GC ประกาศผลการดำเนินงานปี 66 พลิกทำกำไร 999 ล้านบาท
พีทีที โกลบอล เคมิคอล (มหาชน) หรือ GC ประกาศผลการดำเนินงานปี 2566 พลิกทำกำไรสุทธิ 999 ล้านบาท เผยทิศทางการดำเนินงาน ปี 2567 ดำเนินกลยุทธ์เข้มข้นอย่างต่อเนื่อง ต่อยอดธุรกิจ Low Carbon ชวนทุกคนมาเป็น GEN S
16 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ประกาศผลการดำเนินงาน ปี 2566 พลิกกลับมาทำกำไรสุทธิ 999 ล้านบาท เผยทิศทางการดำเนินงาน ปี 2567 ดำเนินกลยุทธ์เข้มข้นอย่างต่อเนื่อง สร้างรากฐานแข็งแกร่ง ในวันที่เศรษฐกิจโลกยังคงชะลอตัว ต่อยอดธุรกิจ Low Carbon สร้างความแตกต่างและผลตอบแทนทางธุรกิจสู่เป้าหมาย Net Zero พร้อมชวนทุกคนมาเป็น “GEN S..Generation Sustainability คนเจนใหม่หัวใจยั่งยืน” สร้างแรงกระเพื่อมการใช้ชีวิตแบบ Net Zero Lifestyles ร่วมขับเคลื่อนโลกใบนี้ให้ดีกว่าเดิมและยั่งยืนไปด้วยกัน
ผลการดำเนินงาน GC ปี 2566
ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจปิโตรเคมีโดยรวมยังคงอยู่ในภาวะอ่อนตัวอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับความกดดันจากปัจจัยทั้งด้านภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ปลายทางของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และการเริ่มดำเนินการของกำลังการผลิตใหม่ในตลาด โดยเฉพาะจากประเทศจีน มีผลให้การดำเนินงาน ของ GC ในปี 2566 มีรายได้จากการขายรวม 616,635 ล้านบาท ปรับตัวลดลงร้อยละ 9 จากราคาผลิตภัณฑ์กลุ่มปิโตรเลียมและปิโตรเคมีปรับลดลงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ยังคงมีผลกำไรสุทธิรวม 999 ล้านบาท (0.22 บาท/หุ้น) ด้วยการมุ่งเน้นทำสิ่งที่ควบคุมได้ ดำเนินการมาตรการภายในอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง รวมถึงสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ผ่านการดำเนินงาน ดังนี้
- การพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานและลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานโครงการ MAX, dEX, MTPi, FiT และการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานเพิ่มเติมจากที่ควบคุมในแผนงบประมาณ (OPEX Saving) ซึ่งช่วยเพิ่มผลกำไร คิดเป็นมูลค่าประมาณ 6,900 ล้านบาท
- จับมือ กลุ่มบริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (WHA) ยกระดับบริษัท จีซี โลจิสติกส์ โซลูชั่นส์ จำกัด (GCL) บริษัทใน GC Group เป็นบริษัทโลจิสติกส์ครบวงจร เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับธุรกิจ โดยการขายหุ้น GCL สัดส่วนร้อยละ 50 ให้กับ WHA คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,640 ล้านบาท โดยมีกำไรพิเศษที่เกี่ยวข้องจากรายการนี้ (รวมกำไรจากการตีมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนที่เหลือใน GCL) เป็นจำนวน 4,017 ล้านบาทลดภาร
- ะหนี้สินทางการเงิน ด้วยการซื้อหุ้นกู้สกุลเหรียญสหรัฐฯ โดยมีกำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้ดังกล่าวจำนวน 1,422 ล้านบาท
- ความสำเร็จของ GC ในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลก
ในปี 2566 GC ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและระดับสากล จากการได้รับรางวัลต่าง ๆ ตอกย้ำความมุ่งมั่นทุ่มเทดำเนินการด้านความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล ด้วยการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Governance & Economic) (ESG) ส่งผลให้เกิดผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- เป็นบริษัทหนึ่งเดียวในโลกที่ได้รับการจัดอันดับจากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) ในกลุ่ม World Index ให้เป็นที่ 1 ในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ 5 ปีต่อเนื่อง โดย S&P Global ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรต้นแบบความยั่งยืนในระดับสากล
- เป็นบริษัทเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการจัดอันดับให้เป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการบริหารจัดการน้ำ (Water Security) ในระดับ A Level (Leadership) จาก CDP ประจำปี 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2
- ได้รับรางวัล Morgan Stanley Capital International (MSCI) ESG Ratings ระดับ A ในกลุ่มอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
- ได้รับรางวัล Platinum ระดับสูงสุด อยู่ในอันดับ Top 1% ของอุตสาหกรรมการผลิตเคมีภัณฑ์พื้นฐาน จาก EcoVadis
- ได้รับการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ระดับ AAA และอยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 และรางวัล SET Awards 2023 กลุ่มรางวัล Sustainability Excellence ประเภทรางวัล Sustainability Awards of Honor ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กลยุทธ์การดำเนินงานในปี 2566
GC เดินหน้าสร้างความแข็งแกร่ง โดยใช้กลยุทธ์ 3 Steps Plus: Step Change, Step Out และ Step Up อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
Step Change: ยกระดับความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ
ดำเนินโครงการปรับปรุงโรงโอเลฟินส์หน่วยที่ 2 (Olefins 2 Modification Project) ดำเนินการเชิงพาณิชย์ในเดือนกรกฎาคม 2566 ทำให้ GC สามารถใช้โพรเพนเป็นวัตถุดิบในการผลิตได้เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของบริษัทฯ ในการเพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว และทำให้กำลังการผลิตติดตั้งของผลิตภัณฑ์เอทิลีนและผลิตภัณฑ์โพรพิลีนรวมเพิ่มขึ้น จากเดิม 3,680,000 ตันต่อปี เป็น 3,729,000 ตันต่อปี
Step Out: แสวงหาโอกาสการเติบโตใหม่ๆ ในต่างประเทศ เพื่อก้าวสู่บริษัทระดับโลก และ ตอบโจทย์ธุรกิจ Low Carbon
GC และ allnex ได้สร้าง Synergy และแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญที่มีทั้งด้านปฏิบัติการ และด้านนวัตกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะขยายความร่วมมือไปในด้านอื่นเพิ่มเติม เช่น ด้าน ความยั่งยืน หรือ Digitalization ในอนาคต โดยที่ผ่านมา GC และ allnex ได้ก่อตั้ง Thailand Innovation Hub เป็นศูนย์นวัตกรรม เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกัน และ อยู่ระหว่างการต่อยอดความร่วมมือไปยังบริษัทอื่นๆ ในกลุ่ม (Vencorex, Emery, NatureWorks, Kuraray)
ในปี 2566 allnex ได้ก่อสร้างสายการผลิต สำหรับศูนย์กลางการผลิตใน Dushan Port มณฑล Zhejiang สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีสายการผลิตที่รองรับการผลิตเม็ดพลาสติก แบบ High-performance ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมด้านนวัตกรรมสีเขียว และรองรับความต้องการของตลาดในสาธารณรัฐประชาชนจีนและตลาดโลกด้านเม็ดพลาสติก สำหรับการเคลือบผิวอุตสาหกรรมและสารเติมแต่ง รวมถึงดำเนินการผลิต ตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมระดับสากลอย่างเคร่งครัด ศูนย์กลางการผลิตแห่งใหม่นี้จะผลักดันการเสริมสร้างบทบาทของ allnex ในสาธารณรัฐประชาชนจีนให้มากขึ้น นอกจากนี้ GC ยังศึกษาในภูมิภาคต่างๆ เพื่อขยายกำลังการผลิตในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์พิเศษที่มีมูลค่าสูง (High Value Business: HVB) ที่เกี่ยวข้องกับ allnex ใน South East Asia เพื่อรองรับ การเติบโตของตลาด
การเดินเครื่องเชิงพาณิชย์โรงงานผลิตพลาสติกวิศวกรรมชั้นสูงของ คุราเร่ จีซี แอดวานซ์ แมททีเรียลส์ (Kuraray GC Advanced Materials) (กำลังการผลิต PA9T 13,000 ตันต่อปี และ HSBC 16,000 ตันต่อปี) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในพื้นที่ EEC รองรับการพัฒนาของอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automobile) และ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (E&E)
การก่อสร้างโรงงานผลิตโพลิเมอร์ชีวภาพแบบครบวงจรแห่งใหม่ Ingeo PLA ใน จังหวัดนครสวรรค์ โดย NatureWorks หนึ่งในบริษัทร่วมทุนของ GC ผู้นำการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพโพลิแลคติคแอซิด (PLA) ซึ่งผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียนอันดับหนึ่งของโลก คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2568 โรงงานนี้มีกำลังการผลิตโพลิเมอร์ชีวภาพ Ingeo จำนวน 75,000 ตันต่อปี ใช้อ้อยในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบตั้งต้น ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดวัสดุชีวภาพที่เพิ่มขึ้นใน Asia Pacific โรงงานแห่งนี้จะช่วยขยายการเข้าถึงวัสดุชีวภาพคาร์บอนต่ำของลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนระดับโลก โดยโพลิเมอร์ชีวภาพ มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงกว่า 73% เทียบกับวัสดุจากปิโตรเคมี และสามารถนำไปใช้งานได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ บรรจุภัณฑ์ สิ่งทอ และผ้าชนิดไม่ทอ เป็นต้น
Step Up: รักษาความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลก
GC มีผลสำเร็จที่โดดเด่น เป็นที่ประจักษ์ ด้วยแผนที่ชัดเจนและมีความก้าวหน้าตามแผน ภายใต้กลยุทธ์ความยั่งยืนและการดำเนินงานด้าน Decarbonization ตามเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 เพื่อมุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) ได้แก่
Efficiency-driven: การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิต โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ลดการใช้พลังงาน และปรับเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานคาร์บอนต่ำ ผ่านโครงการอนุรักษ์พลังงานและโครงการพลังงานสะอาดที่ริเริ่มตั้งแต่ปี 2565 จนถึงปัจจุบัน จำนวนมากกว่า 190 โครงการ ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกได้กว่า 138,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
Portfolio-driven: การปรับโครงสร้างธุรกิจระยะยาวมุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ ดังเช่น GC มีการลงทุนในธุรกิจ Performance Material ของ allnex และธุรกิจเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงของ ENVICCO โดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าการดำเนินธุรกิจตามปกติ (GHG Avoidance) รวมกว่า 630,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี โดยในปี 2566 ENVICCO มีการนำพลาสติกใช้แล้วกว่า 22,000 ตัน กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ผ่าน GC YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม (End-to-End Waste Management) นอกจากนี้ GC มีการทบทวนกลยุทธ์และบริหารจัดการผลิตภัณฑ์ยั่งยืน (Sustainable Product Portfolio) ให้สอดรับกับแผนการลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่
Compensation-driven: การดำเนินงานเพื่อกักเก็บและชดเชยคาร์บอน ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ (Technology-based Solutions) โดย GC เข้าโครงการศึกษาความเป็นไปได้ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) หรือ CCS Hub Model ของกลุ่ม ปตท. รวมทั้ง มีการศึกษาการนำเทคโนโลยี Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) มาประยุกต์ใช้ผ่านความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ และการลงทุนในรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) และการชดเชยคาร์บอน ส่วนที่เหลือผ่านการดูดซับคาร์บอนจากธรรมชาติ (Nature-based Solutions) จากโครงการปลูก ฟื้นฟู และดูแลรักษาป่า ทั้งในพื้นที่ของ GC และ ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนต่างๆ ในหลายโครงการอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2566 บนพื้นที่รวมกว่า 8,600 ไร่ ได้แก่ โครงการป่านิเวศระยองวนารมย์ของ GC Estate โครงการปลูกป่าในพื้นที่สำนักงานระยองโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) โครงการปลูกต้นไม้ “ยิ่งปลูกยิ่งดี” GC x กทม. และโครงการจัดการคาร์บอนเครดิตในป่าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งคาดว่าโครงการทั้งหมดดังกล่าว จะสามารถดูดซับคาร์บอนได้ประมาณ 27,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ทิศทางการดำเนินงานปี 2567
ด้วยปัจจัยภายนอกทั้งจากเมกะเทรนด์ต่าง ๆ Industry Landscape รวมถึงภูมิรัฐศาสตร์ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและการดำเนินธุรกิจ จึงทำให้การดำเนินงานในปี 2567 ยังคงมีความท้าทาย GC จึงกำหนดทิศทางและทบทวนกลยุทธ์ 3 Steps Plus : Step Change, Step Out, Step Up ที่ดำเนินมาอย่างถูกทางแล้ว ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น และปรับให้สอดคล้องกับ Industry Landscape ที่เปลี่ยนแปลงไป
Step Change: สร้างรากฐานแข็งแกร่ง ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพ การควบคุมค่าใช้จ่าย และ การพัฒนาความร่วมมือในมิติต่างๆ รวมถึงมุ่งเน้นการเติบโตทางธุรกิจที่เน้นตลาด (Market-Focused Business) โดยการเพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Products: HVP) มีเป้าหมาย 56% ในปี 2571 และผลิตภัณฑ์นวัตกรรม
Step Out: แสวงหาโอกาสใหม่เพื่อสร้างการเติบโต และดูแลด้านต้นทุนของ allnex พร้อมขยายตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพเเละผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน (Bio & Circularity) มุ่งเน้นผลิตภัณฑ์รีไซเคิล รวมถึง Bio-Refinery โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องต่างๆ ได้มากมาย ทั้งในอุตสาหกรรมสุขอนามัยส่วนบุคคล อุตสาหกรรมยา อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ และอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ฯลฯ
Step Up: สร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ โดยดำเนินงานด้าน Decarbonization ให้เป็นไปตามเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593 รวมถึงมุ่งมั่นรักษาความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง
GC ยังวางแผนปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยการหาพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ และ Non-Core Business นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างศึกษาธุรกิจใหม่เกี่ยวกับไฮโดรเจนและคาร์บอน โดยใช้จุดแข็งและความเชี่ยวชาญที่ GC มีในธุรกิจไฮโดรคาร์บอน สร้างความแตกต่างและผลตอบแทนทางธุรกิจในอนาคต มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ที่ได้วางไว้ โดยที่ผ่านมา ได้มีการลงนามความร่วมมือศึกษาเทคโนโลยีการพัฒนาโรงงาน ปิโตรเคมีระหว่าง GC กับ บริษัท มิตซูบิชิ ฮีวี่ อินดัสทรี เอเชียแปซิฟิก จำกัด หรือ MHI-AP โดยมี 2 เป้าหมายหลัก ได้แก่ ศึกษาเพื่อเปรียบเทียบความเป็นไปได้ในการใช้ไฮโดรเจนและแอมโมเนีย เป็นเชื้อเพลิงสำหรับกังหันแก๊ส (Gas Turbine) และเทคโนโลยีการดักจับ จัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CCS) ในกระบวนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และศึกษาหาแนวทางการปรับปรุง เพิ่มประสิทธิภาพในระบบดักจับ จัดเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหมาะสมสำหรับกระบวนการผลิตไฮโดรเจน หรือ Steam Methane Reforming (SMR)
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
1. ยอดขายรถยนต์ 2566
2. คาร์บอนเครดิต คืออะไร
3. อบรมรถยนต์ไฟฟ้า 2567
4. Apple ครองตลาดสมาร์ทโฟนพรีเมียมในปี 2023
5. การเปลี่ยนแปลงของเครือข่ายไร้สาย 5G
6. ยอดจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า 2566
7. สถิติส่งออกกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนไทยปี 2566
8. เทคโนโลยีในงานโลจิสติกส์ มีอะไรบ้าง
9. กฎหมาย ปล่องระบาย อากาศ
10. solid state battery คือ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / X / YouTube @MreportTH