บ๊อช เปิดโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ รับวิกฤตชิป Semiconductor ขาดแคลนทั่วโลก
โรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ของบ๊อช เมืองเดรสเดน เยอรมนี มูลค่ากว่า 1 พันล้านยูโร เตรียมส่งชิปตัวแรกออกจากสายการผลิตในเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อติดตั้งในเครื่องมือไฟฟ้าของบ๊อช และการผลิตชิปสำหรับลูกค้ายานยนต์จะเริ่มในเดือนกันยายน ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาชิปที่กำลังขาดแคลนทั่วโลก
Advertisement | |
บ๊อช (Bosch) เปิดโรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในเมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมนี ด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์และควบรวมกระบวนการผลิตแบบบูรณาการ ผสานกับการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้โรงงานในเดรสเดนของบ๊อชกลายเป็นโรงงานอัจฉริยะและเป็นผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรม 4.0 ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ดร.อังเกลา แมร์เคิล รองประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป มาร์เกรเธ เวสตาเกอร์ และ มิคาเอล เครทช์แมร์ มุขมนตรีแห่งแซกโซนี ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดโรงงานเมื่อเร็ว ๆ นี้
“เทคโนโลยีล้ำสมัยที่จัดแสดงที่โรงงานเดรสเดน แห่งใหม่นี้ เป็นตัวอย่างที่ดีของการผสานความร่วมมือกันของชาวยุโรปทั้งภาครัฐและเอกชน จนสัมฤทธิ์ผลเมื่อพวกเขาร่วมแรงร่วมใจกัน เซมิคอนดักเตอร์จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การขนส่ง การผลิต พลังงานสะอาด และการดูแลสุขภาพ ที่ซึ่งยุโรปมีความเป็นเลิศ จะช่วยเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของยุโรปในฐานะแหล่งกำเนิดนวัตกรรมที่ทันสมัย” รองประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป มาร์เกรเธ เวสตาเกอร์ กล่าว
“ด้วยความช่วยเหลือของปัญญาประดิษฐ์ เราจะยกระดับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในเมืองเดรสเดนไปอีกระดับ” ดร.โฟลค์มาร์ เดนเนอร์ ประธานกรรมการบริหารของ Robert Bosch GmbH กล่าว “ที่นี่คือโรงงาน AIoT แห่งแรกของเรา: การเชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์ ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ด้วยตัวเองตั้งแต่เริ่มต้น”
บ๊อชลงทุนประมาณหนึ่งพันล้านยูโร ในโรงงานที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งนี้ ครั้งนี้เป็นการลงทุนในคราวเดียวครั้งที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทที่ก่อตั้งมากว่า 130 ปี การผลิตในเดรสเดนจะเริ่มในเดือนกรกฎาคม ซึ่งเร็วกว่าแผนที่วางไว้หกเดือน นับจากนั้นเป็นต้นไป เซมิคอนดักเตอร์ที่ผลิตในโรงงานแห่งใหม่จะถูกติดตั้งในเครื่องมือไฟฟ้าของบ๊อช สำหรับลูกค้ายานยนต์ การผลิตชิปจะเริ่มในเดือนกันยายน ซึ่งเร็วกว่าแผนที่วางไว้สามเดือน
โรงงานใหม่แห่งนี้จะเป็นส่วนสำคัญของเครือข่ายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ ด้วยเหตุนี้ บ๊อชได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับเยอรมนี ในฐานะของเทคโนโลยีและพื้นที่ตั้งดำเนินธุรกิจ บนพื้นที่ 72,000 ตารางเมตร พนักงานกว่า 250 คน กำลังทำงานอยู่ที่โรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองหลวงของรัฐแซกโซนี คาดว่าจะมีแรงงานเพิ่มอีกกว่า 700 คน เมื่องานก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ด้วยวิธีนี้ บริษัทยังคงดำเนินตามกลยุทธ์การเติบโตในการพัฒนาและการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ “ความเชี่ยวชาญนี้เป็นกุญแจสำคัญของระบบโซลูชั่น เทคโนโลยีขั้นสูงที่มีมากมายและผลิตโดยบ๊อช” เดนเนอร์กล่าว
- Bosch เชื่อ อนาคตยานยนต์คือ “PACE” ไม่ใช่ “CASE”
- บ๊อชสยายปีกขึ้นแท่นผู้นำ IoT แห่งยุค
- บ๊อชเผยผลประกอบการและยอดขายปี 2561 สูงเป็นประวัติการณ์อีกครั้ง
ผู้บุกเบิกในอุตสาหกรรม 4.0
เครื่องจักรที่สามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง งานซ่อมบำรุงที่ควบคุมจากระยะทางไกลกว่า 9,000 กิโลเมตร แว่นตาที่มีกล้องในตัว: ด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นในเมืองเดรสเดนเป็นหนึ่งในแว่นตาที่ล้ำสมัยที่สุดในโลกด้วยการผสมผสานปัญญาประดิษฐ์และอินเทอร์เน็ตจากทุกสรรพสิ่งในรูปแบบที่จับต้องได้ นั่นหมายความว่าข้อมูลทั้งหมดในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องจักร เซนเซอร์และผลิตภัณฑ์ ถูกรวบรวมไว้ในฐานข้อมูลกลาง ข้อมูลจะได้รับการประเมินโดยใช้วิธีการของปัญญาประดิษฐ์ ในกระบวนการนี้ อัลกอริธึมการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยตนเองจะเรียนรู้วิธีคาดการณ์ตามข้อมูล
ด้วยวิธีนี้ กระบวนการผลิตและการบำรุงรักษาสามารถวิเคราะห์ได้แบบเรียลไทม์ ในทางกลับกัน ผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์สามารถเข้าสู่การผลิตเต็มรูปแบบได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้ลูกค้ายานยนต์ไม่ต้องเสียเวลารอการทดสอบ ซึ่งอาจจำเป็นสำหรับการผลิตก่อนออกสู่ตลาด
“ฝาแฝดทางดิจิทัล”: โรงงานคู่เหมือน
ในระหว่างการก่อสร้าง ทุกส่วนของโรงงานและข้อมูลการก่อสร้างทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการสร้างโรงงานจะถูกบันทึกในรูปแบบดิจิทัลและแสดงเป็นภาพในรูปแบบสามมิติเสมือนคู่แฝดของโรงงาน ประกอบด้วยวัตถุ 3 มิติประมาณครึ่งล้านชิ้น รวมถึงอาคารและโครงสร้างพื้นฐาน ระบบจ่ายและกำจัด ท่อสายเคเบิล และระบบระบายอากาศ รวมทั้งเครื่องจักรและสายการผลิต สิ่งนี้ทำให้ บ๊อช สามารถจำลองแผนงานทั้งหมด สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของทั้งกระบวนการสร้างและงานปรับปรุงใหม่ โดยไม่ต้องเข้าไปแทรกแซงในการดำเนินงานที่มีอยู่ งานบำรุงรักษาในโรงงานเดรสเดนยังใช้เทคโนโลยีชั้นสูง: แว่นตาอัจฉริยะและเทคโนโลยีการผสมผสานโลกเสมือนจริง (AR) ซึ่งหมายความว่างานบำรุงรักษาเครื่องจักรสามารถทำได้จากระยะไกล
เซมิคอนดักเตอร์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและความปลอดภัยทางท้องถนน
ในรูปแบบของไมโครชิป สารกึ่งตัวนำสามารถพบได้ในอุปกรณ์ทางเทคนิคแทบทุกชนิด – ในสมาร์ทโฟน โทรทัศน์ และนาฬิกาข้อมือสำหรับใส่ออกกำลังกาย หากไม่มีเซมิคอนดักเตอร์ รถยนต์ก็ใช้งานไม่ได้ไม่ว่าจะในวันนี้หรือในอนาคต ในปี พ.ศ. 2562 รถยนต์รุ่นใหม่ทุกคันทั่วโลกจะมีส่วนประกอบของชิปจากบ๊อช โดยเฉลี่ยมากกว่า 17 ชิป ในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ชุดควบคุมถุงลมนิรภัย ระบบเบรก และระบบช่วยจอดอัจฉริยะ
ในอนาคตผู้เชี่ยวชาญคาดว่าจะเห็นการเติบโตที่แข็งแกร่งที่สุดในระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ขั้นสูง สาระความบันเทิงในรถยนต์ และระบบไฟฟ้าของระบบส่งกำลัง ด้วยโรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองเดรสเดน บ๊อชจึงตอบสนองต่อความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ที่เพิ่มขึ้น “เซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนสำคัญของความก้าวหน้า ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งชิปจากเดรสเดนจะทำให้การใช้งานต่าง ๆ เช่น การขับขี่แบบอัตโนมัติควบคู่ไปกับการขับขี่ที่ประหยัดพลังงานและอนุรักษ์ทรัพยากร ตลอดจนการคุ้มครองผู้โดยสารที่ดีที่สุด” ฮาราล์ด เครอเกอร์ สมาชิกคณะกรรมการบริหารของ Robert Bosch GmbH กล่าว
ความเชี่ยวชาญด้านเซมิคอนดักเตอร์ถือเป็นความได้เปรียบในการแข่งขัน
ตลอดอายุการใช้งานของรถยนต์ ชิปต้องเผชิญกับการสั่นสะเทือนที่รุนแรงและอุณหภูมิที่มีความผันผวนสูง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ชิปต้องเป็นไปตามมาตรฐานความน่าเชื่อถือที่สูงยิ่งขึ้น สิ่งนี้ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และ บ๊อชสะสมความเชี่ยวชาญดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ นักพัฒนาและวิศวกรของบริษัทเข้าใจหลักการทางกายภาพที่อยู่เบื้องหลังส่วนประกอบยานยนต์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งนี้ก่อให้เกิดระบบที่สมบูรณ์ที่สามารถป้องกันอุบัติเหตุและปกป้องสิ่งแวดล้อม ซึ่งบริษัทเป็นศูนย์รวมในการพัฒนาและผลิตระบบดังกล่าว
“Silicon Saxony”: ที่ตั้งโรงงานผลิตไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป
“ซิลิคอน แซกโซนี” คือที่ตั้งโรงงานผลิตไมโครอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และใหญ่เป็นอันดับห้าของโลก หนึ่งในสามของชิปทั้งหมดที่ผลิตในยุโรปผลิตขึ้นที่นี่ ภูมิภาคนี้มีเงื่อนไขที่สมบูรณ์แบบสำหรับสิ่งนี้ มิคาเอล เครทช์แมร์ มุขมนตรีแห่งแซกโซนี กล่าวเสริมว่าโครงสร้างพื้นฐานของเดรสเดนนั้นเอื้ออำนวยอย่างยิ่ง ทุกสิ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งการเชื่อมต่อการคมนาคมขนส่งก็เพียบพร้อม รวมถึงบริษัทจัดหายานยนต์ บริการ และอุตสาหกรรมอื่นๆ ตลอดจนมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยที่เสนอความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี
#โรงงานผลิตชิป #โรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ของบ๊อช #โรงงานผลิตไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ใหญ่ที่สุด #โรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทันสมัยที่สุด #โรงงาน AIoT #เครื่องจักรอัตโนมัติ #กระบวนการผลิตแบบบูรณาการ #AI #อุตสาหกรรม 4.0 #โรงงานอัจฉริยะ #Smart Factory #Industry 4 #บ๊อช #Bosch #Germany #ไมโครชิป #Microchip #Microelectronics #Semiconductor #Electronics #Automotive #Automotive Electronics #ชิปขาดตลาด #Chip Shortage 2021 #Semiconductor Shortage 2021
วิกฤตชิปขาดตลาด
- ชิปขาดตลาด! ยังอีกยาว Intel คว้าโอกาสลงทุน ขยายการผลิต เปิด 2 โรงงานใหม่
- อุตฯ ยานยนต์วิกฤตหนัก หลายชิ้นส่วนขาดตลาด กระทบการผลิตทั่วโลก
-
วิกฤตขาดแคลนชิป ปัญหาใหญ่ที่ไม่อาจมองข้าม?
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- นิยามใหม่ SME ปี 63 ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- 8 แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคต (8 Industry’s Mega Trend)
- 10 รับเหมาฝ่าวิกฤตโกยรายได้ปี”62 ITD ยืนหนึ่ง “ซิโน-ไทยฯ” แซงหน้า “ช.การช่าง”
- บอร์กวอร์เนอร์ (BorgWarner) ฉลองเปิดโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมฯ อีสเทิร์นซีบอร์ด (ระยอง)
- เซ็นแล้ว! 'อู่ตะเภา-เมืองการบินภาคตะวันออก' เฟสแรกเสร็จปี 67
- ยอดขายรถยนต์เมษายน 2564
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH