สถาบันยานยนต์ จับมือ เกาหลี พัฒนาการทดสอบแบตฯ ยานยนต์ไฟฟ้า
สยย. ร่วมกับ Korea Conformity Laboratories (KCL) ลงนามความร่วมมือ MOC ด้านการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อเสริมศักยภาพการทดสอบของไทย
เมื่อวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2565 สถาบันยานยนต์ (สยย.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOC (Memorandum Of Cooperation) ด้านการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ร่วมกับ Korea Conformity Laboratories (KCL) ประเทศเกาหลีใต้ ณ ห้องประชุม 301 สถาบันยานยนต์ สำนักงานกล้วยน้ำไท
โดย นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล รักษาการผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ และ นายคิม แจฮง (Mr. Kim Jae Hong) ประธานของ KCL เป็นผู้ลงนามความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า อาทิ เทคโนโลยีด้านการทดสอบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านวิศวกรรม การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประเมินผลการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมห้องปฏิบัติการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า และการพัฒนามาตรฐานการทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย และประเทศเกาหลีใต้ ให้เดินหน้าไปพร้อมๆ กัน อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
นายพิสิฐ กล่าวว่า “พิธีลงนามในวันนี้เป็นครั้งที่ 2 นับจากการลงนามความร่วมมือกับ KCL เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา โดยครั้งนั้นเป็นการลงนาม MOU ผ่านระบบ Video Conference เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่ในวันนี้เป็นการลงนาม MOC เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือที่ลงลึกในรายละเอียดของความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และยังเป็นการแสดงเจตจำนงค์ในความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ พร้อมเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ” สถาบันยานยนต์พร้อมเดินหน้าพัฒนาภารกิจในการสร้างเสริมศักยภาพศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย เพื่อการเป็น “สถาบันแห่งการเรียนรู้และพัฒนาด้าน Mobility ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตสู่สังคม” ต่อไปในอนาคต
บทความยอดนิยม 10 อันดับ
- สรุปยอดขายรถยนต์ ครึ่งปีแรก 2022
- ภาพรวมอุตสาหกรรมโซลาร์เซลล์ของไทย
- สถานการณ์ชิปขาดตลาด 2022 จะสิ้นสุดเมื่อไหร่?
- 12 เทรนด์เทคโนโลยีมาแรงแห่งปี 2022
- 10 ตัวอย่างที่นำ 5G มาใช้งานได้อย่างน่าสนใจและประสบผลสำเร็จ
- เทคโนโลยีแห่ง G สู่ 5G เครือข่ายไร้สาย
- แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนคืออะไร ตลาดจะก้าวไปในทางไหนในปี 2030?
- เทคโนโลยีสำหรับโลจิสติกส์ ทางเลือกสู่ทางรอด ปรับก่อนโดนเบียด
- นิยามใหม่ SME ใช้ “รายได้” เป็นตัวกำหนด
- FTA ไทย มีกี่ประเทศ พอหรือไม่ ทำไมต้องคิดเรื่อง CPTPP
อัปเดตข่าวทุกวันที่นี่ www.mreport.co.th
Line / Facebook / Twitter / YouTube @MreportTH