"ดีพร้อม" ชูโมเดลธุรกิจ ต่อยอดสตาร์ทอัพเข้าถึงแหล่งทุน ดันเศรษฐกิจโตกว่า 200 ล้านบาท
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) เร่งพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพ (Startup) ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการดำเนินธุรกิจผ่าน “กิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect)” ภายใต้โครงการเร่งการจัดตั้งและขยายธุรกิจของผู้ประกอบการอัจฉริยะ โดยเร่งส่งเสริมโอกาสและช่องทางให้แก่สตาร์ทอัพในการพัฒนาความรู้ และทักษะการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายกับอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ให้เป็นกลไกที่ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมรวมถึงสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสมทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงและนําไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 200 ล้านบาท
26 สิงหาคม 2567 นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ปัจจุบันรัฐบาลมีความต้องการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Soft Power) ร่วมกับการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation – driven economy) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี ให้มีความสามารถทั้งด้านเทคโนโลยี การบริหารธุรกิจ การตลาด และการพัฒนาทักษะในการคิดค้นสินค้า หรือบริการใหม่ ๆ ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทย เพื่อต่อยอดธุรกิจให้มีความแตกต่างเหนือคู่แข่งและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างระบบนิเวศ (Ecosystem) ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว
นายภาสกร กล่าวต่อว่า ตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ภายใต้กลยุทธ์ปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) ผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และการปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาส (RESHAPE THE ACCESSIBILITY) ผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่ง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ (Startup) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการดำเนินธุรกิจ โดยส่งเสริมโอกาสและช่องทางให้แก่สตาร์ทอัพ ในการพัฒนาความรู้และทักษะการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายกับอุตสาหกรรมสนับสนุนต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกในการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคง และนำไปสู่การสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวต่อไป
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) จึงได้จัด กิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect) เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดำเนินธุรกิจ โดยมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Seminar & Workshop) ครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะเฉพาะด้านที่เอื้อต่อการเงินและการระดมทุนในตลาดเงิน (Money Market) และตลาดทุน (Capital Market) รวมถึงการเติบโตจากภายนอก (Inorganic Growth) กระบวนการควบรวมหรือการซื้อกิจการ M&A (Mergers & Acquisitions) การทำพาณิชยกรรมทางการค้า (Commercialization Support) พร้อมยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงลึก (Deep technology) หรือเทคโนโลยีทั่วไปที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (BCG Economy) รวมถึงกลยุทธ์การเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและการขยายตลาด ผสมผสานกับการสร้างนวัตกรรมร่วม (Co-creation) และการปรึกษาแนะนำเชิงลึก เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด พร้อมทั้งมีการนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งเงินทุน (Pitching) และการจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) เพื่อเชื่อมโยงวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เข้าสู่ตลาดและเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างเหมาะสม คาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 200 ล้านบาท
ทั้งนี้ มีวิสาหกิจเริ่มต้นสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 60 กิจการ และผ่านเกณฑ์การคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 33 กิจการ และมีแหล่งทุนตอบรับเข้าร่วมฟังการนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งเงินทุน (Pitching) กว่า 20 บริษัทชั้นนำระดับประเทศ ประกอบไปด้วย บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด กองทุนอินโนเวชั่นวัน (INNOVATION ONE) บริษัท มาสเตอร์ สไตล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทเวนตี้ โฟร์ คอน แอนด์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) บริษัท ออโรร่า ดีไซน์ จำกัด (มหาชน) บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) บริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท อิทธิฤทธิ์ ไนซ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ซัคเซสมอร์ บีอิ้งค์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยมุ้ย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ซีดีไอพี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท บูโร เวอริทัส (ประเทศไทย) จำกัด กองทุน บริษัท สเตรท แอสเซท กรุ๊ป จำกัด Ikigai Institute บริษัท ซุปเปอร์ ดีล เมคเกอร์ จำกัด บริษัท คาร์ฟินน์ อินเตอร์ กรุ๊ป จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน QUANTUM WEALTH เพื่อสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้แก่สตาร์ทอัพต่อไป
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ 2566
- คาร์บอนเครดิต คือ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2567
- Apple ครองตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียมในปี 2023
- การเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายไร้สาย 5G
- ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 2566
- สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2566
- เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ
- solid state battery คือ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH