สภาวิศวกร เตรียมเปิด “พอร์ต (ฟอลิโอ) วิศวกรไทย” หนุนแมชชิ่ง วิศวกรและผปก. ภาคอุตฯ ไทย-อีอีซี
สภาวิศวกร ผนึกภาคการศึกษา-ภาคอุตสาหกรรม เตรียมเปิด “พอร์ต (ฟอลิโอ) วิศวกรไทย” พอร์ตเดียวครบจบทุกความเชี่ยวชาญ หนุนแมชชิ่ง วิศวกรและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 สภาวิศวกร ผนึกสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา และผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม เตรียมเปิด “พอร์ต (ฟอลิโอ) วิศวกรไทย” พอร์ตเดียวที่รวบรวมข้อมูลและความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมของวิศวกรไทยรายบุคคลไว้ในระบบคลาวด์ มาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลขั้นสูง หนุนเพิ่มความสะดวกในการค้นหาของภาคธุรกิจ-อุตสาหกรรมไทยและเขตอีอีซี เพื่อให้เกิดการแมชชิ่งแรงงานศักยภาพสูงและสถานประกอบการ สู่การขับเคลื่อนภาพรวมของเศรษฐกิจไทยแบบยั่งยืน
โดย “พอร์ต (ฟอลิโอ) วิศวกรไทย” จะรวบรวมข้อมูลวิศวกรไทยใน 2 กลุ่ม ได้แก่ 1. วิศวกรรุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรด้านวิศวกรรม และ 2. วิศวกรชำนาญการที่มีประสบการณ์ทำงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถรวบรวมข้อมูลและเปิดใช้พอร์ตดังกล่าวได้ภายในปลายปี 2565
รศ. ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากการขยายตัวของโครงการเมกะโปรเจกต์ระดับประเทศและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นผลให้วิศวกรศักยภาพสูงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานจำนวนมาก แต่กลับพบข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการกับวิศวกรไทย สภาวิศวกร จึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรภาคการศึกษา องค์กรวิชาชีพ และสถานประกอบการระดับอุตสาหกรรม อาทิ สภาคณบดีวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (สควท.) วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) พัฒนา “พอร์ต(ฟอลิโอ)วิศวกรไทย” (Engineering Portfolio) พอร์ตเดียวที่รวบรวมข้อมูลและความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมรายสาขา (Professional Achievement) ของวิศวกรไทยไว้ในระบบคลาวด์ด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing ที่มาพร้อมระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลขั้นสูง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการค้นหาแรงงานศักยภาพสูงเข้าทำงานแก่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรมไทย รวมถึงเขตอีอีซีในอนาคต ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศภาพรวมได้อย่างยั่งยืน
รศ. ดร.ปิยะบุตร กล่าวเพิ่มเติมว่า “พอร์ต(ฟอลิโอ)วิศวกรไทย” จะทำการจัดเก็บข้อมูลของวิศวกรไทยใน 2 กลุ่มสำคัญ ที่ครอบคลุมกลุ่มวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม 7 สาขาและไม่ควบคุม 17 สาขา ได้แก่ 1. วิศวกรรุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรด้านวิศวกรรม จากสถานศึกษามากกว่า 60 แห่งทั่วประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ 2. วิศวกรชำนาญการที่มีประสบการณ์ทำงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนมากกว่า 160,000 ราย (อ้างอิงข้อมูลจาก ฐานข้อมูลวิศวกรผู้ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สภาวิศวกร ปี 2565) ประกอบด้วย วุฒิวิศวกร 4,300 ราย สามัญวิศวกร 18,000 ราย ภาคีวิศวกร 135,000 ราย และภาคีวิศวกรพิเศษ 3,800 ราย ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถรวบรวมข้อมูลและเปิดใช้พอร์ตดังกล่าวได้ภายในปลายปี 2565
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH