร ยอดจำหน่าย การลงทุนและการจ้างงานที่ลดลง ในภาคการค้าส่งและค้าปลีก ขณะที่ภาคบริการนั้นปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยว การขนส่งและโรงแรม เนื่องจากในช่วงเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงเทศกาลลอยกระทง ผู้ประกอบการคาดว่าทำให้มีการใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น และมีความคึกคักในช่วงเวลาดังกล่าว ส่งผลให้ความเชื่อมั่นปรับตัวเพิ่มขึ้นในภาคบริการ
ดัชนีความเชื่อมั่นรายสาขาธุรกิจ
- ปัจจัยบวก ผลผลิตทางการเกษตรหลายรายการเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และลำไย ทำให้เกษตรกรบางกลุ่มเริ่มมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้การจับจ่ายใช้สอยในจังหวัดที่ราคาสินค้าเกษตรดีขึ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้น
- ปัจจัยลบ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น ผู้บริโภคมีความรู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและยังกระจุกตัว ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง รายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น สถานการณ์น้ำท่วมในหลายๆ พื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลกระทบในทางลบต่อเศรษฐกิจ รวมไปถึงการท่องเที่ยวในเชิงพื้นที่อีกด้วย ความกังวลเกี่ยวกับปัญหาสงครามการค้าในระดับโลกโดยเฉพาะสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ
ในการเปรียบเทียบดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการของ SME กับดัชนีอื่นๆ ในเดือนสิงหาคม ดัชนีความเชื่อมั่นของ SME ในภาคการค้าและบริการที่ปรับตัวลดลง สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ (BSI) เนื่องจากการลงทุนและการจ้างงานลดลง อาทิ จากธุรกิจกลุ่มก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นผลจากภาวะการก่อสร้างที่ชะลอตัวลงในช่วงฤดูฝน
ดัชนีความเชื่อมั่น (เปรียบเทียบที่ค่าฐาน 100) |
พ.ค.61 | มิ.ย.61 | ก.ค.61 | ส.ค.61 | ||||
ปัจจุบัน | คาดการณ์ |
ปัจจุบัน | ปัจจุบัน | ปัจจุบัน | คาดการณ์ |
ปัจจุบัน | คาดการณ์ |
|
ดัชนีความเชื่อมั่น SME ภาคการค้าและบริการ (TSSI) | 107.6 | 91.2 | 78.0 | 98.8 | 96.8 | 105.0 | 86.8 | 104.6 |
ดัชนีความเชื่อมั่น ทางธุรกิจของประเทศ (BSI) | 99.0 | 112.4 | 103.0 | 111.8 | 105.6 | 109.0 | 102.8 | 110.8 |
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) | 54.4 | 91.3 | 55.3 | 92.5 | 56.2 | 93.5 | 57.2 | 94.6 |