แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาส 3/2564

แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาส 3/2564

อัปเดตล่าสุด 29 ส.ค. 2564
  • Share :
  • 1,051 Reads   

กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2564

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า 

คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงยังมีความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ

อุตสาหกรรมไฟฟ้า

คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะยังคงมีการขยายตัวได้เพิ่มขึ้น โดยจะสะท้อนภาวะการผลิตและการส่งออกที่แท้จริงของประเทศได้มากขึ้น เนื่องจากมีฐานการคํานวณดัชนีและการส่งออกที่เริ่มกลับสู่ภาวะปกติจากสถานการณ์โควิด-19 โดยคาดว่าจะขยายตัวประมาณ ร้อยละ 10.0 และ 7.0 ตามลําดับ

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 8.0 และ 7.0 ตามลําดับ ตามการขยายตัวของตลาดโลกและตลาดผู้บริโภคหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว เช่น ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทยน่าจะมีการผลิตและการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นได้ตามการขยายตัวของตลาดโลก อย่างไรก็ตามต้องจับตา ได้แก่ สถานการณ์ขาดแคลนซิปทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศในระยะสั้นได้

อุตสาหกรรมรถยนต์

ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 380,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศร้อยละ 45-50 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 50-55

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

ประมาณการในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 480,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20 

อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์

คาดว่าผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันในยุค New Normal บรรจุภัณฑ์กระดาษจะขยายตัวได้ค่อนข้างมาก และได้อานิสงส์ตามการใช้งานสําหรับการสั่งสินค้าออนไลน์ ประกอบกับเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม์ ในขณะที่การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ  

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจําหน่ายคาดว่า จะเริ่มเห็นการปรับตัวลดลง เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความรุนแรงและขยายวงกว้างกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากการระบาดในปีนี้มีเชื้อกลายพันธุ์เข้ามาระบาดด้วย ทั้งนี้การระบาดได้แผ่ขยายเข้าไปในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐหลายแห่ง จนรัฐบาลต้องประกาศหยุดการก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออก คาดว่ายังสามารถขยายตัวได้จากตลาดส่งออกที่อยู่นอกอาเซียน

ภาวะอุตสาหกรรมสิ่งทอจะขยายตัวต่อเนื่องด้วยฐานที่ต่ำในปีก่อน ประกอบกับคําสั่งซื้อจากต่างประเทศที่มีอย่างต่อเนื่องตลอดโซ่อุปทาน ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มน่าจะชะลอตั

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

วตามกําลังซื้อในประเทศที่ลดลง จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น และได้รับผลกระทบจากปัญหาการระบาดของคลัสเตอร์โรงงาน แต่มีสัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดรวม อย่างไรก็ตาม ความต้องการเครื่องนุ่งห่มในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าสําคัญที่เศรษฐกิจฟื้นตัว เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป

อุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน

คาดการณ์ว่า ปริมาณการผลิตเครื่องเรือนทําด้วยไม้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศเป็นหลัก ในขณะที่ปริมาณการจําหน่ายเครื่องเรือนทําด้วยไม้ในประเทศ คาดการณืว่าจะยังคงชะลอตัวจากผลกระทบการระบาดระลอกล่าสุดที่เกิดขึ้น

อุตสาหกรรมยา

คาดว่าจะชะลอตัวลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.48 ตามแนวโน้มการหดตัวต่อเนื่องของตลาดในประเทศ สําหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะเมียนมา กัมพูชา และลาว

อุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยาง

การผลิตยางรถยนต์ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.23 ตามแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องและตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.67 ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นทั่วโลก สําหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคายางทําให้มีแนวโน้มปริมาณยางเข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมอาหาร

คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดคู่ค้าหลักยังคงมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่องจากการคลายมาตรการล็อกดาวน์ ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตและการส่งออกยังมีความเสี่ยงจากการระบาดของโควิดรอบใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศและประเทศคู่ค้า ซึ่งอาจส่งผลต่อกําลังซื้อของผู้บริโภคลดลง

 

อ่านย้อนหลัง:

 

บทความยอดนิยม 10 อันดับ

 

อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th   

Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH