สจล. เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมการบินและอวกาศ” ปั้นคนไทยสร้างนวัตกรรมทางอากาศอย่างเต็มตัว รับสมัครวันนี้ - 31 มี.ค. 65
ว.อุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สจล. เปิดหลักสูตรใหม่ “วิศวกรรมการบินและอวกาศ” ปั้นคนไทยสร้างนวัตกรรมทางอากาศอย่างเต็มตัว โดยรับ น.ศ. เข้าศึกษาต่อจำนวน 30 คน ในรอบระบบ TCAS 65 รอบ 2 สามารถเลือกวิชาเอกได้ 3 สาขา สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ - 31 มี.ค. 65
วันที่ 22 มีนาคม 2565 วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดหลักสูตรใหม่ “วิศวกรรมการบินและอวกาศ” (Aerospace Engineering) เพิ่มขีดความสามารถคนไทยสู่เส้นทางการสร้างนวัตกรรมทางอากาศอย่างเต็มตัว หลักสูตรนานาชาติที่มีความยืดหยุ่นสูงโดยนักศึกษาสามารถเลือกเรียนวิชาเอกได้ 3 สาขา ได้แก่ วิศวกรรมซ่อมบำรุงเครื่องบิน UAV และวิศวกรรมด้านอวกาศ ในชั้นปี 4 ทั้งนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้และปฏิบัติจริงกับเครื่องมือและห้องปฏิบัติการที่ทันสมัย โดยความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ENAC (มหาวิทยาลัยการบินพลเรือนแห่งชาติของประเทศฝรั่งเศส) Airbus Space camp Thailand และ US Space & Rocket Center มุ่งเน้นการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมการบินโดรนและยานบินระดับสูง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ อากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) พร้อมทั้งสนับสนุนจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาทักษะทางด้านนวัตกรรมให้กับนักศึกษา เพื่อต่อยอดองค์ความรู้ เช่น วิศวกรซ่อมบำรุงเครื่องบิน วิศวกรดูแลและออกแบบระบบต่างๆ เกี่ยวกับเครื่องบิน วิศวกรภาคพื้นดินที่สนับสนุนด้านการบิน การควบคุมและสร้างนวัตกรรมโดรนด้านการเกษตร โดรนการแสดง โดรนสำรวจระยะไกล เช่น พื้นที่การเกษตร สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติต่าง ๆ โดรนส่งของ การทำ Startup รวมทั้งการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร เป็นต้น
หลักสูตรวิศวกรรมการบินและอวกาศ (หลักสูตรนานาชาติ) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี เปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อจำนวน 30 คน ในรอบระบบ TCAS 65 รอบ 2 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 มี.ค. 2565 สนใจอ่านรายละเอียดการเปิดรับสมัคร คลิกที่นี่ นักเรียน/นักศึกษาที่สนใจ สามารถเข้า Line @IAAI สมัครหรือลงทะเบียนรับข้อมูลข่าวสารได้ทันที หรือสมัครได้ที่ https://new.reg.kmitl.ac.th/admission/#/
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH