สถาบันยานยนต์-เจโทร ร่วมพัฒนายานยนต์สมัยใหม่ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
สถาบันยานยนต์ (สยย.) และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) จัดทำความร่วมมือภายใต้อนุสัญญาภาคี (Letter of Intent: LOI) กรอบระยะเวลา 1 ปี (พ.ศ.2565 – 2566) ส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าภายในประเทศไทย ณ โรงแรม แชงกรี-ลา กรุงเทพฯ
- สยย. เดินหน้า ให้บริการทดสอบ-พัฒนาตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ามาตรฐาน EV สู่ตลาดโลก
- รถยนต์ไฟฟ้า xEV จดทะเบียนใหม่ 2564 เดือน พ.ย. เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันปีก่อน
- ก.อุตฯ ร่วมเมติ ผลักดันแนวคิดบีซีจี ด้วยเอเจไอเอฟ เน้นเทคโนโลยี-นวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรม
เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 สถาบันยานยนต์ (สยย.) โดยนายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันฯ ร่วมลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) ร่วมกับ นายทาเคทานิ อัทสึชิ (Mr. TAKETANI ATSUSHI) ผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือเจโทร ซึ่งภายในงานได้รับเกียรติจาก นายฮากิอุดะ โคอิจิ (H.E. Mr. HAGIUDA KOICHI) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น (METI) และนายสุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เกียรติเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามครั้งนี้ โดยสาระสำคัญของความร่วมมือฉบับนี้ มีดังนี้
1. ส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนายานยนต์สมัยใหม่
2. แลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์สมัยใหม่ อาทิ ความปลอดภัยจากไฟฟ้าแรงสูง การทดสอบ การรีไซเคล และการนำแบตเตอรี่กลับมาใช้ใหม่
3. การเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับเทคโนโลยีพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศไทย รวมถึงแบตเตอรี่ และมอเตอร์ไฟฟ้า
4. ร่วมกันพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์ เพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
5. ส่งเสริมความร่วมมือเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในอุตสาหกรรมยานยนต์
ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้เป็นความร่วมมือที่มีมาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ที่มีมาให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น นอกจากสาระสำคัญของร่วมมือที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น สถาบันยานยนต์ และองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น จะร่วมกันจัดประชุมหารือแลกเปลี่ยนความรู้ด้านยานยนต์แห่งอนาคตขึ้น เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งเป็นพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของทั้งสองประเทศ ให้มีความก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคต
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH