แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาส 1/2565
กองนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เผย แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 1/2565
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
คาดการณ์ว่าจะทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศ ซึ่งอาจทําให้ความต้องการใช้เหล็กชะลอตัวลง และแนวโน้มราคาเหล็กในตลาดโลกที่ปรับลดลง ซึ่งจะมีผลต่อโอกาสในการแข่งขันของผู้ผลิตไทย
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
คาดว่าจะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 5.0 และ 7.0 ตามลําดับ เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและตลาดส่งออกโลกเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G Data Center และ IoT ทําให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมรถยนต์
ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 450,000 คัน โดยแบ่งเป็น การผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อส่งออกร้อยละ 45-50
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ประมาณการในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 500,000 คัน โดยแบ่งเป็นการผลิตเพื่อจําหน่ายในประเทศร้อยละ 80-85 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 15-20
อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์
ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษยังคงได้รับอานิสงส์ตามการใช้งานสําหรับซื้อขายสินค้าทางออนไลน์ สําหรับการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ปริมาณการผลิตและการจําหน่ายคาดว่าจะสามารถขยายตัวได้ โดยมีโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลัก รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยทยอยออกมาเพื่อกระตุ้นความต้องการบริโภคในภาคอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แล้ว
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
จะขยายตัวเล็กน้อยจากอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าสําคัญอย่าง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน และยุโรป ทยอยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตลอดห่วงโซ่อุปทาน ประกอบกับอุปสงค์ในประเทศเริ่มกลับมาจากนโยบายกระตุ้นการบริโภคในประเทศและการเปิดประเทศ แม้จะได้รับผลกระทบจากปัญหาการการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่กลับประเทศในช่วงโควิดและยังไม่กลับเข้าสู่ระบบ
อุตสาหกรรมยา
การผลิตยาในไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มการขยายตัวที่ดีของตลาดยาในประเทศ สําหรับการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ในตลาดมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว ซึ่งมีแนวโน้มความต้องการใช้ยาจากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุตสาหกรรมยาง และผลิตภัณฑ์ยาง
การผลิตยางรถยนต์คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.00 ตามแนวโน้มการขยายตัวของตลาดส่งออก ในส่วนของการผลิตถุงมือยางคาดว่าจะชะลอตัวลงร้อยละ 5.00 เนื่องจากไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ สําหรับการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 5.00 ตามแนวโน้มความต้องการใช้ของตลาดทั้งในและต่างประเทศที่ปรับสูงขึ้น
อุตสาหกรรมอาหาร
คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตและการส่งออกยังมีความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่เกิดขึ้นในประเทศและประเทศคู่ค้า รวมถึงการปรับตัวเพิ่มราคาของวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหาร ซึ่งมีผลต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรมและส่งผลให้กําลังซื้อของผู้บริโภคลดลง
อ่านย้อนหลัง:
- แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาส 1/2564
- แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาสที่ 2/2564
- แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาส 3/2564
- แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญของไทย ไตรมาส 4/2564
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH