เปิดผลสำรวจ ภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?
ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ “ภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?” พบส่วนใหญ่เห็นด้วย เอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคยุคหลังโควิด พร้อมนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ
Advertisement | |
วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2564 นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 ในเดือนกันยายน 2564 ภายใต้หัวข้อ “ภาคอุตสาหกรรมพร้อมเปิดประเทศแล้วหรือยัง?” พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ โดยขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายที่มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางธุรกิจมากขึ้น และบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เศรษฐกิจเดินต่อไปได้
นอกจากนี้ ยังเสนอให้ภาครัฐช่วยเหลือผู้ประกอบการพักชำระหนี้ และหยุดคิดดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ภาคเอกชน รวมทั้งการขยายระยะเวลาเคอร์ฟิวเพื่อให้ธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ พร้อมแนะภาคเอกชนเร่งปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงหลังโควิด-19
จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 10 จำนวน 7 คำถาม ดังนี้
1. ท่านเห็นด้วยกับแผนการเปิดประเทศและผ่อนคลายมาตรการ Lockdown ในช่วงเดือนตุลาคม - พฤศจิกายนนี้ หรือไม่
อันดับที่ 1 : เห็นด้วย 78.0%
อันดับที่ 2 : ไม่เห็นด้วย 22.0%
2. ปัจจัยใดที่ต้องนำมาพิจารณาในการเปิดประเทศ
อันดับที่ 1 : อัตราการฉีดวัคซีน 2 เข็ม ให้แก่ประชาชน ไม่ต่ำกว่า 70% 86.0%
อันดับที่ 2 : มาตรการคัดกรอง ตรวจติดตามผู้เดินทางเข้าประเทศ 66.7%
อันดับที่ 3 : ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน 62.7%
อันดับที่ 4 : ความพร้อมด้านระบบสาธารณสุขในการรองรับผู้ติดเชื้อในแต่ละพื้นที่ 59.3%
3. ภาครัฐควรดำเนินนโยบายการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และดูแลเศรษฐกิจอย่างไร
อันดับที่ 1 : ผ่อนคลายภาคธุรกิจและบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเท่าที่จำเป็น 73.3%
อันดับที่ 2 : เข้มงวด ในการบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคทุกช่องทาง 14.0%
อันดับที่ 3 : เร่งเปิดประเทศ โดยให้ความสำคัญด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจเป็นสำคัญ 12.7%
4. แนวทางการเปิดประเทศแบบใด ที่มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
อันดับที่ 1 : เปิดให้อยู่ในพื้นที่ Sandbox 14 วัน หากไม่พบเชื้อหลัง 14 วัน สามารถเดินทางได้ทั่วประเทศ 44.7%
อันดับที่ 2 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ ในรูปแบบการจับคู่ระหว่างประเทศ (Travel Bubble) โดยไม่ต้องกักตัว 26.0%
อันดับที่ 3 : เปิดเฉพาะพื้นที่ Sandbox เท่านั้น ห้ามออกนอกพื้นที่ 16.7%
อันดับที่ 4 : เปิดให้เดินทางได้ทั่วประเทศ แต่ต้องผ่านการกักตัวในสถานที่กักตัว 14 วัน 12.6%
5. การเตรียมความพร้อมเปิดประเทศ รัฐควรให้ความสำคัญในเรื่องใด
อันดับที่ 1 : การเร่งฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในพื้นที่ Sandbox 70.0%
อันดับที่ 2 : การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชน 69.3%
อันดับที่ 3 : ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการติดตามและเฝ้าระวังผู้เดินทางเข้าประเทศ 67.3%
อันดับที่ 4 : ความพร้อมในการตรวจเชื้อแบบ RT-PCR และการจัดหาชุดตรวจ Antigen Test Kit 63.3%
6. หลังเปิดประเทศ รัฐควรมีการส่งเสริมอย่างไร
อันดับที่ 1 : พักชำระหนี้และหยุดคิดดอกเบี้ย สำหรับธุรกิจท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง เป็นระยะเวลา 6 เดือน 76.0%
อันดับที่ 2 : ขยายระยะเวลาเคอร์ฟิว และผ่อนผันให้ธุรกิจร้านอาหาร และธุรกิจบันเทิงเปิดให้บริการได้ 74.0%
อันดับที่ 3 : ออกมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยว และสนับสนุนการจัดงาน Exhibition และการประชุมในประเทศ 54.0%
อันดับที่ 4 : ลดค่าน้ำ ค่าไฟ อุดหนุนค่าเช่า ให้แก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง 50.7%
7. ภาคอุตสาหกรรมควรเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศอย่างไร
อันดับที่ 1 : ปรับ Business Model ให้เข้ากับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง 73.3%
อันดับที่ 2 : นำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจ 71.3%
อันดับที่ 3 : พัฒนาสินค้าและบริการที่ให้ความสำคัญด้านสุขอนามัย และการรับรองมาตรฐานด้านสุขอนามัย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค 66.0%
อันดับที่ 4 : ปฏิบัติตามมาตรการ Bubble and Seal ในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อลดความเสี่ยง 57.3%
อ่านเพิ่มเติม: อุตสาหกรรมการผลิตหลังโควิด Digitalization คือ จุดสตาร์ท
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH