ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย 2566

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยปี 2566

อัปเดตล่าสุด 11 มี.ค. 2567
  • Share :
  • 2,509 Reads   

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2566 และแนวโน้มปี 2567 เผยแพร่โดย กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยในปี 2566 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) คาดว่าจะลดลงร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และประมาณการดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2567 จะขยายตัวร้อยละ 2.0 – 3.0 

อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอตัวในปี 2566 อาทิ คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ภาวะการผลิตปรับตัวลดลงในสินค้า Hard Disk Drive และ Printer เป็นหลัก จากการที ่ผู้ผลิตปรับลดแผนการผลิตจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวต่อเนื่อง ด้วยผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลก ส่วน Printer ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากได้รับคำสั่งให้ผลิตสินค้าแทนสาขาเวียดนามที่ไม่สามารถผลิตสินค้าได้

เฟอร์นิเจอร์ ภาวะการผลิตลดลงจากสินค้าเครื ่องเรือนทำด้วยไม้และเครื่องเรือนทำด้วยโลหะเป็นหลัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ส่งผลให้หลายบริษัทได้รับคำสั่งซื้อลดลง

เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน ภาวะการผลิตลดลงจากเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เหล็กแผ่นรีดเย็น และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณเป็นหลัก โดยลูกค้าปรับลดคำสั่งซื้อเพื่อรอดูทิศทางราคาเหล็ก ตลอดจนมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมากขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในปี 2566 อาทิ ยานยนต์ ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นจากรถยนต์นั่งขนาดเล็กและรถยนต์นั่งขนาดกลางเป็นหลัก ตามตลาดส่งออกที่ขยายตัว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ และน้ำมันเครื่องบิน เป็นหลัก เป็นผลจากกิจกรรมการเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น

น้ำตาล เพิ่มขึ้นจากน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เป็นหลัก เป็นไปตามความต้องการบริโภคที่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0

 

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ GDP ในสามไตรมาสแรกของปี 2566 ได้แก่

  • การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.0
  • ภาคบริการ ขยายตัวร้อยละ 4.4
  • การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 7.3
  • การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 1.7
  • การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวตัวร้อยละ 3.4
  • การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัวร้อยละ 1.0

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2567 สศช. คาดว่า GDP จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 – 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก

  • การขยายตัวของการส่งออก
  • การขยายตัวของการบริโภคและการลงทุนภ าคเอกชน
  • การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 2566

GDP ภาคอุตสาหกรรม 3 ไตรมาสแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 3.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยหดตัวจากการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ รวมทั้งคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้ายังคงชะลอตัว

 

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 2565

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม – ตุลาคม) ของปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 93.79 หดตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2565 (98.77) ร้อยละ 5.0 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลง อาทิ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตเฟอร์นิเจอร์ และการผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2567 คาดว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2566 เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะปกติ รวมทั้งการผลิตดำเนินการได้เต็มประสิทธิภาพ ประกอบกับการบริโภคในประเทศและปัญหาหนี้ครัวเรือนปรับตัวดีขึ้น 

 

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 2565

ดัชนีการส่งสินค้า

ในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม – ตุลาคม) ของปี 2566 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 95.25 หดตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2565 (100.05) ร้อยละ 4.8 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลง อาทิ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2567 คาดว่า ดัชนีการส่งสินค้าจะสอดคล้องกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมข้างต้น

 

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 2565

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม – ตุลาคม) ของปี 2566 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 138.12 ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปี 2565 (136.05) ร้อยละ 1.5 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้น อาทิ การผลิตยานยนต์ การผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่น ๆ และการผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2567 คาดว่า ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังน่าจะลดลงจากปี 2566 เป็นการผลิตเพื่อส่งมอบให้ลูกค้าตามคำสั่งซื้อทั้งจากการบริโภคในประเทศและการส่งออกไปต่างประเทศ

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 2 ปี 2566

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม – ตุลาคม) ของปี 2566 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 59.53 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2565 (ร้อยละ 63.22) โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง อาทิ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง และการผลิตเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มปี 2567 คาดว่า อัตราการใช้กำลังการผลิตจะปรับตัวดีขึ้นจากการผลิตและบริการกลับมาดำเนินการผลิตได้ปกติ 

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 24 ปี 2566 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 2 2566

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ในช่วง 10 เดือนแรก (มกราคม – ตุลาคม) ของปี 2566 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 93.15 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 (88.51) และดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือนอยู่ที่ระดับ 101.35 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2565 (98.20) 

สำหรับแนวโน้มในปี 2567 คาดว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อุปสงค์ภายในประเทศฟื้นตัวเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการท่องเที่ยวฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2567 ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2565 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 2565

 

#อุตสาหกรรมไทย #สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม #MPI Index #ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม #MPI #ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย 2566
 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH