กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมพัฒนาบุคลากรเสริมแกร่งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาคอุตสาหกรรม

กระทรวงอุตสาหกรรม จับมือ กระทรวงดิจิทัลฯ ร่วมพัฒนาบุคลากรเสริมแกร่งด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาคอุตสาหกรรม

อัปเดตล่าสุด 25 ส.ค. 2563
  • Share :
  • 591 Reads   

กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมลงนาม MOU สานความร่วมมือ ขับเคลื่อนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิเคราะห์และการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ภาคอุตสาหกรรม หวังให้บุคลากรสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจาก Big Data ตอบสนองความต้องการประชาชน เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างมีศักยภาพ

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 ได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามข้อสั่งการของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยมีการดำเนินงานที่สำคัญคือ กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลและบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (GBDi) ในสังกัดของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) จะพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการยกระดับศักยภาพและขีดความสามารถของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการนำข้อมูลด้านอุตสาหกรรมมาสร้างคุณค่าสำหรับการพัฒนาประเทศ รวมถึงการสร้างนวัตกรรมบริการสาธารณะที่ตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจ ประชาชน และทุกภาคส่วน ทั้งสองกระทรวง จึงมีเจตนารมณ์ร่วมกัน ที่จะมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างขีดความสามารถของบุคลากรกระทรวงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลใน 5 ด้าน ได้แก่  1.การขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ด้วยข้อมูล (Data-driven Policy and Strategy)  2.วิศวกรรมข้อมูล (Data Engineering) คือ การบริหารจัดการข้อมูลให้พร้อมสำหรับการใช้งาน เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูล การวางระบบเส้นทางการไหลของข้อมูล และการรวบรวมข้อมูลไปเก็บไว้ที่แหล่งต่าง ๆ  3.วิทยาการข้อมูล (Data Science) คือ การนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยเริ่มตั้งแต่การจัดเตรียมข้อมูล การตรวจสอบ การทำการทดลองวิจัย การสร้างโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อหารูปแบบ หาปัจจัยต่าง ๆ หรือการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์หรือการวินิจฉัย ไปจนถึงการนำเสนอผลการวิเคราะห์ เพื่อสรุปผลมาช่วยในการตัดสินใจ และการวางแผนต่าง ๆ ได้  4.การจัดการข้อมูลให้เหมาะสมกับมุมมองการวิเคราะห์ (Business Intelligent) 5.การฝึกอบรมและปฏิบัติงานในสถานที่จริง (On the job Training)

นายกอบชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า “การลงนามในบันทึกความร่วมมือทางวิชาการฯ ในครั้งนี้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ สำหรับการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลภาคอุตสาหกรรม และปรับเปลี่ยนกระบวนการ วิธีการทำงานในรูปแบบใหม่เพื่อให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา (Intelligent Organization) อย่างแท้จริง ”

 
ด้าน นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวว่า การลงนามในวันนี้จะเป็นอีกกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ Big Data เพื่อพัฒนาประเทศ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ และบุคลากรสามารถบูรณาการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนประชาชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น โดยความร่วมมือนี้เกิดขึ้นได้จากความมุ่งมั่น ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการขับเคลื่อนองค์กรด้วยการประยุกต์รูปแบบการนำข้อมูลมาใช้ในการรับรู้สถานะ ศึกษาแนวโน้มและเพื่อเข้าใจถึงปัญหาและโอกาส ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะของบุคลากรด้านข้อมูลแบบครบวงจร ซึ่งกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มอบหมายให้ GBDi หรือสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ หน่วยงานภายในสังกัดของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้ามาทำความร่วมมือทางวิชาการนี้กับกระทรวงอุตสาหกรรม เนื่องด้วย GBDi มีบุคลากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิเคราะห์ข้อมูล Data Science และ Data Engineering และมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จึงมีความพร้อมในการขับเคลื่อนให้ภารกิจนี้บรรลุเป้าหมายต่อไป
 
 
อ่านต่อ: