พร้อมหรือยัง อัตราค่าแรงขั้นต่ำใหม่หลังเลือกตั้ง COBOT ทางเลือกทางรอด
ก้าวข้ามปัญหาค่าแรง ลงทุนครั้งเดียวจบ ทำงานได้ต่อเนื่อง ปลอดภัย ลดข้อผิดพลาด ลดต้นทุน COBOT อาจไม่ใช่แค่ทางเลือกในการทำธุรกิจ
ในปัจจุบันการใช้งานระบบ Automation หรือการนำ COBOT เข้ามามีส่วนช่วยในกระบวนการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากธุรกิจและอุตสาหกรรมที่ต้องการความแม่นยำและความรวดเร็วในการผลิตสินค้า ดังนั้นปัญหาค่าแรงที่มีการเปลี่ยนแปลงและควบคุมได้ยาก ร่วมกับปัญหาการขาดแคลนแรงงาน จะมีผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างไร และ COBOT จะเป็นแค่ทางเลือกหรือทางรอดให้กับคุณ
ทำไมต้องขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
ค่าแรงขั้นต่ำกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เป็นเหมือนไก่กับไข่ที่วนเวียนอยู่ในคำถามของนักเศรษฐศาสตร์ทุกยุคทุกสมัย ในแต่ละครั้งของการปรับค่าแรงขั้นต่ำนอกจะมีการต่อสู้กันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย อย่างเช่น นายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐบาล ซึ่งทุกฝ่ายก็มีเหตุผลที่ดีของตัวเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นค่าของชีพที่แพงขึ้น เป็นเหตุผลของลูกจ้างหรือเป็นต้นทุนการผลิตที่ต้องคำนึงถึงความอยู่รอดทางธุรกิจ ไปจนกระทั่งภาพรวมของเศรษฐกิจมหภาคที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงอยู่เสมอ แต่ถึงอย่างไรเมื่อระบบเศรษฐกิจมีอัตราเงินเฟ้อเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปรับค่าแรงขั้นต่ำในเกือบทุกๆ ปี
โดยเฉพาะจากกราฟที่เห็นอัตราค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไทยในช่วงปี 2553-2554 ได้มีการปรับแบบก้าวกระโดดมาจากผลของการหาเสียงก่อนการเลือกตั้ง จาก 200 กว่าบาทขึ้นไปเป็น 300 บาทจากผู้ที่เข้ามาเป็นรัฐบาลใหม่ในยุคนั้น นั่นคือขึ้นรวดเดียว 50% ณ วันนั้นมีการถกเถียงกันว่าจะเกิดผลลัพธ์ต่างๆ เช่น ธุรกิจอาจจะล้มครืน เศรษฐกิจจะชะงักงัน อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง เป็นต้น
แต่ผลลัพธ์กลับออกมาผิดคาดเพราะในปี 2554 หลังจากปรับค่าแรงขั้นต่ำแบบก้าวกระโดด GDP ประเทศไทยกลับสะดุดเพียงเล็กน้อย และสามารถเติบโตได้เกือบถึง 8% ในปีถัดมา ทำให้นักเศรษฐศาสตร์มหภาคต้องพลิกตำรากันยกใหญ่ว่าเหตุใดผลลัพธ์กลับตรงกันข้าม แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมจะสามารถผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ
https://www.the101.world/why-high-minimum-wage/
ถึงเวลาของหุ่นยนต์ (COBOT) แล้วหรือยัง??
จากที่กล่าวมาเรื่องค่าแรงขั้นต่ำที่ดูเหมือนว่ากราฟจะไม่มีวันปักหัวลง ตราบใดที่โลกยังค้าขายระบบเศรษฐกิจเดินหน้าผู้คนต้องการชีวิตที่ดีขึ้น แต่มีสิ่งหนึ่งที่สวนกระแสก็คือราคาของเทคโนโลยีมีการปรับลงอย่างต่อเนื่อง จากการที่ภาคธุรกิจมีความต้องการนำไปใช้มากขึ้นจนกระทั่งเกิด Economy of scale ซึ่งจากกราฟจะเห็นได้ว่าแนวโน้มของราคาหุ่นยนต์ในระบบอัตโนมัติลดลงอย่างมีนัยสำคัญตลอดเวลาที่ผ่านมา
https://www.researchgate.net/figure/Price-of-industrial-robots-over-time-IFR-2006_fig3_318873085
ดูเหมือนว่าความคุ้มทุนที่จะนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (COBOT) หรือระบบอัตโนมัติ (Automation) มาใช้ในธุรกิจมีความชัดเจนมากขึ้น เป็นผลทำให้ประเทศที่เจริญแล้วและมีอัตราค่าจ้างที่สูงมีการนำเอาระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาใช้อย่างแพร่หลาย
COBOT พระเอกขี่ม้าขาวในปัญหาแรงงานของยุคนี้
ปัญหาเรื่องความคุ้มทุนในการนำหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาใช้เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรง ไม่ใช่สิ่งเดียวที่เราคำนึงถึงตอนนำเอาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาใช้ แต่ยังมีปัญหาอื่นๆ อีกที่ถือเป็นอุปสรรคที่ต้องพิจารณาอย่างเช่น ความมั่นใจ และความเข้าใจในเทคโนโลยี การจัดสรรพื้นที่การทำงานเพราะระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรมโดยปกติจะถูกกันออกจากพนักงานที่เป็นมนุษย์เพื่อความปลอดภัย หุ่นยนต์ไม่มีตา ไม่มีความรู้สึก แต่ทำงานได้ 24 ชั่วโมงไม่หยุด ซึ่งเป็นข้อดี แต่ปัญหาก็คือไม่สามารถอยู่ใกล้กับมนุษย์ได้ เพราะอาจจะทำอันตรายได้ถึงชีวิต ดังนั้นการนำเอาหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาใช้จึงต้องจัดสรรพื้นที่เฉพาะถือเป็นการสิ้นเปลือง และมีค่าใช้จ่ายในการจัดการเพิ่มขึ้น
ในแง่นี้จึงมีเทคโนโลยีล่าสุดที่ชื่อว่า Collaborative Robot หรือ COBOT ซึ่งเป็นหุ่นยนต์อุตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่มีระบบความปลอดภัยเพียงพอที่จะทำให้ทำงานร่วมกับมนุษย์ในพื้นที่เดียวกันได้ ระบบเซ็นเซอร์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษเมื่อมีมนุษย์เดินเข้าใกล้หรือไปสัมผัสหุ่นยนต์ ทำให้ตัวหุ่นยนต์จากเดิมที่ทำงานอย่างแข็งขัน จะหยุดการทำงานหรือลดความเร็วเพื่อความปลอดภัยของมยุษย์ที่ทำงานอยู่ใกล้กัน ทำให้การจัดสรรพื้นที่ในการทำงานไม่ต่างจากการนำพนักงานใหม่เข้ามาประจำการในไลน์การผลิต ซึ่งความปลอดภัยนี้มีระบบ ISO มาตรฐานรองรับ
COBOT ทำอะไรได้บ้าง
ที่ผ่านมาหุ่นยนต์อุสาหกรรมจะถูกโฟกัสไปที่งานในสายพานการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่งเป็นหลักจากเหตุผลเรื่องความปลอดภัยอย่างที่กล่าว COBOT เองมักจะถูกนำไปเป็นส่วนประกอบของระบบอัตโนมัติต่างๆ ที่ต้องการความยืดหยุ่น อย่างเช่น การจัดวางของการแพ็คสินค้า การหยอดกาวในสายพานผลิตสินค้า งานประเภทอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนรถยนต์ งานที่ต้องการทักษะเฉพาะทาง งานเชื่อมชนิดต่าง ๆ
จุดคุ้มทุน…ถึงเวลาที่จะใช้ COBOT หรือยัง
ราคาในการนำเอา COBOT มาใช้งานเพื่อลดคนในไลน์การผลิต จะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 500,000 บาท ถ้าเป็นระบบที่ซับซ้อนมากกว่านั้นราคาก็จะพุ่งสูงไปถึงหลักล้านได้ แต่ถ้าเรานำตัวเลขนี้มาคิดคร่าวๆ ว่าเราจ้างพนักงานที่เงินเดือนประมาณ 15,000 บาท รวมสวัสดิการต่างๆ ก็ประเมินได้ว่าเป็นต้นทุนประมาณ 200,000 บาท ต่อปี ต่อคน ต่อกะ เมื่อนำเอา COBOT มาใช้ก็จะสามารถทดแทนคนได้สองกะเพราะทำงานได้ตลอด จะเห็นได้ว่าสามารถลดพนักงานได้สองคน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 400,000 บาท แทบจะเรียกว่าคืนทุนได้ในปีแรกเลยทีเดียว
ตรงนี้ก็ถือเป็นการคิดแบบคร่าวๆ ให้เห็นเป็นไอเดีย ในความเป็นจริงการทำโครงการเปรียบเทียบคงต้องมีรายละเอียดอีกมาก ทั้งในแง่เทคนิคและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปเมื่อนำเอา COBOT มาใช้ แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือการคำนวณแบบคร่าวๆ ด้านบนนี่ยังอยู่บนพื้นฐานของค่าแรงขั้นต่ำในปัจจุบัน ซึ่งในอนาคตอันใกล้ถ้ามีการขยับค่าแรงแบบก้าวกระโดดการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างแน่นอน ถ้าจะต้องสู้กับธุรกิจที่มีการแข่งขัน
หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเริ่มต้นใช้งาน COBOT หรือการนำ COBOT มาประยุกต์กับธุรกิจ สามารถปรึกษาทีมงานผู้เชี่ยวชาญ หรือเข้ามาดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : JAKA COBOT
JAKA COBOT คือ หุ่นยนต์แขนกลร่วมปฏิบัติงาน (COBOT 6 axis) มี Cobot หลายประเภทให้คุณเลือกใช้งาน สามารถยกชิ้นงานได้ตั้งแต่ 1 ถึง 18 กิโลกรัม และมีระยะการยืดถึง 1,327 มิลลิเมตร อ่านต่อ : JAKA COBOT
JAKA Cobots ทำอะไรได้บ้าง
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
Applicad Public Company Limited
Tel : 095-365-6867
Email: [email protected]
Website: www.applicadthai.com/jaka/