หอการค้าฯ เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ม.ค. 67 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6
ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย (TCC Confidence Index) ประจำเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ระดับ 54.8 เพิ่มขึ้น 0.1 จากเดือนก่อนหน้า ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มกลับมามีความเชื่อมั่นหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาลและรัฐบาลจัดทำนโยบาขลดค่าครองชีพโดขลดค่าไฟฟ้และค่าน้ำมัน ตลอดจนมีนโขบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ นอกจากนี้ผู้บริ โภคเห็นว่าการเมืองไทยจะมีเสถียรภาพมากขึ้นในอนาคตหลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลสลายขั้วการเมืองต่างๆ ที่มีความเห็นแตกต่างกัน โดยที่ความขัดแข้งทางการเมืองนำจะคลี่คลายลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของผู้บริ โภคทุกรายการปรับตัวดีขึ้นทุกรายการ อย่างไรก็ตาม ผู้บริ โภคยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจ โลกชะลอตัว สงครามในตะวันออกกลางที่อาจยืดเยื้อบานปลาย อาจเป็นปัจจับที่เพิ่มแรงกดดันของการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลลบต่อการส่งออกของไทยและอาจมีผลกระทบในเชิงลบต่อกำลังซื้อของประชาชนในทุกภูมิภาคในอนาคต
นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสมาชิกผู้ประกอบการ 369 รายทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 24-31 มกราคม 2567 พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในปัจุบันปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 54 เดือนนับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562 เป็นต้นมา จากระดับ 43.0 ในเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับ 43.7 โดยในเดือนมกราคม 2567 ผู้บริโภคเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ดี ปานกลาง และแย่ประมาณ 4.5% 34.7% และ 60.8% ตามลำคับ ขณะที่เดือนธันวาคม 2566 ผู้บริโภคเห็นว่ากาวะเศรษฐกิจอยู่ในระดับที่ดี ปานกลาง และแย่ประมาณ 4.9% 33.2% และ 61.9% ตามลำดับ การที่ดัชนีมีค่าอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 แสดงให้เห็นว่า โดยภาพรวมแล้วผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่ากาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมีภาวะที่แย่มากจากการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติในเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เม็ดเงินหมุนเวียนมากขึ้น
- ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ต.ค. 66 ลดลงครั้งแรกในรอบ 17 เดือน
- กกร. คงคาดการณ์ GDP ปี'67 ขยายตัว 2.8-3.3% จี้รัฐตั้งกองทุนช่วย SME - แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยตามเฟด
- ดัชนีราคาผู้ผลิตไทย 2566 ภาพรวมทั้งปีเพิ่มเพียง 2.4%
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อดัชนีความเชื่อมั่นของหอการค้าไทย
ปัจจัยด้านลบ
-
สศค. ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 66 โดยคาดว่าจะขยายตัว 1.8% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวได้ 2.7% ส่วนในปี 67 คาดว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 2.8%
-
ความกังวลต่อสถานการณ์ตะวันออกกลางจากกองกำลังอิสราเอลยังคงทำการโจมตีทางอากาศในฉนวนกาซา ซึ่งอาจจะยืดเยื้อที่อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันและพลังงานโลกยังทรงตัวสูง
-
ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวอยู่ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าหลักยังคงมีความไม่แน่นอนสูง อาทิ จีน สหรัฐ และยุโรป
-
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5ที่มากขึ้นจนส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมกลางแจ้งในบางพื้นที่ และกระทบต่อสุขภาพของประชาชนที่สูดหายใจเข้าไป
-
ค่าเงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงเล็กน้อยจากระดับ 34.976 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 66 เป็น 35.186 ฿/$ ณ สิ้นเดือน ม.ค. 67 สะท้อนว่ามีการไหลออกสุทธิของเงินตราต่างประเทศ
-
SET Index เดือน ม.ค. 67 ปรับตัวลดลง 51.33 จุด จาก 1,415.85 ณ สิ้นเดือน ธ.ค. 66 เป็น 1,364.52 ณ สิ้นเดือน ม.ค. 67
-
ความกังวลในการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลที่อาจมีคามล่าช้า และความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจจะกระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศ
-
ความกังวลต่อสถานการณ์เอลนีโญ และภัยแล้ง ที่จะส่งผลกระทบในระยะยาวและกระทบต่อ ความต้องการใช้น้ำในภาคการเกษตร และเพื่อการอุปโภค-บริโภค
-
ราคาน้ำมันขายปลีกแก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (E10) และแก๊สโซฮอล ออกเทน 95 ในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2.30 บาทต่อลิตร อยู่ที่ระดับ 35.78 และ 37.55 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือน ม.ค. 67
ปัจจัยด้านบวก
-
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2567 อย่างเช่น มาตรการ Easy E-Receipt ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 15 กุมภาพันธ์ 2567
-
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวนมากขึ้นในช่วงของเทศกาลปีใหม่ ส่งผลให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น
-
การยกเว้นการยื่นวีซ่านักท่องเที่ยวให้กับบางประเทศซึ่งเป็นการช่วยลดค่าครองชีพในการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้ดีขึ้น
-
ภาคท่องเที่ยวและบริการภายในประเทศเริ่มดีขึ้นผลมาจากการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่ประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนา
-
การส่งออกของไทยเดือน ธ.ค. 66 ขยายตัวร้อยละ 4.7 มูลค่าอยู่ที่ 22,791.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การนำเข้าลดลงร้อยละ 3.1 มีมูลค่าอยู่ที่ 21,818.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้เกินดุลการค้า 972.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
-
ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกในประเทศยังคงอยู่ในระดับทรงตัวโดยอยู่ที่ระดับ 29.94 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือน ม.ค. 67
-
ราคาพืชผลทางการเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้นหรือทรงตัวส่งผลให้เกษตรกรเริ่มมีรายได้สูงขึ้น และมีกำลังซื้อในต่างจังหวัดเริ่มปรับตัวดีขึ้น
ข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ และแนวทางการดำเนินการของภาคเอกชนในการแก้ไขปัญหา
-
มาตรการจัดการแก้ไขบริหารการใช้น้ำให้เหมาะสมต่อภาคการเกษตรและการบริโภคของประชาชน
-
การแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้าสินค้าผ่านด่านศุลกากรโดยการสำแดงข้อมูลเท็จเพื่อเลี่ยงภาษีทำให้สินค้าราคาถูก รวมถึงสินค้าที่ไม่มีมาตรฐานทะลักเข้ามา กระทบต่อยอดขายสินค้าของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่สามารถแข่งขันด้านต้นทุนได้
-
การผ่อนปรนเงื่อนไขในการเข้าถึงสินเชื่อในระบบของภาคธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ และสภาพคล่อง
-
นโยบายการช่วยเพิ่มศักยภาพ และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของธุรกิจเอกชน ตลอดจนส่งเสริมการ
แข่งขันอย่างเป็นธรรมกับธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืนและทั่วถึง
#หอการค้า #หอการค้าไทย #สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย #ภาคเอกชน #เศรษฐกิจไทย #เศรษฐกิจโลก #ภาคอุตสาหกรรม #ภาคการเกษตร #ภาคการท่องเที่ยว #ภาคการส่งออก #SET Index #GDP #จีดีพี #เศรษฐกิจไทย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- ยอดขายรถยนต์ 2566
- คาร์บอนเครดิต คือ
- อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2567
- Apple ครองตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียมในปี 2023
- การเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายไร้สาย 5G
- ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 2566
- สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2566
- เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
- กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ
- solid state battery คือ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH