ส.อ.ท. ผนึก กนอ. ชู Eco Factory For Waste Processor มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
ส.อ.ท. ผนึกกำลัง กนอ. ชูมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ ด้วยตราสัญลักษณ์ Eco Factory For Waste Processor
วันที่ 14 มิถุนายน 2565 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) โดยสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ผนึกกำลังร่วมกับ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดพิธีแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory for Waste Processor) ขยายผลมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) โดยมี นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และนายธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม ร่วมกล่าวแถลงความร่วมมือและแสดงจุดยืน นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก นายสมชาย หวังวัฒนาพานิช ประธานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน พร้อมการนำเสนอวิดีทัศน์มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory For Waste Processor) ในพิธีแสดงเจตนารมย์ในการส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ สำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory For Waste Processor) ในวันอังคารที่ 14 มิถุนายน 2565 เวลา 08.30 – 10.00 น. ณ ห้อง Passion (802) ชั้น 8 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
โดยทั้ง 2 องค์กรให้การรับรองร่วมกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา สู่มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดของเสียอุตสาหกรรม หรือ ที่เรียกว่า Eco Factory For Waste Processor เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วนว่า โรงงานอุตสาหกรรมที่รับรีไซเคิล บำบัด และกำจัดกากอุตสาหกรรม ที่ได้รับรองตราสัญลักษณ์ Eco Factory For Waste Processor มีการดำเนินธุรกิจที่ได้มาตรฐานหลักวิชาการ ถูกต้องตามกฎหมาย คำนึงถึงการประกอบการที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนให้เติบโตควบคู่กับเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สอดคล้องตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
นับเป็นก้าวที่สำคัญที่ กนอ. และ ส.อ.ท. ได้จัดพิธีแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนและส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory for Waste Processor) โดยได้การตอบจากสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นบริษัทที่เป็นผู้นำในด้านการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทยเข้าร่วมแสดงเจตนารมณ์เพื่อขอรับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor ในครั้งนี้ รวม 16 ราย โดยมีรายนามดังนี้
1. บริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) 3-101-1/45สบ สระบุรี
2. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) 3-101-2/44สบ สระบุรี
3. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) 3-101-3/44สบ สระบุรี
4. บริษัท อินทรี อีโคไซเคิล จำกัด 3-106-33/50สบ สระบุรี
5. บริษัท สยามเอ็นไวรอนเมนทอลเทคโนโลยี่ จำกัด ข3-101-1/41รย ระยอง
6. บริษัท ทีเออาร์เอฟ จำกัด 3-106-71/53สบ สระบุรี
7. บริษัท โปรเฟสชั่นแนล เวสต์ เทคโนโลยี (1999) จำกัด (มหาชน) 3-106-31/47สก สระแก้ว
8. บริษัท ไพโร เอนเนอร์ยี่ จำกัด 3-106-8/54สบ สระบุรี
9. บริษัท ไฟเบอร์ พัฒน์ จำกัด 3-106-30/49สป สมุทรปราการ
10. บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด น.106-1/2545-ญบว. พระนครศรีอยุธยา
11. บริษัท มัตซึดะ ซังเกียว (ประเทศไทย) จำกัด น.106-2/2559-ญปค. ชลบุรี
12. บริษัท ส.กนกการจัดการสิ่งเเวดล้อม จำกัด 3-106-7/56ชบ ชลบุรี
13. บริษัท เอส ซี ไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด 3-106-16/56สบ สระบุรี
14. บริษัท ซิมสุลาลัย จำกัด จ3-43(1)-27/50ชบ ชลบุรี
15. บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ลำปาง) จำกัด 3-57(1)-1/37ลป ลำปาง
16. บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย (ทุ่งสง) จำกัด 3-57(1)-1/15นศ นครศรีธรรมราช
นายสมชาย หวังวัฒนาพาณิช รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย งานสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน กล่าวว่า “กนอ. และ ส.อ.ท. ได้พัฒนามาตรฐานนี้โดยมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ อาทิเช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจัดการกากของเสียร่วมในการพัฒนาข้อกำหนดนี้ขึ้น และได้ประกาศใช้ข้อกำหนดมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory For Waste Processor) เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีเจตนารมณ์เพื่อยกระดับและส่งเสริมผู้ประกอบการกำจัดและบำบัดกากอุตสาหกรรมให้มีการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ดังนั้นปัจจุบันนี้เรามีมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ 2 กลุ่ม คือ Eco Factory สำหรับรับรองผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทั่วไป และ Eco Factory For Waste Processor สำหรับรับรองผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจัดการของเสีย โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2568 ผู้ประกอบการจัดการของเสียที่เป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor 100% และผู้ประกอบการจัดการของเสียที่ประกอบกิจการอยู่ในปัจจุบัน จะต้องได้รับการรับรองมากกว่า 80% ของผู้ประกอบกิจการทั้งหมด จึงเป็นที่มาของงานแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมมาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศสำหรับผู้ประกอบการจัดการของเสีย (Eco Factory for Waste Processor) ร่วมกันทั้ง 4 ฝ่ายในวันนี้
ด้านนายธีระพล ติรวศิน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีโรงงานรีไซเคิล บำบัด หรือกำจัดกากอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และในขณะเดียวกับข่าวการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งอาจเกิดจากการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้มาตรฐาน และต้องการลดต้นทุนการดำเนินการ ซึ่งปัญหานี้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก และส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น เพื่อการสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นให้กับทุกภาคส่วน กลุ่มฯ จึงได้รับความร่วมมือจาก สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในการช่วยพัฒนามาตรฐานที่จะให้การรับรองตราสัญลักษณ์ที่แสดงว่าผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจัดการของเสียกลุ่มนี้มีการดำเนินธุรกิจที่ได้มาตรฐาน มีความรับผิดชอบต่อสังคม คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ และสอดคล้องตาม BCG Model ดังนั้นกลุ่มได้มีเป้าหมายร่วมกับ กนอ. และ ส.อ.ท. ที่จะสนับสนุนและส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มฯ รวมทั้งผู้ประกอบการจัดการของเสียอุตสาหกรรมที่อยู่คงประกอบการในปัจจุบันมากกว่า 80% ได้รับการรับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor ภายใน ปี 2568
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ส.อ.ท. มียุทธศาสตร์ First2Next-Gen Industry ที่จะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่อนาคต ส.อ.ท. ซึ่งจะเข้าไปช่วยส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการในการยกระดับอุตสาหกรรมในมิติต่างๆ โดยในเรื่องสิ่งแวดล้อม ส.อ.ท. มีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมสู่ Eco Product / Eco Factory /Eco Town ซึ่งมาตรฐาน Eco Factory จะเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาและประเมินประเมินสมรรถนะของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental management systems) ของกิจกรรมองค์กรโดยตลอดวัฏจักรชีวิต (Life cycle perspective) มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable development) ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าก่อให้เกิดผลผลิตสีเขียวมากที่สุด ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของชุมชนแวดล้อมทำให้สามารถยกระดับคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วยหลักความร่วมมือเกื้อกูล และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และการประสานความร่วมมือต่อยอดกับ กนอ. ในครั้งนี้เรามีเป้าหมายร่วมกันในการผลักดันให้ผู้ประกอบการจัดการของเสีย ที่เป็นสมาชิกสภาอุตสาหกรรม ร้อยละ 100 ได้รับรองมาตรฐาน Eco Factory for Waste Processor ภายในปี 2568
ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ความร่วมมือระหว่าง กนอ. และ ส.อ.ท.ในการพัฒนามาตรฐาน Eco Factory For Waste Processor ในครั้งนี้จะเป็นความร่วมมือที่สำคัญ ในการยกระดับผู้ประกอบการจัดการของเสียให้มีการดำเนินการที่สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน โดย กนอ. จะดำเนินการส่งเสริมให้ Waste Processor ในนิคมอุตสาหกรรมได้รับรองมาตรฐานนี้ครบ 100% ภายในปี 2568 และจะส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมในนิคมฯ เลือกใช้บริการบำบัดและกำจัดของเสียจากผู้ประกอบการจัดการของเสียที่ได้รับรองมาตรฐาน และที่สำคัญคือการผลักดันสิทธิประโยชน์ต่างๆ ให้กับ Waste Processor ที่ได้รับรองมาตรฐานนี้
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- เทรนด์การทำงานในอนาคต หลังไทยติดโควิด นานเกือบสองปี!
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH