ศูนย์วิจัยอุตฯ ยานยนต์สมัยใหม่ ส่งสัญญาณเฝ้าระวังอุตฯ ยานยนต์ ถึงเดือน ต.ค. 65
ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ สถาบันยานยนต์ ส่งสัญญาณเฝ้าระวังอุตสาหกรรมยานยนต์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม 2565 ตามระบบสัญญาณเตือนภัยภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Early Warning System) ซึ่งประมวลผลจากข้อมูลในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา
จากรายงานสถิติอุตสาหกรรมยานยนต์ประจำเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 143,016 คัน เพิ่มขึ้น 6.53% (MoM) และเพิ่มขึ้น 10.67% (YoY) โดยเพิ่มขึ้นจากการผลิตเพื่อขายในประเทศเพิ่มขึ้นถึง 20.69% โดยมีสัดส่วน 50.35% ของยอดการผลิต แต่ผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกได้เพียง 10,466 คัน ลดลง 53.52% (YoY) เนื่องจากการขาดชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์ในรถยนต์บางรุ่น ทั้งนี้ รวมครึ่งปีแรก (มกราคม - มิถุนายน 2565) ผลิตได้ 870,109 คัน เพิ่มขึ้น 3.02% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ช้ำอีกรอบ ‘โตโยต้า’ ประกาศลดกำลังการผลิตอีก 100,000 คัน มิ.ย. นี้
- ยอดผลิตรถยนต์ 2565 ครึ่งปีแรก รวม 8.7 แสนคัน เดือน มิ.ย. ผลิตเพิ่มขึ้น 6.53%
- ดัชนีราคาผู้ผลิตไทย 2565 เดือน ก.ค. เพิ่มขึ้น 12.2% เทียบปีก่อน
โดยอุปสงค์ต่างประเทศ ดัชนีต่างประเทศส่งสัญญาณเตือนภัยทุกดัชนี โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคออสเตรเลียส่งสัญญาณเตือนภัยต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 จากราคาสินค้าที่เพิ่มจากเงินเฟ้อ และดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาด เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจยุโรป และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอเมริกาที่ปรับตัวลงต่ำที่สุดเท่าที่เคยเก็บข้อมูล
ด้านอุปสงค์ในประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจไทยยังคงส่งสัญญาณปกติจากดัชนีที่ปรับตัวขึ้นจากความเชื่อมั่นด้านการลงทุน ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ดัชนีราคาสินค้าเกษตรส่งสัญญาณปกติเช่นกัน จากการปรับตัวของราคาน้ำมันปาล์มเนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้พืชพลังงานทดแทนของตลาดโลก
ขณะที่อุปทาน มูลค่าการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ในเดือนมิถุนายนส่งสัญญาณปกติต่อเนื่อง จากการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากประเทศญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย
#อุตสาหกรรมยานยนต์ #ศูนย์วิจัยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ #สถาบันยานยนต์ #ผู้ผลิตรถยนต์ #ยอดผลิตรถยนต์ #ชิ้นส่วนยานยนต์ #ดัชนีความเชื่อมั่นของต่างชาติ #ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจไทย #ภาวะเงินเฟ้อ
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH