ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2567

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2567

อัปเดตล่าสุด 17 ก.ย. 2567
  • Share :
  • 426 Reads   

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1/2567 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2567 เผยแพร่โดย กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ระบุ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2567 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มีค่าอยู่ที่ 100.93 ลดลงร้อยละ 3.58 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นการปรับตัวลดลงเป็นไตรมาสที่ 6 ติดต่อกัน ตามการชะลอตัวเศรษฐกิจโลก โดยการผลิตเพื่อส่งออกยังคงชะลอตัว เช่นเดียวกับเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งมีการปรับตัวลดลงในสินค้าที่มีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรม หลังจากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยลดลง และรายได้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นน้อย สวนทางกับภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มสูงขึ้น 

อุตสาหกรรมสำคัญที่ชะลอตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2567  อาทิ ยานยนต์ จากสินค้ารถบรรทุกปิคอัพ และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เป็นหลัก จากกำลังซื้อในประเทศที่อ่อนตัวลง หนี้สินครัวเรือนอยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อกระทบต่อการออกรถยนต์ใหม่ ประกอบกับผู้บริโภคบางส่วนหันไปซื้อรถยนต์มือสองที่มีราคาถูกกว่า

ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่กระทบต่อการบริโภคและการลงทุน ส่งผลให้ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ชะลอตัว และ

น้ำมันปาล์ม จากน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ สาเหตุหลักมาจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งยาวนาน ส่งผลให้ปริมาณผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยลง

อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม จากการเติบโตของภาคท่องเที่ยวที่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ทิศทางการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในการเดินทางมีมากขึ้น

ปุ๋ยเคมีและสารประกอบไนโตรเจน เป็นการผลิตเพื่อรองรับการเพาะปลูกในช่วงถัดไป ประกอบกับสามารถนำเข้าแม่ปุ๋ยได้เพิ่มขึ้น ซึ่งในช่วงเดียวกันของปีก่อนเกิดปัญหาขาดแคลนแม่ปุ๋ยและมีราคาแพง และ

เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์น้ำแร่ และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้นจากสินค้าเกือบทุกรายการ ยกเว้นเครื่องดื่มกาแฟสำเร็จรูป จากสภาพอากาศที่ร้อนจัดทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้าเพิ่มมากขึ้น

ภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย ไตรมาสที่ 1 ปี 2567 หดตัวร้อยละ 3.0 และหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2566) หดตัวร้อยละ 2.6

 

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อ GDP ในไตรมาส 1 ของปี 2567 ได้แก่

  • การผลิตภาคเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.5
  • ภาคบริการ ขยายตัวร้อยละ 3.6
  • การใช้จ่ายอุปโภคและบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 6.9
  • การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 4.2
  • การผลิตภาคอุตสาหกรรม หดตัวตัวร้อยละ 3.0
  • การส่งออกสินค้าและบริการ ขยายตัวร้อยละ 2.5

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ขยายตัวร้อยละ 1.5 โดยขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาซึ่งขยายตัวร้อยละ 1.7 และขยายตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2566) ขยายตัวร้อยละ 2.6

 

GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 หดตัวร้อยละ 3.0 หดตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาที่หดตัวร้อยละ 2.4 และหดตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (2566) หดตัวร้อยละ 2.6

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญ

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 100.85 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (94.42) ร้อยละ 6.8 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2566 (104.67) ร้อยละ 3.7

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

ดัชนีการส่งสินค้า

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีการส่งสินค้าอยู่ที่ระดับ 98.80 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (97.08) ร้อยละ 1.8 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (103.98) ร้อยละ 5.0

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตเครื่องปรับอากาศการผลิตน้ำตาล และการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการส่งสินค้าลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์และ การผลิตน้ำมันปาล์ม เป็นต้น

 

ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังอยู่ที่ระดับ 105.02 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (99.59) ร้อยละ 5.5 แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2566 (107.78) ร้อยละ 2.6

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล สตาร์ช และผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช และการผลิตเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำแร่และน้ำดื่มบรรจุขวดประเภทอื่น ๆ เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก การแปรรูปและการถนอมผลไม้และผัก และการผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต

ในไตรมาสที่ 1 ปี 2567 อัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ที่ระดับร้อยละ 60.45 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 57.38) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (ร้อยละ 64.19)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ การผลิตน้ำตาล การผลิตเครื่องปรับอากาศ และการผลิตสตาร์ช และผลิตภัณฑ์จากสตาร์ช เป็นต้น

สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 ได้แก่ การผลิตยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตเครื ่องมือและอุปกรณ์ในทางการแพทย์และทางทันตกรรม เป็นต้น

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม

ในไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมมีค่า 91.0 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมา (89.37) แต่ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (95.97) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน อยู่ที่ระดับ 99.73 ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2566 (103.53)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับตัวลดลงของความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาส 1 ปี 2567 มาจากปัจจัยเสี่ยงภายในประเทศจากค่าครองชีพและหนี้ครัวเรือนอยู ่ในระดับสูงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังมีความกังวลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำและการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนดำเนินกิจการและภาระหนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามปัจจัยภายนอกด้านการส่งออกฟื้นตัวดีขึ้นแต่ยังคงมีความไม่แน่นอนของความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์อีกทั้งมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากมาตรการฟรีวีซ่า (Free Visa) ให้กับนักท่องเที่ยวจีน อินเดียและไต้หวัน เป็นต้น และมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 มีนาคม 2567

#อุตสาหกรรมไทย #สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม #MPI Index #ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม #MPI #ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย 2567
 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH