ทุนสนับสนุนการพัฒนา "ระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี" สถาบันไทย-เยอรมัน ผู้สนใจยื่นข้อเสนอโครงการฯ ภายใน 30 ธ.ค.64 นี้
สถาบันไทย-เยอรมัน (TGI) ร่วมกับ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ขอเชิญชวนผู้ประกอบการ หน่วยงานเข้าร่วมขอรับทุนสนับสนุนการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี ภายใต้ "โครงการพัฒนาระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565" ส่งข้อเสนอโครงการเพื่อเข้ารับพิจารณา
ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มและยื่นข้อเสนอโครงการผ่านระบบออนไลน์ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 30 ธันวาคม 2564 (หากสอดคล้องกับ BCG Model จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ)
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ส่วนของผู้พัฒนาผู้ยื่นขอเสนอโครงการ
- เป็นผู้ประกอบการภาคเอกชนที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคล กับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เช่น บริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น โดยต้องมีคนไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% และมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท หรือเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเครื่องจักร/ระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี
- มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาเครื่องจักร/ระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี
- เป็นผู้ประกอบการภาคเอกชน/องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีรายชื่อที่สถาบันไทย-เยอรมัน ไม่ประสงค์จ้างงาน
- มีความรู้ความสามารถในการออกแบบพัฒนาและผลิตเครื่องจักรตามที่เสนอ มีความพร้อมในด้านเครื่องมือเครื่องจักรเพื่อรองรับการดำเนินงาน
- สามารถดำเนินงานพัฒนาเครื่องจักรที่ผ่านการพิจารณาและได้รับการสนับสนุนงบประมาณได้ตามแผนที่สถาบันไทย-เยอรมัน กำหนด
- ผู้บังคับบัญชาให้การ รับรองยินยอมและอนุมัติให้ร่วมโครงการ
- มีความพร้อมและความสามารถร่วมลงทุนในรูปแบบเงินสด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของงบประมาณรวมโครงการทั้งหมด
2. ลักษณะของโครงการที่ยื่นข้อเสนอ
- เป็นโครงการที่พัฒนาขึ้นใหม่ยังไม่เคยมีผู้ใดพัฒนามาก่อน หรือเกิดจากการต่อยอดผลงานวิจัย หรือเกิดจากกระบวนการวิศวกรรมย้อนรอย ที่ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และต้องไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด
- เครื่องจักร/ระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี ที่เสนอต้องมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของคนไทยและสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการได้อย่างแท้จริง
- เครื่องจักร/ระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี ที่เสนอสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้สูงวัย ผู้ป่วย และผู้ทุพลภาพ
- เครื่องจักร/ระบบอัตโนมัติ/สมาร์ทเทคโนโลยี ที่เสนอต้องมีประสิทธิภาพและสมรรถนะการทำงานเทียบเท่าหรือดีกว่าเครื่องจากต่างประเทศ
- มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ และมีโอกาสพัฒนาขยายผลสู่เชิงพาณิชย์
หมายเหตุ
- ขอสงวนสิทธิ์รับพิจารณาเฉพาะข้อเสนอโครงการที่ใช้แบบฟอร์มตามที่สถาบันกำหนดและจะต้องแนบเอกสารตามที่กำหนดให้ครบถ้วนเท่านั้น
- การพิจารณาให้การสนับสนุนขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือก ผลการคัดเลือกถือเป็นที่สิ้นสุด
- โครงการที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องทำสัญญาจ้างที่ปรึกษากับสถาบัน โดยจะมีเงื่อนไขการจ่ายเงินสนับสนุนปรากฎในสัญญา
- ผู้พัฒนาและผู้ใช้เครื่องจักรจะต้องให้ความร่วมมือกับทางสถาบันและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามระยะเวลาที่กำหนด
- ขอสงวนสิทธิ์ในการลดหรือเพิ่มเติมเงื่อนไขอื่น ๆ ซึ่งเป็นไปตามที่คณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกกำหนด
ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม คลิก
ยื่นข้อเสนอโครงการ คลิก
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณอนิรุทธิ์ จันทร์จรูญ
โทร. 089 417 7754
อีเมล [email protected]
คุณนที เดยะดี
โทร. 095 881 3082
อีเมล [email protected]
หรือผ่าน Line OpenChat คลิก
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- ส่งออกไทย 2564 เดือน มิ.ย. ขยายตัว 43% สูงสุดรอบ 11 ปี อีกครั้ง
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ปี 2564
- กลยุทธ์การ PR และ Communication ในยุคดิจิทัล
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- ปัญหาตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน เจาะลึกตู้สินค้าหายไปไหน?
- สรุปยอดขายรถยนต์ 2564 ครึ่งปีแรก
- วิกฤตซัพพลายเชนโลก: ผลกระทบจากโควิด-19 ต่อธุรกิจ
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH