สจล. ร่วม รฟท. ยกระดับขนส่งทางรางไทย สู่ระบบไฟฟ้า ชูคิดค้นนวัตกรรมพลังงานสะอาด
สจล. เซ็น MOU รฟท. ยกระดับขนส่งทางรางไทย เปลี่ยนรถจักรดีเซลไฟฟ้าและรถดีเซลราง ไปสู่ระบบรถจักรไฟฟ้า และรถไฟฟ้า พร้อมชูการคิดค้นนวัตกรรมพลังงานสะอาดขานรับนโยบายรัฐ
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางด้านรถจักรล้อเลื่อน เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า” ผ่านแพลตฟอร์มวิดีโอคอลในระบบซูม (Zoom)
โดยข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ จะประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่ 1. พัฒนาด้านวิศวกรรมในการเปลี่ยนรถจักรดีเซลไฟฟ้าและรถดีเซลราง 2. พัฒนาด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับสถานีจ่ายไฟฟ้า เพื่อดันงานวิจัยขับเคลื่อนการขนส่งของรถจักรล้อเลื่อนให้สามารถขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้หลากมิติ ทั้งวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมปิโตรเลียม ฯลฯ ขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม ที่รุดผลักดันการใช้เทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ ส่งเสริมพลังงานสะอาด ลดมลพิษในด้านต่าง ๆ
- กรมการขนส่งทางราง ร่วม วิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการศึกษาจัดทำมาตรฐานระบบรถไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ
- Perspective ระบบราง ประเทศไทย
- ก่อร่าง สร้างระบบราง อีกก้าวใหญ่ของประเทศไทย
ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เปิดเผยว่า ด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสของการพัฒนาระบบขนส่งและการคมนาคมโดยรถไฟ ที่ในอนาคตหากมีการปรับตัวสู่การเลือกใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานไฟฟ้าเพื่อลดมลพิษทางอากาศอย่างยั่งยืน อีกทั้ง สจล. ที่มีพื้นที่ตั้งใกล้ชิดกับจุดจอดรถไฟสถานีพระจอมเกล้า มีศักยภาพในการพัฒนางานวิจัยในหลากหลายมิติ ตลอดจนความเข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สจล. ที่สามารถตอบโจทย์ทั้งภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ในฐานะ The World Master of Innovation สู่บทบาทการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมระดับโลก จากการจัดอันดับ Times Higher Education World University Rankings 2021 (Asia-Pacific) จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วเอเชียให้เป็นเบอร์ 1 มหาวิทยาลัยไทยด้านงานวิจัย (Research) ด้านรายได้จากภาคอุตสาหกรรม (Industry Income) และมีคะแนนรวมเป็นอันดับที่ 5 ของไทยและภูมิภาคอาเซียน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science & Tech University)
ดังนั้น สจล. โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงมีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้และเทคโนโลยี ด้านบุคลากรและทรัพยากร เพื่อให้ความร่วมมือกับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางด้านรถจักรล้อเลื่อน เพื่อพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า” เพื่อผลักดันงานวิจัยพัฒนาการขนส่งของรถจักรล้อเลื่อน ให้สามารถขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าได้อย่างมีเสถียรภาพ บนพื้นฐานการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับรถไฟ ที่ครอบคลุมศาสตร์ด้านวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมปิโตรเลียม ฯลฯ
- รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เดินต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
- วว. เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย ชวนใช้บริการ "ศูนย์ทดสอบมาตรฐานขนส่งทางราง"
- รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คืบหน้า เตรียมก่อสร้าง concrete yard ยันพร้อมเปิดบริการปี'68
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวต่อว่า ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย มีแผนการพัฒนาปรับปรุงระบบรถไฟให้เป็นระบบรถไฟฟ้าครอบคลุมโครงข่ายทางรถไฟทั่วประเทศ รองรับการเดินทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าของประเทศ และกระทรวงคมนาคมมีนโยบายที่จะผลักดันการใช้เทคโนโลยีระบบรถไฟฟ้าสำหรับการขนส่งสาธารณะ เพื่อส่งเสริมพลังงานสะอาด ลดมลพิษในด้านต่าง ๆ รวมถึงผลักดันการใช้พลังงานของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับทิศทางของเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ จึงได้ร่วมกับ สจล. ในการร่วมกันคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีด้านการขนส่งทางรางด้านรถจักรล้อเลื่อนเพื่อพัฒนาไปสู่ระบบไฟฟ้า และส่งเสริมการใช้วัสดุในประเทศ เพื่อให้มีรูปแบบการบริการใหม่แก่ประชาชน มีวัตถุประสงค์การร่วมมือ ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาด้านวิศวกรรมในการเปลี่ยนรถจักรดีเซลไฟฟ้าและรถดีเซลราง จากการใช้พลังงานน้ำมันดีเซล ไปสู่ระบบรถจักรไฟฟ้า และรถไฟฟ้า จากพลังงานไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ เช่น ระบบจ่ายไฟเหนือหัว (Overhead Catenary System) ระบบพลังงานทางเลือกจาก hydrogen fuel cell หรือระบบรถไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (Electric Vehicle หรือ EV) และการใช้แบตเตอรี่ในระบบขับเคลื่อนของรถไฟ
2. แนวทางการพัฒนาด้านวิศวกรรมเกี่ยวกับสถานีจ่ายไฟฟ้า สถานีประจุพลังงานไฟฟ้าของระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
ทั้งนี้ การร่วมมือทางด้านวิชาการดังกล่าว เพื่อพัฒนาการขนส่งระบบรางของการรถไฟฯ ไปสู่ระบบไฟฟ้าในด้านต่างๆ ดังเช่นต่างประเทศที่ได้เริ่มมีการพัฒนาระบบไฟฟ้ารูปแบบใหม่มากขึ้น อาทิ ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมนี ซึ่งได้มีการวิจัยในการนำพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่มาขับเคลื่อนรถไฟ ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยังสอดคล้องกับแผนงานและนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งมั่นผลักดันการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบคมนาคมขนส่งให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม และยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านอุตสาหกรรมขนส่งทางรางให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศอีกด้วย นายนิรุฒ กล่าวทิ้งท้าย
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- บทเรียน 'หมิงตี้ เคมีคอล' สู่มาตรการป้องกันไฟไหม้โรงงาน ระยะสั้น-ยาว
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- อุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ไทย ปี 2564
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- อุตสาหกรรม 4.0 การผลิตแห่งอนาคต
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH