โตโยต้า ผนึก ซีพี ร่วมศึกษาการผลิตไฮโดรเจน - ใช้รถบรรทุกขนส่ง FCEV และ BEV
บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) และ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ร่วมมือผนึกกำลังพันธมิตร ศึกษาการผลิตไฮโดรเจน - ใช้รถบรรทุกขนส่ง FCEV และ BEV มุ่งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย พร้อมเปิดกว้างพันธมิตรทุกภาคส่วน
นับตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ.2464 ซีพี ได้ดำเนินการและขยายธุรกิจในประเทศไทยในหลากหลายสาขา โดยยึดหลักการสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ประชาชน ซึ่งขยายโอกาสการเข้าถึงสินค้าที่มีคุณภาพ รวมถึงการจัดจำหน่าย อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และปศุสัตว์ ในด้านการจัดจำหน่าย ซีพี ได้ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนไทย ผ่านการขนส่ง และส่งมอบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ผ่านการดำเนินการที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึง 7-Eleven และช่องทางค้าปลีก ค้าส่ง โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสังคม เศรษฐกิจ และ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนแนวทางเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้ ซีพี ได้กำหนดเป้าหมายสู่การเป็นองค์กร Carbon Neutral ภายในปี ค.ศ.2030 และการบรรลุเป้าหมาย Zero Carbon ภายในปี ค.ศ.2050 แม้จะเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ซีพี มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้สำเร็จ โดยร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในหลายประเทศ
สำหรับโตโยต้า บริษัทฯ เริ่มดำเนินธุรกิจ โดยได้รับการสนันสนุนจากทุกภาคส่วน อาทิเช่น บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของโตโยต้า และได้เจริญเติบโตไปพร้อมกับพัฒนาการของสังคมไทย ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์ การชำระภาษี การจ้างงาน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ก็ได้ผ่านความท้าทายต่างๆ เช่น วิกฤตทางการเงินในภูมิภาคเอเชียในปี พ.ศ.2540 และอุทกภัยในปี พ.ศ.2554
- งานวิจัยเครื่องยนต์ไฮบริดไฮโดรเจน - ดีเซล ลดใช้น้ำมันได้ 90%
- PTT – OR – TOYOTA – BIG ผนึกกำลังเปิด 'สถานีต้นแบบเติมไฮโดรเจน' สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกในไทย
- ‘ญี่ปุ่น’ ตั้งสมาคมวิจัย ‘ไบโอเอทานอล' เพิ่มตัวเลือกเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ยุคหน้า
วันที่ 14 ธันวาคม 2565 มร.อากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะกรรมการบริหารของ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ทั้งสองบริษัทฯ ซึ่งต่างคำนึงถึงประเทศไทยและโลกใบนี้ ได้เห็นร่วมกันที่จะดำเนินการในสิ่งที่เราสามารถเริ่มต้นทำได้ในขณะนี้ โดยอาศัยจุดแข็งและทรัพยากรที่มีอยู่ของแต่ละบริษัทฯ ผมเชื่อว่าการริเริ่มในครั้งนี้ จะนำไปสู่การยอมรับและสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม” นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสของ ซีพี ได้กล่าวตอบว่า “สิ่งที่ประธานโตโยดะและผม มีร่วมกันคือ ความรู้สึกที่ต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดินไทย ผมรู้สึกยินดีที่ทั้งสองบริษัทฯ มีโอกาสร่วมมือกันเพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย และยังเปิดกว้างให้ทุกภาคส่วนมาช่วยกันศึกษา หาแนวทางเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้”
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ซีพี และ โตโยต้า จะแสวงหาความร่วมมือทางสังคม ด้วยการเชื่อมโยงกันระหว่างสองบริษัทฯ เราจะช่วยกันดำเนินการในสิ่งที่สามารถทำได้ในขณะนี้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนกระบวนการผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน เพื่อนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใต้กรอบความร่วมมือดังนี้
1. ศึกษาการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ก๊าซชีวภาพที่ได้จากของเสียจากฟาร์มในประเทศไทย (การศึกษาในเขตเศรษฐกิจพิเศษ)
2. การใช้รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง (FCEV) ในกิจกรรมของ ซีพี ซึ่งจะใช้ไฮโดรเจนดังกล่าว
(นำเสนอแนวทางที่หลากหลาย เช่น BEV และ FCEV โดยพิจารณาจากระยะการเดินทางและน้ำหนักบรรทุก)
3. ศึกษาความร่วมมือด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยอาศัย เทคโนโลยีการเชื่อมต่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเส้นทางการจัดส่ง
โดยความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นในครั้งนี้ ทรู ลิสซิ่ง ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีพี ที่ให้บริการด้านการขนส่ง จะเข้าร่วมกับ โตโยต้า ที่จะเริ่มพิจารณาจากการมีส่วนร่วมของ Hino Motors, Ltd. และกลุ่มบริษัทใน Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (ประกอบด้วย ISUZU Motors Limited, SUZUKI Motor Corporation, DAIHATSU Motor Co., Ltd. และ TOYOTA) ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแก้ปัญหาความท้าทายที่ภาคการขนส่งต้องเผชิญ และบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ผ่านการเผยแพร่เทคโนโลยี CASE ในภูมิภาคเอเชียและการมุ่งสู่เป้าหมายนั้น ทุกอุตสาหกรรมและประชาชนทุกคนควรทำงานร่วมกัน ซีพี และ โตโยต้า จึงอยากเชิญทุกภาคส่วนที่มีความปรารถนาเดียวกัน เข้าร่วมเป็นพันธมิตรในความร่วมมือครั้งนี้
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH